วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

สาวทอผ้ากับหนุ่มเลี้ยงวัว หรือ.... เทศกาลชีซี

今天我们要讲的是两颗星星的故事,它们在银河的两边,一颗叫做牛郎星,一颗叫做织女星。

วันนี้ เราจะเล่านิทานเรื่องดวงดาว 2 ดวง พวกมันอยู่ที่ 2 ข้างของทางช้างเผือก ดาวดวงหนึ่งชื่อว่าดาวหนุ่มเลี้ยงวัว ดาวดวงหนึ่งชื่อว่าดาวสาวทอผ้า

从前,有一个勤劳善良的年轻人叫牛郎,他和一头老牛相依为命。有一天,老牛突然说起了人的语言,它告诉牛郎自己就要死了,让牛郎不要伤心,并且告诉牛郎一定要留着自己的皮,披着这张皮就可以飞到天上去。老牛很担心自己死了以后牛郎太孤单了,所以告诉牛郎在某月某天去湖边拿一套衣服,就这样,牛郎认识了那套衣服的主人——织女。织女是天上王母娘娘的女儿,偷偷跑到湖里洗澡,没想到遇到了牛郎,然后他们相爱了,结婚了,后来又有了一对聪明可爱的儿女,生活得很幸福。

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชายหนุ่มขยันขันแข็งน้ำใจงามผู้หนึ่งชื่อ หนิวหลาง (หนุ่มเลี้ยงวัว)  เขาและวัวแก่ตัวหนึ่งอยู่ด้วยกัน โดยพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อยู่มาวันหนึ่ง ฉับพลัน เจ้าวัวแก่ก็พูดภาษามนุษย์ขึ้นมา มันบอกหนิวหลางว่า ตัวมันกำลังจะตายแล้ว ขอให้หนิวหลางอย่าเสียใจ อีกทั้งยังบอกให้หนิวหลางจะต้องเก็บรักษาหนังของมันไว้ ใช้หนังผืนนี้จะสามารถเหาะขึ้นไปบนสวรรค์ได้ เจ้าวัวแก่กังวลใจมากว่า หลังจากที่ตัวมันตายแล้ว หนิวหลางจะต้องเหงามากๆ ดังนั้น จึงบอกหนิวหลาง ณ วันหนึ่ง ให้ไปเอาเสื้อผ้าชุดหนึ่งที่ริมทะเลสาป ก็แบบนี้ล่ะ หนิวหลางจึงได้รู้จักกับเจ้าของเสื้อผ้าชุดนั้น – สาวทอผ้า สาวทอผ้าเป็นธิดาของเจ้าแม่หวังหมู่บนสวรรค์ แอบหนีลงมาอาบน้ำในทะเลสาบ  ไม่คิดว่าจะได้พบกับหนิวหลาง จากนั้น พวกเขาก็รักกัน แต่งงานกัน ต่อมาก็ยังได้มีบุตรธิดาที่น่ารักฉลาดเฉลียวคู่หนึ่ง ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง

有一天,突然有一个老太太来到牛郎家,她就是王母娘娘。原来王母娘娘知道织女私自和凡人结婚以后很生气,所以要把织女带回天上去。眼看着他们飞上了天,越来越高,越来越远,牛郎很着急,突然想起了那张牛皮,所以挑上孩子,披上牛皮,飞起来去追织女,眼看就要追上了,王母娘娘拔下头上的金钗划了一下,就出现了一条银河,挡住了牛郎,从此牛郎织女只能隔河相望了。后来,王母娘娘终于答应在每年的七月初七让他们在喜鹊搭的桥上团圆一次。

อยู่มาวันหนึ่ง พลันก็มีหญิงชรานางหนึ่งมาที่บ้านของหนิวหลาง นางก็คือเจ้าแม่หวังหมู่ แท้ที่จริงแล้ว หลังจากเจ้าแม่หวังหมู่ทราบว่าสาวทอผ้ามาแต่งงานกับมนุษย์โดยพลการ ก็โกรธมาก ดังนั้น จึงต้องการพาสาวทอผ้ากลับขึ้นไปบนสวรรค์ หนิวหลางมองเห็นพวกนางเหาะขึ้นไปบนสวรรค์ ยิ่งสูงยิ่งไกลขึ้นเรื่อยๆ ก็ร้อนใจยิ่งนัก พลันก็นึกถึงหนังวัวผืนนั้นขึ้นได้ ดังนั้น จึงพาเอาบุตรธิดาขึ้นไปบนแผ่นหนัง เหาะตามสาวทอผ้าขึ้นไป  เจ้าแม่หวังหมู่มองเห็นว่าจะตามมาทันแล้ว จึงได้ดึงปิ่นทองบนศีรษะออกมาตวัดลงไปหนึ่งครั้ง ก็ปรากฏเป็นทางช้างเผือกสายหนึ่ง ขวางกั้นหนิวหลางไว้  นับแต่นั้น หนิวหลางและสาวทอผ้าก็แยกจากกันโดยทางช้างเผือก ได้แต่เฝ้ามองหากันและกัน ต่อมาภายหลัง ที่สุดแล้วเจ้าแม่หวังหมู่ก็ยอมรับปากให้เขาทั้งสองได้ข้ามสะพานที่ฝูงนกกางเขนบินมาเรียงกัน พบกันพร้อมหน้าพร้อมตาได้หนึ่งครั้ง ในวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี


วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

'วุ้นร้อยหน้า' สารพันเลือกสรร แปลกใหม่ไส้ครีมโดนัทรสนวล


วรารัตน์ - กิตินันท์ ปั้นเพชร เจ้าของธุรกิจวุ้นร้อยหน้า
       เพียงเพราะคำว่า “แม่ไม่มีเงิน” กลายเป็นแรงผลักดันให้ผู้หญิงคนหนึ่งต่อสู้กับอุปสรรคที่ถาโถมเข้ามาในชีวิต ด้วยต้องการให้ลูกมีกินมีใช้เหมือนคนอื่น จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้มีรายได้จุนเจือครอบครัว เริ่มจากทำวุ้นกะทิตระเวนขายตามบ้าน ปัจจุบันกลายเป็นเจ้าของธุรกิจ “วุ้นร้อยหน้า” สร้างความต่างเหนือคู่แข่ง โดนใจลูกค้า ยึดเป็นอาชีพหลักได้อย่างน่าชื่นชม
วุ้นหน้าขนมไทยๆ
       ฝีมือในการทำขนมสำหรับ “วรารัตน์ ปั้นเพชร” เจ้าของธุรกิจวุ้นร้อยหน้า ถือว่าไม่น้อยหน้าใคร ถูกฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก ในฐานะที่เกิดในครอบครัวคนจีนต้องถูกฝึกมาให้ช่วยทำงาน จนกระทั่งถึงคราวต้องทำการค้าเอง จึงงัดความรู้ที่สั่งสมมา เริ่มจากการทำวุ้นกะทิที่สามีชอบซื้อรับประทานอยู่เป็นประจำมาทำเอง พัฒนาสูตรขนมมาเรื่อยๆ จนรสชาติเป็นที่พอใจก็คิดทำขาย หวังช่วยหารายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง อาศัยวิธีการขายแบบตระเวนกดกริ่งตามบ้าน ทำมาได้สักระยะ ก็ปรับรสชาติ และความหลากหลายให้กับวุ้น เนื่องจากลูกค้าเริ่มเบื่อวุ้นกะทิ จึงนำลอดช่อง เผือก สลิ่ม ฟักทองมาทำเป็นหน้าวุ้น พร้อมกับเปิดร้านขายตามตลาดนัด โดยช่วงแรกทำเองขายเองตามกำลังเท่าที่ทำได้ ทำให้บางครั้งต้องหยุดขายไปบางวัน แต่ขณะนี้สามีลาออกจากงานประจำมาช่วยขายวุ้น ทำให้วรารัตน์สามารถผลิตวุ้นอยู่กับบ้านได้อย่างเต็มที่
สารพันวุ้นร้อยหน้า
