แผงโซล่าร์เซลจากกระป๋องนม
หลังน้ำลด…“ขยะ” ได้ถูกทิ้งออกมาเกลื่อนไปทั่ว โดยเฉพาะ กรุงเทพมหานคร สรุปการเก็บขยะใน พื้นที่ทั้ง 50 เขต มากถึง 7,000 ตัน และทั่วประเทศเมื่อรวมกันแล้วมีขยะถึง ล้านตันเลยทีเดียว…
ขยะ…ที่สามารถนำไปแปรรูปเพื่อนำกลับไปใช้ได้ใหม่ หรือการนำมาสร้างประโยชน์ในด้านอื่นๆได้นักวิจัยและพัฒนาในบ้านเรา ก็ได้ตระหนักถึงการช่วยเหลือในการกำจัดขยะเหล่านี้ จึงได้มีความพยายามที่จะคิดค้นประดิษฐ์ แผงรับรังสีจากแสงอาทิตย์ (โซล่าร์เซล) จากขยะ…
ดร.สถาพร ทองวิค
โดย ดร.สถาพร ทองวิค จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บอกว่า ประเทศไทย…เป็นประเทศที่มีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง เนื่องจากได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงเกือบตลอดทั้งปี จึงมีศักยภาพที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี
“พลังงานแสงอาทิตย์” เป็นพลังงานทดแทนที่ หลายๆคนรู้จักกันดี และในขณะที่ พลังงานจากเชื้อเพลิง กำลังเริ่มลด พลังงานแสงอาทิตย์จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ด้วยเพราะเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด เมื่อนำมาใช้ก็ไม่ได้ก่อผลต่อสิ่งแวดล้อมใดๆ หรือจะเรียกว่าพลังงานสะอาดก็ว่าได้
ฉะนั้นใครจะคิดว่า …เศษขยะที่ใช้แล้วทิ้งจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ จึงเริ่มในการทดสอบโดย ใช้ขยะ อย่างเช่น กระป๋องนมข้น กระป๋องอะลูมิเนียม ยาง และ สังกะสี มา สร้างเป็นแผ่นรับรังสีจากดวงอาทิตย์ ก่อนจะทำการทดสอบและศึกษาข้อมูล ในส่วนของกระบวนการทดสอบได้นำ ขยะเหลือใช้ทั้ง 4 ชนิด มาทดสอบกับ ระบบการไหลของน้ำ 1, 1.5 และ 2 ลิตร ต่อนาที ตามลำดับเพื่อนำไปวิเคราะห์…
ขั้นตอนการทำ
จากนั้นก็นำไป เปรียบเทียบกับแผงรับแสง อาทิตย์และสรุปผล โดยพบว่า แผงรับรังสีอาทิตย์ ที่อัตราการไหล 1, 1.5, 2 ลิตรต่อนาที ที่อัตราการไหล 1.5 ลิตรต่อนาที และ กระป๋องอะลูมิเนียมเป็นตัวรับรังสีอาทิตย์ มีประสิทธิภาพรวมสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 94.13 รองลงมาที่อัตราการไหล 1 ลิตร ต่อนาที มีประสิทธิภาพคิดเป็นร้อยละ 82.43 และที่อัตราการไหล 2 ลิตรต่อนาทีมีประสิทธิภาพต่ำสุดคิดเป็นร้อยละ 77.61
อย่างไรก็ดี ดร.สถาพร ยังบอกอีกว่า พลังงานที่ได้จากแสงอาทิตย์มีค่าประมาณ 17 MJ/m2-day การใช้พลังงานแสง อาทิตย์ สามารถใช้ได้ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของพลังงานความร้อน (โดยการต้มน้ำ) หรือไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และถ้าประกอบกับการนำเอาเศษขยะที่ไม่ได้ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์
ปัจจุบันการใช้แผงโซล่าร์เซลนั้น มีข้อจำกัด เพราะราคาค่อนข้างแพง ทำให้ประชาชนที่มีกำลังรายได้ต่ำ ไม่สามารถซื้อหามาใช้ได้ ในการสร้างผลงานครั้งนี้…
…กลายเป็นโอกาสที่ประชาชนจะได้ใช้ พลังงานแสงอาทิตย์อย่างทั่วถึง เพราะมีต้นทุนที่ต่ำลง ทั้ง ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดขยะได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย…
ผู้สนใจอยากไปชม แผงโซล่าร์ เซลจากกระป๋องนมด้วยตาตนเอง หรือมีข้อสงสัยใดๆ กริ๊งกร๊างหา ดร.สถาพร เจ้าของผลงานชิ้นนี้ยินดีจะให้คำปรึกษาได้ที่ 0-2549-3435 ในเวลาราชการ.
ไชยรัตน์ ส้มฉุน