วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

โอต์ กูตูร์ ( Haute Couture ) คือ ?


โอต์ กูตูร์ ( Haute Couture )

โอต กูตูร์
โอต กูตูร์
หากถามว่าโครเป็นบิดาของ Haute Couture เขาบอกว่าก็ ชาร์ลส์ เฟรเดอริกด์ เวิร์ธ ( Charles Frederick Worth ) เองแหละจาก การมีเงินติด กระเป๋าแค่ 500 บาท และใช้แฟนของตน นางคือ Marie Vernet ทั้งใส่ชุด เดินอวดใครๆ ประมาณว่าเป็นแบบนางแบบเลย ท่านกูตูริเยร์ ( Couturier ) ได้รับความอุปถัมจากจักรพรรดินี เออเชนี แห่งปารีส จึงทำให้แฟชั่นของเขา โด่งดังมาก ร้าน House of Worth ของเขาผลิกกลับมาอีกครั้ง ตอนปี 2010 มี Giovanni Bedin เป็นคนออกแบบ ปัจจุบัน
เกร็ดบนเว็บอีกอัน ที่เขาให้เครดิต ท่านเวิร์ธ ก็คือ ห่วง ( Hoop ) หรือ กรงกางกระโปรง ( Cage Crinoline ) ให้มันกว้างๆ ตอนออกไปลีลาศโบราณ เขาก็บอกว่าเป็น ฝีมือของท่านอีก แม้มันมีมาก่อน เพราะกล่าวว่า ท่าน เป็นวิศวกรเรื่องแฟชั่น แบบทำชุด 10 in 1 อะไรประมาณนั้นแหละ คือชุดแก่ ถอดโน่นนี่ ประกอบใหม่ก็มี
โอต กูตูร์

โอต์ กูตูร์ ( Haute Couture )  มัน คือ อะไร

ชุดเดรส เกรด โอต์ กูตูร์ นี่ เขาใช้เวลากันแบบ ยาวนาน มีไอเดียอะไรก็ยัดใส่ ลงไปในผลงาน กันแบบสุดๆ ใส่ได้ใส่ไม่ได้ในยุคนั้น ไม่สน คนออกแบบ ถูกกำหนด concept ของงานมาว่า ให้ออกแบบ Art Nuvo หรืออะไร ก็ต้อง ลื้อค้น แบบแฟชั่นเก่าๆ มาดูผ่านสายตา ส่วนงานอย่าง RTW ( ready-to-wear ) มันคงไม่ต้องพูด ก็คล้ายๆ ประมาณว่าชุดสำเร็จรูปบ้านเรา
การทำ โอต กูตูร์ เวลาและค่าแรงในการทำ เฉลี่ยๆปาเข้าไป ต่อชุดก็มากกว่า 200-250 ชั่วโมงการทำงาน แถมต้องวัดตัว แล้ววัดตัว อีกหลายๆหน ต่อชุดตัวอย่างเช่น ชุดไปงานโอต์กูตูร์ แบบใหม่ๆอย่าง 2010 ของ Chanel ที่มีกลุ่มร้านที่ทำ kit แต่ละชิ้นให้กับ Chanel ซึ่งหลายร้านย่อยนั้น chanel ก็ซื้อมาอยู่ในเครือกันเลย ซึ่งอธิบายง่ายๆ คือ งานชุดที่ทำโดยมือคน ไม่ว่าเย็บ ตัดด้วยเทคนิคพิเศษๆ จากช่างที่ผ่านการรับรองคุณภาพ ใช้วัตถุดิบซึ่ง ยอดเยี่ยมสุดๆ เขาบอกเป็นงาน แบบนี้