       “ต้องขอบคุณครอบครัวที่ฝึกให้เราอดทน รู้จักทำงานมาตั้งแต่เด็ก ทำให้เมื่อเจออุปสรรคในชีวิตก็ไม่ยอมแพ้ สู้ทำทุกทางเพื่อให้ได้เงินมาหล่อเลี้ยงครอบครัว เพราะหลังจากที่เราไม่สามารถซื้อขนมหรือของกินทั่วไปให้ลูกได้ พูดได้เพียง 'แม่ไม่มีเงิน' เป็นประโยคที่ทุกครั้งเราพูดจะเสียใจว่าทำไมเราไม่สามารถทำให้ลูกได้ ก็คิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อมีเงินมาให้ลูก เริ่มจากการทำวุ้นกะทิขาย โดยใช้ 2 ขา แทนรถยนต์ตระเวนขายวุ้นตามบ้าน พัฒนามาขายตามตลาดนัด และกลายเป็นวุ้นมีหน้ามีหน้าในที่สุด”
วุ้นหน้าตาคล้ายโดนัท
       ธุรกิจเริ่มลงตัว เมื่อสามี 'นายกิตินันท์ ปั้นเพชร' ลาออกจากงานประจำกับการเป็นอดีตมือกลองวงไทม์ และนักดนตรีให้แก่วงต่าง ซึ่งหนีไม่พ้นการทำงานกลางคืน ไม่มีเวลาให้ครอบครัว รวมถึงรายได้เริ่มลดลงจากรายได้การขายซีดีเพลง ที่ผู้คนหันไม่อุดหนุนซีดีเถื่อนมากขึ้น ดังนั้นหากออกมาช่วยภรรยาขายวุ้นน่าจะช่วยเพิ่มรายได้ แถมยังมีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้นด้วย
วุ้นสอดไส้ครีมโดนัท
       “เมื่อคุณกิตินันท์ไม่ได้เป็นนักดนตรีแล้ว ก็มีเวลามาช่วยขายวุ้นได้มากขึ้น จากเดิมต้องขายๆ หยุดๆ เพราะไม่มีเวลาผลิตรวมถึงต้องทำงานบ้านควบคู่ไปด้วย แต่เมื่อมีคนออกไปขายโดยเฉพาะ ทำให้เรามีเวลาคิดสูตรวุ้นแปลกใหม่ได้ และให้เวลากับการผลิตเต็มที่จนกลายเป็นวุ้นร้อยหน้าในที่สุด
วุ้นลูกตาลมะพร้าวอ่อน
       ไอเดียวุ้นร้อยหน้าของวรารัตน์เกิดจากความตั้งใจที่ต้องการให้วุ้นของตนออกแบบให้น่ารับประทานคล้ายขนมเค้ก ล่าสุดทำวุ้นสอดไส้ครีมโดนัท เช่น วานิลา สตรอเบอรี่ ช็อกโกแลต ส้ม สังขยา ขายในราคา 12 ชิ้น 55 บาท วุ้นไส้เผือกกวน, ไส้ถั่วแดงกวน, ถั่วเขียวผ่าซีกกวน , ไส้งาดำ และไส้ลูกชิด นอกจากนี้ยังมีวุ้นลูกตาลนมสด มีแปะก๊วยโรยหน้า รับประกันเนื้อลูกตาลและมะพร้าวอ่อนทุกชิ้น วุ้นขนมตาล วุ้นลอดช่อง และสลิ่ม เป็นต้น โดยอนาคตจะทำวุ้นไส้เค็ม คล้ายซาลาเปาให้ลูกค้าได้ลิ้มลองอีกด้วย ในขณะที่รสชาติจะกลมกล่อมไม่หวานจนเกินไป เนื้อวุ้นนิ่มพอดี ไม่เป็นน้ำ สามารถเก็บในตู้เย็นได้ 3 วัน เพราะทางร้านไม่ใส่วัตถุกันเสีย หรือสารเคมีใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
      
