วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Maria Montessori

                                 Maria Montessori

Maria Montessori เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากต่อวงการแพทย์ และได้ขึ้นโลโก้บนหน้าเว็บ Google มีลักษณะเป็นรูปของเล่นเสริมพัฒนาการแบบต่างๆ เรามารู้จักประวัติของ Maria Montessori (แพทย์หญิง มาเรีย มอนเตสซอรี) เธอเป็นชาวอิตาลี เกิดใน 31 สิงหาคม คศ. 1870 ในเมืองเชียราวาล (Chiaravalle) จังหวัดแอนโคนา (Ancona) ของประเทศอิตาลี

Maria Montessori (แพทย์หญิง มาเรีย มอนเตสซอรี) เป็นแพทย์หญิง คนแรกของประเทศอิตาลี หลังจากจบการศึกษาแพทยศาสตร์ก็ได้มาทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ณ กรุงโรม
Maria Montessori
Maria Montessori
จากการที่ได้ทำงานกับเด็กเหล่านี้ ได้วิเคราะห์วิธีการเรียนรู้ของเด็ก จึงพบว่าเด็กๆเหล่านั้นสามารถพัฒนาไปในทางที่ดีได้ หากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธี เนื่องจากการช่วยเหลือเด็กโดยวิธีดังกล่าว จึงทำให้เธอได้รับการยกย่องจากวงการแพทย์และการศึกษา ต่อมาจึงได้เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาระบบการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา คนหูหนวก และได้รับเด็กที่มีความบกพร่อง และได้ให้เด็กที่บกพร่องเหล่านั้นลองเข้าสอบร่วมกับเด็กปกติทั่วไปกลับพบว่าพวกเขาสามารถสอบผ่านได้คะแนนดีทุกคน
ในปีคศ. 1906 Maria Montessori ถูกเสนอให้รับตำแหน่งถึง 2 ตำแหน่งคือ ตำแหน่งประธานมหาวิทยาลัยและตำแหน่งการปฏิบัติการทางการแพทย์ แต่เพราะความต้องการจะช่วยเด็กๆ อย่างแรงกล้า เธอจึงได้ปฏิเสธทั้ง 2 ตำแหน่งไป และได้ก่อตั้งบ้านของเด็กแห่งแรก (Casa dei Bambini) ที่กรุงโรมซึ่งเป็นสถานที่ที่การศึกษาแนวมอนเทสซอริได้รับการพัฒนาถึงจุดสูงสุด โดยได้เอาวิธีการสอนเด็กบกพร่องทางสติปัญญามาใช้กับเด็กโดยให้เด็กจับต้องสื่อหรือเล่นอุปกรณ์ต่างๆ ที่เธอประดิษฐ์ขึ้น โดยให้เด็กเลือกอุปกรณ์เอง ทำให้เด็กมีความสนใจที่จะเรียนรู้อย่างมีสมาธิและสร้างสรรค์ทดลองให้เด็กทำและเขียนหนังสือได้ เด็กอายุตั้งแต่ 4 – 5 ปี สามารถประสมคำ อ่านคำและฝึกเขียนหนังสือได้ด้วยตนเองตามความสนใจอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ผลงานของ Maria Montessori โด่งดังไปทั่วโลกทั้งในวงการศึกษา วงการแพทย์ รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง ก็ได้แนวคิดมาใช้ในการดูแลเด็กในปกครองเพื่อให้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตต่อไปในสังคมมนุษย์ได้อย่างมีความสุข
Maria Montessori ถึงแก่กรรมในปีคศ.1952 ณ กรุงนู๊ดวิจค์ (Noordwijk) ในประเทศฮอลแลนด์ โดยมีสมาคมมอนเทสซอริสากล (Association Montessori Internationale (AMI) ) เป็นองค์การที่ท่านก่อตั้งในกรุงแอมสเตอแดม (Amsterdam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่ปีคศ.1929 ได้ทำการสานงานของท่านต่อไป…


Read more: http://www.comfixclub.com/maria-montessori/#ixzz255j3Suci

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คนไทยอ่านหนังสือ 35 นาที/วัน