note: 8/8/2010 นำคลิป Haute Couture อันหนึ่งที่เห็นๆ แม้ปี 2009 แต่ชัดๆมาให้ดู เพื่อจะให้เข้าใจว่า ทำมือ เขาก็หาเครื่องมือช่วย สังเกต เข็มปักไหม ปักเลื่อม คล้ายๆ เข็มปักซ่าหรี แต่ได้มีการพัฒนา ทำให้ปักเร็ว แต่ผ้าบางชนิดก็เป็นรู+รอย ไม่สวยเหมือน เข็มปักสาวไทย
อีกอย่างที่คุณอ่านแล้ว  มันมีกฏการได้มาคล้ายๆ มาตรฐาน ISO ประมาณนั้นแหละ เขาเรียกว่า สมาคมช่างตัดเสื้อชาวปารีส หรือ ชองเบรอะ แซงดิกาล เดอ ลา กูตูร์ ปาริเซียน ( Chambre Syndicale De La Couture Parisienne ) 


ตัวอย่างชุดเดรส เสื้อผ้ามีเกรดมีระดับ โอต์ กูตูร์ ของ Christian Lacroix ในช่วง Spring Summer 2009 ที่นำพา โอต์ กูตูร์ 

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

ภาพซิลูเอต Silhouette



ภาพแบบเงาดำหรือซิลลูเอท  เป็นภาพประเภทที่มีบรรยากาศเฉพาะตัวและให้ความรู้สึกทางด้านจินตนาการสูง เพราะตัวแบบจะปรากฏเป็นเพียงรูปทรงเงาสีดำที่ชวนให้คาดเดาไปได้ต่างๆนานา ในขณะที่ความสวยงามของแสงสีที่ปรากฏอยู่เป็นฉากหลังจะทำให้เกิดความเปรียบ ต่างสูงกับตัวแบบซึ่งก็ส่งผลให้ตัวแบบดูโดดเด่นยิ่งขึ้นไปอีก และภาพแบบซิลลูเอทนี้ เป็นการถ่ายภาพอีกประเภทหนึ่งที่คนใช้ DSLR ไม่ควรพลาดสำหรับการบันทึกภาพ...


Concept

การถ่ายภาพแบบเงาดำ มีหลักและวิธีคิดคือ การบันทึกแสงโดยให้ฉากหลังมีปริมาณแสงที่สว่างพอดี แต่ให้ตัวแบบมีแสงน้อยที่สุดเพื่อให้กลายเป็นรูปทรงเงาดำ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการถ่ายภาพแบบย้อนแสงนั่นเอง โดยใช้ประโยชน์จากการที่สภาพแสงมีความเปรียบต่างสูงระหว่างตัวแบบและฉากหลัง ซึ่งจะต้องควบคุมทั้งสปีดชัตเตอร์และรูรับแสง หรือเรียกตามศัพท์ถ่ายภาพว่าให้แสงฉากหลังพอดีแต่ตัวแบบอันเดอร์ ความสวยงามของภาพประเภทนี้จะอยู่ที่รูปทรงของตัวแบบ การจัดองค์ประกอบภาพ และลักษณะของแสงฉากหลังที่สวยงามเราจะพบเห็นภาพแบบเงาดำ ที่ถ่ายภาพในช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือตกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนตัวแบบก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเสมอไป สัตว์ ต้นไม้ อาคาร ก้อนหิน ฯลฯ ก็สามารถใช้เป็นตัวแบบได้ ที่สำคัญคือต้องมีรูปทรงและลักษณะที่น่าสนใจ