วุ้นขนมตาล
      
วุ้นไส้ถั่วแดงกวน
      
วุ้นไส้ครีมโดนัทพร้อมจำหน่าย
       ปัจจุบันวุ้นร้อยหน้าวางจำหน่ายตามตลาดนัดย่านโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เช่น โรงพยาบาลกลาง, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลโรคผิวหนัง, สถาบันมะเร็ง, โรงพยาบาลหัวเฉียว, โรงพยาบาลเซ็นหลุยส์, โรงพยาบาลนพรัตน์ฯ และตลาดอมรพันธ์ หมู่บ้านเสนานิเวศน์ ย่าน ม.เกษตรศาสตร์ หลังทั้งคู่พบว่าเป็นทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าเหมาะสมกับสินค้า เนื่องจากเป็นของฝากให้แก่ผู้ป่วยได้ดี รับประทานง่าย หรือนำไปรับประทานเอง และซื้อกลับบ้านก็เป็นขนมที่รับประทานได้ทั้งครอบครัว ซึ่งในแต่ละวันจะเวียนไปขายตามสถานที่เหล่านี้ ใครสนใจต้องการไปอุดหนุนแนะนำควรโทรไปสอบถามที่กิตินันท์ก่อนที่ 08-9213-1709

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

La chandeleur



เครป มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่อาจไม่มีคำตอบชี้ชัด แต่คำว่า crepes มาจากคำ crispus ในภาษาละติน หมายถึงลักษณะขอบขนมที่ หยิก เป็นลอน
ชื่อ เครป จึงกลายเป็นชื่อของขนม ที่เรียกขานกันในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เรื่อยมา
เครป เป็นขนมที่เรียบง่าย ประกอบไปด้วยแป้งสาลี ไข่ น้ำตาล นม เนย นำมาผสมกันแล้วเทลงในกระทะก็ได้แป้งแผ่นกลม สีเหลืองทอง สามารถใส่ไส้เป็นของคาวและหวานได้ตามชอบ ด้วยเหตุที่มีลักษณะทรงกลม สีเหลืองทองคล้ายดวงอาทิตย์นี่เอง ในสมัยก่อนเครปจึงเป็นขนมที่ใช้เสี่ยงทายของสังคมในยุคเกษตรกรรม เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเครปในวัน ลา ฌองเดอเลอร์ (La Chandeleur) แล้วล่ะก็ ต้นกล้าของข้าวสาลีก็จะเป็นโรคและเหี่ยวเฉาตายไปในที่สุด
ความเชื่อ
ลา ฌองเดอเลอร์ (La Chandeleur) หรือพิธีถวายพระกุมารในพระวิหาร ตามพระธรรมบัญญัติของโมเสส กำหนดให้มารดานำบุตรไปพระวิหารหลังจากเกิดได้ 40 วัน เป็นการถวายบุตรแก่พระผู้เป็นเจ้ารวมถึงการชำระมารดาหลังการคลอดบุตร ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นช่วงที่ฤดูหนาวกำลังจะผ่านพ้นไปฤดูใบไม้ผลิที่สดใสกำลังจะเข้ามา ระหว่างเปลี่ยนฤดูกาลนี้เองจึงมีคำทำนายที่เชื่อมโยงกับดิน ฟ้า อากาศ อยู่ไม่น้อย
เชื่อกันว่าในงานฉลองนี้หากมีการรับประทานเครปกันจนอิ่มหนำแล้วล่ะก็ ทุกครอบครัวจะได้มีกินกันตลอดทั้งปีแถมยังมีความสุขร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทอง
ในวันเดียวกันนี้ มีการเสี่ยงทายด้วยการโยนเครปขึ้นไปในอากาศ โดยให้กำเหรียญทองไว้ในมือซ้าย ส่วนมือขวาจับหูกระทะแล้วโยนเครปขึ้นไปในอากาศ ถ้าขนมตกลงมาในกระทะได้ดังเดิม ผู้เสี่ยงทายก็จะมีเงินใช้ไปตลอดทั้งปี
บางตำราเล่าว่า ให้ซ่อนสตางค์เหรียญทองไว้ในเครปชิ้นแรกที่ทำ แล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้าภายในห้องนอนของเจ้าของบ้าน เชื่อว่าจะเป็นการเก็บเงิน เก็บทอง เก็บความมั่งมีศรีสุขของครอบครัวเอาไว้ เมื่อถึงงานฉลองลา ฌองเดอเลอร์ปีถัดไป ค่อยเอาเหรียญทองในเครปออกมามอบให้คนยากไร้ที่พบเป็นคนแรก

L'Épiphanie (La fete des rois)


วัน L'Epiphanie หรือ La fete des rois
วันนี้ตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงวันที่นักปราชญ์ 3 คน เดินทางติดตามดวงดาวนำทาง มาจนถึงคอกสัตว์ ณ เมืองเบ็ธเลเฮม ซึ่งเป็นสถานที่กำเนิดของพระกุมารเยซู และได้มอบของขวัญ 3 อย่างให้ คือ ทองคำ กำยาน และมดยอบ ให้แก่พระกุมารที่นอนอยู่ในรางหญ้า
(ของแต่ละชิ้นมีความหมายต่างๆ คือ กำยานหมายถึง การเป็นพระเจ้า  ทองคำ หมายถึง การเป็นกษัตริย์   และมดยอบหมายถึง การเป็นมนุษย์)


สำหรับในประเทศฝรั่งเศสแล้ว ในวันนี้คนฝรั่งเศสจะกินขนมที่ชื่อว่า La Galette des rois กัน และในขนม galette นี้ จะมีถั่ว หรือตัวตุ๊กตาเล็กๆอยู่ 1 ชิ้น ซึ่งเรียกว่า la fève
  
ถ้าใครบังเอิญเจอเจ้า la fève นี้ คนๆนั้นก็จะได้สวมมงกุฏกระดาษสีทอง  เป็นพระราชา1วัน และมีสิทธิเลือกราชินี 1 องค์ รวมถึงจะโชคดีตลอดปีค่ะ