Equipments
กล้อง DSLR ทุกตัวสามารถใช้ถ่ายภาพชนิดนี้ได้โดยพื้นฐานอยู่แล้ว จุดสำคัญ คือการปรับตั้งค่าการเปิดรับแสงที่ถูกต้องโดยการเลือกใช้โหมดในการบันทึกภาพ ที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าการใช้โหมดอื่นๆ จะสามารถบันทึกภาพเงาดำได้เช่นกัน แต่โหมดที่เหมาะสมมากที่สุดก็คือโหมด M หรือ โหมดแมนนวลนั่นเองเลนส์ทุกระยะสามารถใช้ในการบันทึกภาพแบบนี้ได้หมด ขึ้นอยู่กับลักษณะมุมภาพที่เราต้องการถ่าย เลนส์ช่วงเทเลจะเน้นไปที่ตัวแบบโดยตรง และหากเป็นการ
ถ่ายภาพที่มีดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในภาพ ก็จะได้ขนาดที่ใหญ่ ในขณะที่เลนส์ช่วงมุมกว้างจะทำให้ภาพดูแปลกตาและเก็บบรรยากาศมาได้โดยรอบแต่ ดวงอาทิตย์จะมีขนาดเล็กเนื่องจากระยะของเลนส์นั่นเอง ขาตั้งและสายลั่นชัตเตอร์ดูจะมีความสำคัญน้อยลงไป แต่สามารถนำมาใช้ร่วมได้เช่นกัน ซึ่งก็จะช่วยให้ภาพของคุณลดอาการสั่นไหวได้ แต่จะขาดความคล่องตัวในการเปลี่ยนตำแหน่งกล้องไป-มา ในการนี้ หากกล้องของคุณมีระบบป้องกันภาพสั่นไหว มันก็จะช่วยคุณได้มาก เพราะเราอาจต้องใช้มือเปล่าถือกล้องในขณะที่ใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำด้วย


The Exposure

• สปีดชัตเตอร์
สปีดชัตเตอร์จะขึ้นอยู่กับปริมาณแสงในขณะนั้น แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือสปีดชัตเตอร์จะต่ำเกินไปจนถือกล้องด้วยมือเปล่าไม่ ได้ (ซึ่งก็อาจจะต้องใช้ขาตั้งกล้องช่วย) หรือตัวแบบของคุณมีการเคลื่อนไหวหรือไม่ และต้องการให้ตัวแบบหยุดนิ่งหรือไม่?

• รูรับแสง
เป็นเรื่องของการควบคุมระยะชัด (Depth of Field) ยิ่งรูรับแสงแคบ (ตัวเลขค่า F มาก) ระยะชัดก็จะยิ่งครอบคลุมเป็นระยะที่กว้างมากขึ้น (ชัดลึก)แต่ถ้ารูรับแสงกว้าง (ตัวเลขค่า F น้อย) ก็จะมีระยะความคมชัดที่สั้นลง (ชัดตื้น) ดังนั้นต้องคำนึงถึงลักษณะภาพของเราว่าต้องการระยะชัดครอบคลุมขนาดไหน?แล้ว ปรับค่ารูรับแสงเพื่อควบคุมปัจจัยเหล่านี้

• ค่า ISO
ค่าความไวแสงก็ไม่มีกำหนดตายตัว คุณอาจจะเลือกใช้ค่าความไวแสงมากขึ้นหากแสงมีปริมาณน้อยลง หรือใช้ค่าความไวแสงต่ำหากมีปริมาณแสงมากหรือต้องการใช้เพื่อเหตุผลทางด้าน ของการปรับตั้งค่าสปีดชัตเตอร์และรูรับแสง สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ยิ่ง ISO ต่ำ ภาพก็ยิ่งมีคุณภาพดี ในทางตรงกันข้ามยิ่ง ISO สูง คุณภาพของภาพก็จะลดลงเรื่อยๆ


How to?

ตาม หลักการที่เราต้องเปิดรับแสงฉากหลังให้พอดี ดังนั้นเราต้องวัดปริมาณแสงที่ฉากหลัง แต่ในเรื่องนี้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงให้มากที่สุดก็คือเรื่องคุณภาพของแสงทั้งในด้านของช่วง เวลาและปริมาณ เช่น หากเป็นแสงธรรมชาติก็จะมีช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดก็คือหนึ่งชั่วโมงก่อนดวง อาทิตย์ตกและหลังดวงอาทิตย์ขึ้นหรือที่เรียกว่าช่วงทไวไล้ท์ (Twilight) เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวแสงจะมีสีสันมากที่สุด ช่วยให้ภาพเพิ่มความน่าดูมากยิ่งขึ้น

ปรับกล้องไปที่โหมดถ่ายภาพแบบแมนนวล (M) แล้วใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุดหรือแบบเฉลี่ยหนักกลาง จากนั้นวัดแสงไปที่ท้องฟ้าข้างๆ ดวงอาทิตย์(ห้ามวัดแสงที่ดวงอาทิตย์เพราะอาจเกิดอันตรายต่อทั้งกล้องและสาย ตาได้ และอย่าลืมว่าต้องเป็นช่วงที่แสงไม่แรงมากนัก) แล้วปรับค่าสปีดชัตเตอร์และรูรับแสงให้ได้ค่าการเปิดรับแสงที่พอดี (อยู่ที่ระดับ 0 ของสเกลเครื่องวัดแสง) โดยยึดหลักการณ์ของเรื่องสปีดชัตเตอร์และรูรับแสงประกอบการพิจารณา(เช่น เรื่องของชัดลึกและชัดตื้น) เช่นค่าที่เหมาะสมตามสเกลวัดแสงอาจจะเป็น 1/125 f/5.6 แต่เราต้องการระยะชัดที่มากกว่า ก็อาจจะหรี่รูรับแสงลงมาเป็นf/8 และลดสปีดลงมาเหลือ 1/80 เป็นต้น

ส่วนในกรณีที่คุณใช้โหมด A (Aperture Priority) ก็ให้วัดแสงแบบเดียวกัน จากนั้นก็ล็อคค่าความจำแสงเอาไว้ แล้วปรับโฟกัสใหม่ แต่เราจะเห็นได้ว่าการใช้โหมด M จะสะดวกมากกว่า เพราะค่าการปรับตั้งจะอยู่คงที่ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเมื่อเราจัดองค์ประกอบภาพโดยการเปลี่ยนตำแหน่งกล้อง หรือปรับโฟกัสใหม่

หลังจากที่วัดแสงจนได้ค่าที่เหมาะสมแล้ว ก็ปรับเปลี่ยนมุมกล้องใหม่เพื่อจัดองค์ประกอบภาพและปรับโฟกัส เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็กดชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพ

ตรวจสอบภาพว่าได้ผลออกมาเป็นเช่นไร? หากภาพดูสว่างเกินไป ก็อาจจะลดค่าความไวแสงลง (ISO) หรือหรี่รูรับแสงให้แคบลงหรือเพิ่มสปีดชัตเตอร์ให้เร็วมากขึ้น (เพื่อให้แสงมีปริมาณน้อยลง) แต่ถ้าภาพดูมืดเกินไป ก็อาจจะขยายรูรับแสงหรือลดสปีดชัตเตอร์ให้ช้าลง (หรือเพิ่มค่าความไวแสงให้มากขึ้น)


Suggestions
คำแนะนำสำหรับการถ่ายภาพเงาดำ


• คุณสามารถทำให้แสงสีในภาพผิดไปจากความเป็นจริงเพื่อผลพิเศษและอารมณ์ของภาพ ได้ โดยการปรับค่า White Balance ให้ผิดไปจากปกติ หากต้องการให้ภาพออกสีโทนอุ่นหนักไปทางเหลือง-แดง ก็ให้ปรับค่า WB ไปที่ Flash หรือเลือกใช้อุณหภูมิแสงสูงๆ ส่วนการใช้ WB แบบ Daylight หรือปรับใช้อุณหภูมิแสงต่ำๆ ก็จะได้สีออกมาในโทนเย็นหรือน้ำเงิน-เขียว

• ปรับ ค่า Saturation เพื่อเร่งสีสันให้กับภาพได้อีกหากคุณต้องการสีสันจัดจ้าน โดยเลือกปรับจากในกล้องได้เลย (ดูวิธีปรับตั้งได้จากคู่มือของกล้อง)

• ภาพเงาดำที่ดี ต้องมีตัวแบบที่มีรูปทรงน่าสนใจและคมชัด ดังนั้นมองหาตัวแบบที่เข้าเกณฑ์เหล่านี้เสียก่อนที่จะทำการถ่ายภาพ

• ตัวแบบอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นเงาดำสนิทเสมอไป ในบางครั้งการเกิดแสงตามขอบของรูปทรงหรือ "ริมไลท์" (Rim Light) ก็จะยิ่งทำให้ภาพดูน่าสนใจ และมีความสวยงามมากขึ้นไปอีก แต่คุณจำเป็นต้องมีทักษะการควบคุมแสงและการดูมุมของแสงที่ดีด้วย

• ถึงแม้ตะวันจะลับหายไปจากขอบฟ้าแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถถ่ายภาพแบบนี้ได้อีกแล้ว ในทางตรงกันข้าม บางวันที่ปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม มันอาจจะมีความสวยงามมากกว่าช่วงก่อนพระอาทิตย์ตกเสียอีก ดังนั้นให้คุณดูจนแน่ใจว่าแสงหมดแล้วจริงๆ

• การถ่ายภาพดวงอาทิตย์ย้อนแสงในขณะที่แสงยังมีความแรงอยู่เป็นสิ่งที่อันตราย มาก ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงหากคุณไม่แน่ใจ ควรรอให้แสงอ่อนกำลังลงแล้วจะดีกว่า

• ภาพเงาดำจากมุมต่ำโดยใช้เลนส์มุมกว้างจะสร้างความตื่นตาตื่นใจในเรื่องของ มุมมองให้กับภาพแบบนี้เป็นพิเศษ ดังนั้นกล้องชนิดที่มีระบบ Live View และมีจอแบบพับมองจากด้านบนได้จะช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับคุณ

• หลีกเลี่ยงฉากหลังที่รกรุงรัง ซึ่งมันจะทำลายความเด่นของตัวแบบของคุณ ฉากหลังที่โล่งและเต็มไปด้วยแสงสีจะช่วยให้ภาพดูน่าประทับใจได้ มากกว่าภาพเงาดำที่ดูวุ่นวาย

• หากตัวแบบของคุณคือคน ให้รอจังหวะที่มีการขยับแขนในอิริยาบทต่างๆ ยิ่งหากคุณสามารถควบคุมได้เองแล้ว ภาพของคุณจะดูมีชีวิตชีวาและบอกเล่าเรื่องราวได้มากขึ้น


ภาพเงาดำหรือ "ซิลลูเอท"  คืออีกเสน่ห์หนึ่งของ DSLR โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการท่องเที่ยวไปในสถานที่ ที่มีทรรศนียภาพสวยงาม มีมุมที่พระอาทิตย์ขึ้นและตกอย่างน่าตื่นตาตื่นใจซึ่งผู้คนส่วนมากมักจะ ประทับใจกับภาพประเภทนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนสำคัญของคุณดังนั้นคุณจึงไม่ควรพลาดที่จะศึกษาและ ฝึกฝนวิธีการถ่ายภาพในแนวนี้เอาไว้บ้าง เพราะเมื่อถึงเวลา ก็สามารถที่จะดึงเอาเทคนิคนี้มาใช้ได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ซึ่งก็จะสร้าง ความประทับใจให้กับผู้ดูภาพของคุณได้ไม่ยากเลย.

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

ครบรอบวันเกิด 100 ปี Robert Doisneau ช่างภาพขาวดำ


หน้าค้นหา Google.co.th แสดงภาพ Doodle เปลี่ยนไปอีกแล้วครับ ออกแนวภาพบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ของทิวทัศน์แห่งกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะภาพสุดท้ายเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาที่ชื่อว่า “Kiss by the Hotel de Ville” ลองสังเกตตัวอักษร Google ในแต่ละภาพที่รวมต่อกัน ทำออกมาได้เนียนทีเดียวครับ ถ้าคลิกภาพจะเกิดคำค้น “Robert Doisneau” เขาคือ ผู้บุกเบิกการถ่ายภาพขาวดำชื่อดัง ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเกิด 100 ปี ในวันที่ 14 เมษายนนี้
โรเบริ์ต ดัวส์โน (Robert Doisneau) เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 มีอาชีพช่างภาพ เขาถนัดใช้กล้องไลก้า (Leica) โดยเฉพาะการถ่ายภาพผู้คนแห่งนครปารีสเป็นส่วนใหญ่ เขาเป็นผู้บุกเบิกการถ่ายภาพลักษณะ Photojournalism หรือแนวเดินไป ท่องเที่ยวไป ถ่ายไป ทำให้ภาพถ่ายขาวดำที่เขาสร้างขึ้นบ่งบอกความเป็นตัวตนและการดำเนินชีวิตของเขาและผู้คนในเมืองนี้เป็นอย่างดี
โดยจุดเด่นของภาพที่เขาถ่ายจะเน้นรายละเอียดของฉากหลังเป็นพิเศษ ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากรุงปารีสก็เหมือนโรงถ่ายภาพขนาดใหญ่ของเขานั่นเอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Wikipedia