Nero burning rom


"ที่มาของชื่อโปรแกรม Nero Burning Rom"
  
ที่มาของชื่อโปรแกรมนี้นั้น...มาจากจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน
นามว่า " Nero Claudius Caesar Drusus Germanicus"
สมเด็จพระจักรพรรดิเนโร หรือคนไทยรู้จักดี ในนาม เนโรจอมโหด 
เป็นจักรพรรดิรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียน แห่งจักรวรรดิโรมัน
พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 37 ที่เมืองแอนเธียม แห่งจักรวรรดิโรมัน
บิดาชื่อ งาเออุส โดมิทิอุส อาเฮโนบาร์บุส (Gnaeus Domitius Ahenobarbus)
มารดาชื่อ อกริบปิน่า ซึ่งมีศักดิ์เป็นถึงน้องสาวของจักรพรรดิคาลิกูลา (Caligula) จักรพรรดิรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียน
เนโรมีชื่อเต็มตอนเกิดว่า ลูเซียส คลอดิอุส เนโร
เมื่อค.ศ. 64 วันที่ 18 กรกฎาคม
ตอนกลางคืน เกิดไฟไหม้ขึ้นที่ร้านขายวัตถุไวไฟแห่งหนึ่งในกรุงโรม
ประกอบกับการที่ถนนกรุงโรมในช่วงนั้นแคบ
ทำให้ไฟจากร้านค้าวัตถุไวไฟนั้น ลุกลามไปยังบ้านเรือนหลังอื่นๆอย่างรวดเร็ว
และไม่นานนัก ไฟก็ไหม้ทั่วเมือง
นีโรรู้ข่าวก็รีบมาดูเปลวเพลิงที่หอคอยมิเซนุส (Maecenas)
แล้วก็บอกว่าเปลวเพลิงนั้นช่างสวยงาม นั่งมองไฟผลาญกรุงโรมอย่างสบายอารมณ์
พร้อมทั้งนำเครื่องดนตรีมาบรรเลงอย่างสุนทรีย์โดยไม่ส่งทหารไปช่วยดับไฟ
กระแสความนิยมของเนโรตกต่ำลงทุกที
วันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 64 เปลวเพลิงที่ผลาญกรุงโรมมาตลอด 6 วัน 6 คืนดับลงในวันที่ 7
เผาบ้านเผาเรือนไป 132 หลัง ใน 4 หมู่บ้าน
เนโรสั่งให้เวนคืนที่ดินจำนวนหนึ่งมาสร้างพระราชวังทองคำ (Golden Palace)
ประกอบกับการที่เนโรไม่ส่งทหารไปช่วยดับไฟ
และในอดีตพระองค์เคยคิดจะเปลี่ยนชื่อกรุงโรมเสียใหม่ว่า กรุงเนโรโพลิส (Neropolis)
ประชาชนจึงปักใจเชื่อว่าเนโรเป็นผู้เผากรุงโรม
(นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเองก็บอกว่ามีความเป็นไปได้ที่เนโรจะเป็นผู้เผากรุงโรม)
เนโรจึงสุ่มสี่สุ่มห้าบอกไปว่าผู้ที่นับถือลัทธิคริสเตียน
(ศาสนาคริสต์เมื่อเกือบสองพันปีก่อนในจักรวรรดิโรมันเป็นเพียงแต่ลัทธิเล็กๆ มิใช่ศาสนาอันยิ่งใหญ่เหมือนปัจจุบัน)
เป็นกลุ่มคิดกบฎและพยายามเผาโรม
จึงเกิดเป็นการประหารหมู่ชาวคริสเตียนในโรมันด้วยข้อหาเผาโรม
ประหารโดยวิธีให้อดอาหารสัตว์ป่าในโคลอสเซียมจนหิวโซ
และนำชาวคริสเตียนไปปล่อยที่สนามโคลอสเซียม
และปล่อยสัตว์ป่าให้มารุมฉีกทึ้งชาวคริสเตียนต่อหน้าผู้ชม
นอกจากนี้ยังเก็บภาษีอย่างหนักเพื่อมาซ่อมแซมบ้านเมืองและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ล่มจมของโรม
ทำให้ประชาชนคลางแคลงใจในเนโร จนเกิดเป็นคำติดปากประชาชนชาวโรมว่า 
"เนโรเผาโรม"
(Nero Burning Rome)