  • การเป็นช่างภาพสื่อ(photojournalism) นั้นแตกต่างจากช่างภาพสารคดี ช่างภาพถ่ายรูปนิตสารดารา ภาพยนตร์ เนื่องจากการเป็นช่างภาพข่าวนั้นมีกรอบจริยธรรม มีจรรยาบรรณ ที่ต้องยึดถือเพื่อให้ถ่ายทดภาพออกมาให้มีความเป็นกลาง ในการนำเสนอข่าวสารสู่สาธารณชน
  • โรเบิร์ท (Robert Doisneau)เป็นชาวฝรั่งเศล เกิดเมื่อ 14 เมษายน 1912 เสียชีวิตเมื่อ 1 เมษายน 1994
  • เขามีอาชีพเป็นช่างภาพ ตั้งแต่ในช่วงปี 1930 โดยใช้กล้อง ไลก้า(Leica) ถ่ายภาพไำปตามท้องถนนในกรุงปารีส
  • ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาถือภาพที่มีชื่อว่า Le baiser de l'hôtel de ville (Kiss by the Hôtel de Ville)ที่หนุ่มสาวคู่หนึ่งกำลังจูบกันอย่างดูดดื่ม(ไม่รู้จูบแบบฝรั่งเศลด้วยหรือเปล่า?)บนถนนที่พลุกพล่าน และคราคร่ำไปด้วยผู้คน
  • โรเบิร์ท ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวิน(Chevalier) ในปี 1984

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

เมนูดอกไม้กินได้ มีอะไรบ้าง?


ดอกไม้กินได้ เมนูอาหารดอกไม้ มาเรียนรู้กันดีกว่าว่า “ดอกไม้” สามารถปรุงเป็นอาหารได้กี่วิธี เมนูดอกไม้กินได้ มีอะไรได้บ้าง?

เมนูดอกไม้กินได้ เมนูอาหารดอกไม้
เมนูดอกไม้กินได้ เมนูอาหารดอกไม้

เมนูดอกไม้กินได้ ทำเมนูอาหารอะไรกินได้บ้าง?

  • 1.ดอกไม้ปิ้งย่าง…ช่างน่าทาน มักใช้ดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ เพราะต้องใช้เวลานาน ย่างด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก และข้างนอกอ่อนนุ่มหรือแห้งกรอบ เช่น ดอกเพกาสอดไส้ย่าง เมนูดอกเบญจมาศกับปลาย่าง ฯลฯ
  • 2.ดอกไม้ทอด..กรอบอร่อย วิธีนี้เหมาะกับดอกไม้หลายชนิดทั้งดอกเล็ก ดอกใหญ่ แต่เมนูเด็ดสำหรับการทอดดอกไม้เช่น มาลีทอดกรอบ ลีลาวดีสอดไส้ ไข่เจียวดอกไม้ หรือจะนำกลีบดอกไม้ต่างๆ มาชุบแป้งทอดก็อร่อยเหมือนกัน
  • 3.รับประทานดอกไม้สด..ง่าย กินดอกไม้สด ได้สารอาหารครบถ้วน ทำได้โดยการนำดอกไม้สดล้างให้สะอาด นำมาปรุงเป็นเมนูง่ายๆ เช่น สลัดกลีบดอกไม้ เปาะเปี๊ยะดอกไม้สด บุปผาน้ำปลาหวาน หรือนำมารับประทานเป็นเครื่องเคียงกับอาหารชนิดอื่น เช่น ลาบ ส้มตำ ขนมจีน ฯลฯ
  • 4.ยำดอกไม้ สุดเอร็ด นำดอกไม้ลวกสุก หรือดอกไม้สดมาปรุงกับน้ำยำรสเด็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น ยำบุปผานานาพันธุ์ ยำดอกดาหลา ยำดอกขจร ยำสะเดากับกุ้งย่าง ยำดอกไม้รวมมิตร ฯลฯ
  • 5.พลิกแพลงทำแกงเด็ด แกงดอกไม้ ดอกไม้ที่นำมาทำอาหารประเภทแกงนั้น ควรเป็นดอกไม้ที่โดนความร้อนแล้วสีไม่ซีด หรือทำให้รสชาติเปลี่ยน เช่น ดอกกุหลาบ ดอกขิงแดง ดอกกล้วยไม้ ดอกขจร เป็นต้น
    นอกจากนั้นยังสามารถนำมาทำเป็นเมนูเด็ดได้อีกหลากหลาย ทั้งซุปกุหลาบกับเต้าหู้ดำ เต้าหู้ขาว, ต้มกะทิสดดอกบัว, แกงจืดบุปผาสาคู, ต้มส้มดอกขิงแดง, ต้มข่าดอกกล้วยไม้, แกงจิ้นส้มกับดอกผักปลัง, แกงจืดพวงชมพู, แกงส้มพริกสดปลาช่อนกับดอกผักปลัง, แกงส้มดอกขจร ฯลฯ
  • 6.ดอกไม้ลวก ดอกไม้นึ่ง…ทึ่งอีกเมนู วิธีนี้จะได้เมนูเด็ดที่ได้จากการทำดอกไม้ให้สุกและนิ่ม เช่น ดอกสะเดาลวก รับประทานเป็นเครื่องเคียงน้ำพริก, เต้าหู้ดำนึ่งดอกสายน้ำผึ้ง, ไข่ตุ๋นดอกเข็ม เป็นต้น
  • 7.ดอกไม้ผัด น่าทาน การผัดนี้เหมาะกับดอกไม้ที่มีกลีบหนาพอสมควร เพื่อไม่ให้อาหารเกิดการเละจากการใช้กระทะที่มีความร้อนสูง และผัดไปผัดมาอย่างรวดเร็ว โดยมีเมนูเด็ดจากการผัด เช่น ดอกกาหลงผัดกุ้ง, เต้าหู้นิ่มผัดกุยช่ายขาวกับกุ้ง, ผัดดอกกะหล่ำ, ผัดดอกกุยช่าย เป็นต้น
  • 8.ขนมดอกไม้ ดอกไม้ที่มีสีสันสวยงาม สามารถนำมาผสมเข้ากับกะทิ น้ำตาล หรือแป้งได้ เพื่อให้เกิดเป็นขนมหวาน และมีเมนูเด็ดมากมายที่นำดอกไม้มาเป็นส่วนประกอบ เช่น เค้กดอกโสน, มัฟฟิ่นกุหลาบ ขนมดอกโสน เป็นต้น
  • 9.เครื่องดื่มดอกไม้ น้ำดอกไม้ ถ้าไม่อยากรับประทานดอกไม้เป็นชิ้นสามารถนำมาผ่านกรรมวิธีตากแห้ง แล้วนำมาต้มทำเป็นเครื่องดื่มดับกระหายได้ เช่น น้ำเก๊กฮวย, น้ำกระเจี๊ยบ, น้ำดอกเข็มแดง, น้ำดอกดาหลา, น้ำดอกอัญชัน, น้ำกุหลาบ หรือชาดอกไม้ต่างๆ เป็นต้น
  • ที่มาข้อมูล : มติชนออนไลน์