ซึ่งในปัจจุบัน วลีอายุกว่า 2,000 ปีนี้ ได้ถูกใช้เป็นชื่อโปรแกรมซอฟต์แวร์เขียนแผ่นซีดี/ดีวีดี

                                                 

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

เพียงพอนเหลือง


เพียงพอนเหลือง

เพียงพอนเหลือง Siberian Weasel
จาก www.photozoo.org
เพียงพอนเหลือง มีหลังสีน้ำตาลอ่อน ใต้ท้องสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเหลือง ปลายหางสีเข้มที่สุดแต่ไม่ถึงดำ ความยาวหัว-ลำตัว 250 ถึง 390 มิลลิเมตร หางยาว 133 ถึง 210 มิลลิเมตร หนักตั้งแต่ 360 ถึง 820 กรัม ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย
เพียงพอนเหลืองพบได้ตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผ่ไปทางเหนือสุดถึงทะเล อ็อคฮอตสก์ และรัสเซียฝั่งยุโรป ตะวันตกไปถึงจรดทะเลทรายโกบีและทิเบต รวมถึงในญี่ปุ่น แต่ประชากรในญี่ปุ่นเป็นพวกที่ถูกมนุษย์นำเข้าไปปล่อย อาศัยในป่าชั้นสอง ป่าสน ป่าดึกดำบรรพ์ ที่เป็นเนินเขามีความลาดชัน
หากินโดยลำพังตั้งแต่พลบค่ำจนถึงรุ่งสาง มีอาณาเขตเฉพาะตัว เคยพบว่าเดินทางหากินเป็นระยะทางถึง 8 กิโลเมตรในคืนเดียว อาหารหลักคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก เช่น หนู หนูผี บางครั้งก็จับนกและกินไข่นกด้วย ในยามอาหารหลักขาดแคลนก็อาจกินแมลงหรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกิน เพียงพอนเหลืองรู้จักเก็บอาหารไว้กินในฤดูหนาว และหากเกิดภาวะอดอยากก็อาจอพยพย้ายถิ่นด้วย
เช่นเดียวกับสัตว์ในตระกูลเดียวกัน เพียงพอนเหลืองสามารถต่อสู้กับศัตรูที่ใหญ่กว่าตัวเองได้ ศัตรูตัวหลักคือนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ เช่นนกเค้าและเหยี่ยว
ผสมพันธุ์ปีละครั้ง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงปลายฤดูหนาวจนถึงต้นฤดูร้อน ตัวผู้หลายตัวอาจตามเกี้ยวตัวเมียตัวเดียวกัน และมักต้องต่อสู้กัน ตัวเมียตั้งท้องนาน 29 วัน ออกลูกราวเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ออกลูกคราวละ 2-12 ตัว เฉลี่ย 5 ตัว ลูกแรกเกิดเปลือยเปล่าและตาปิด ลืมตาได้เมื่ออายุราว 1 เดือน หย่านมเมื่ออายุ 2 เดือน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 2 ปี อายุขัยโดยเฉลี่ย 2.1 ปี ในแหล่งเพาะเลี้ยงอาจอยู่ได้ถึงกว่า 8 ปี
ไซเตสจัดเพียงพอนเหลืองที่อยู่ในอินเดียไว้ในบัญชีหมายเลข 3 ไอยูซีเอ็นประเมินสถานภาพไว้ว่าไม่ถูกคุกคาม (LR/lc) ไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ชื่อไทยเพียงพอนเหลือง
ชื่ออังกฤษSiberian Weasel
ชื่ออื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์Mustela sibirica
อาณาจักรAnimalia
ไฟลัมChordata
ชั้นMammalia
อันดับCarnivora
วงศ์Mustelidae
สถานภาพการคุ้มครองไทย : สัตว์ป่าคุ้มครอง ไซเตส : บัญชีหมายเลข 3
สถานภาพประชากรไอยูซีเอ็น : ไม่ถูกคุกคาม (LR/lc)

ทราบหรือไม่?

  • เพียงพอนเหลืองเคยเชื่อว่าเป็นชนิดเดียวกับ Mustela itatsi แต่จากการศึกษาดีเอ็นเอไมโตคอนเดรียเมื่อไม่นานมานี้ แสดงชัดเจนว่าต่างชนิดกัน
  • ภาษาอังกฤษ เรียกเพียงพอนตัวผู้ว่า buck, dog, hub หรือ jack เรียกตัวเมียว่า bitch, doe หรือ jill ส่วนฝูงของเพียงพอนเรียกว่า boogle