สํานักงานสถิติแห่งชาติ สํารวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2554 โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนพฤษภาคม -มิถุนายน จากจํานวนครัวเรือนตัวอย่างประมาณ 53,000 ครัวเรือน
ผลการสารวจที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ การอ่านของเด็กเล็ก นอกเวลาเรียน ทั้งการอ่านด้วยตัวเองและมีผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง พบว่า เด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือ ร้อยละ 52.8 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจในปี 2551 โดยเด็กผู้หญิงอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าเด็กผู้ชาย คือร้อยละ 55.9 และ 49.9 ตามลําดับ
ขณะที่เด็กในเขตเทศบาล อ่านหนังสือสูงกว่า เด็กนอกเขตเทศบาล โดยเด็กเล็กในกรุงเทพมหานคร มีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด ร้อยละ 67.2 และเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ขณะที่ภาคกลาง เด็กเล็ก มีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด ร้อยละ 47.4
ขณะที่อัตราการอ่านนอกเวลาเรียนและนอกเวลาทำงานของคนไทยที่อายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป เปลี่ยนไปจากการอ่านของเด็กเล็กคือ มีอัตราการอ่านร้อยละ 68.8 มากกว่าเด็กเล็ก และผู้ชายอ่านมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย คือร้อยละ 69.3 และ 68.3 ตามลำดับ
ขณะที่กรุงเทพมหานคร ยังเป็นพื้นที่ที่มีการอ่านของคนกลุ่มนี้มากที่สุดในประเทศเช่นเดิม คือร้อยละ 89.3 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการอ่านหนังสือต่ำที่สุดคือ ร้อยละ 62.8
เมื่อพิจารณาจากช่วงอายุ พบว่า วัยเด็กอายุ 6-14 ปี มีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุดถึงร้อยละ 91.2 รองลงมาคือเยาวชน อายุ 15-24 ปี อ่านหนังสือร้อยละ 77.9 วัยทํางานอายุ 25-59 ปีอ่านหนังสือร้อยละ 66.5 และตํ่าสุดคือวัยสูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป อ่านหนังสือร้อยละ 43.9
เมื่อนำผลการสำรวจนี้ไปเปรียบเทียบกับปี 2551 มีเพียงกลุ่มเยาวชนเท่านั้น ที่มีอัตราการอ่านหนังสือลดลง ส่วนจำนวนเวลาที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียนและนอกเวลาทำงานคือ ผู้ที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป อ่านหนังสือเฉลี่ย 35 นาทีต่อวัน โดยกลุ่มเด็กและเยาวชน ใช้เวลาอ่านเฉลี่ย 40-41 นาทีต่อวัน มากกว่า วัยทำงานและสูงอาย ที่ใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ย 31-32 นาทีต่อวัน
เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 พบว่ากลุ่มเด็กคืออายุ 6-14 ปี ใช้เวลาอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือจาก 38 นาที เพิ่มเป็น 41 นาที ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ อ่านหนังสือลดลงทั้งหมด
 

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เซโรโทนิน สารแห่งความสุข



ถ้าพูดถึงสารตัวหนึ่งที่ร่างกายผลิตออกมาแล้วให้ความสุขกับร่างกาย หลายคนนึกถึงสารเอ็นโดฟินส์ค่ะ แต่เชื่อไหมค่ะว่านอกจากสารเอ็นโดฟินส์แล้วยังมีสารเซโรโทนินด้วยค่ะ
  สมองจะผลิตสารเซโรโทนินในช่วงเวลากลางวันเท่านั้นค่ะ ซึ่งเมื่อเราตื่นขึ้นมาพบแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เส้นประสาทหลังลูกตาก็จะส่งสัญญาณไปยังต่อมไพเนียล ที่อยู่เหนือสมอง ซึ่งต่อมไพเนียลได้รับสัญญาณก็จะเริ่มในการสร้างสารเซโรโทนินค่ะ
ซึ่งสารเซโรโทนินเปรียบได้กับระบบเข็มนาฬิกาของสมองค่ะ เพราะเป็นสารที่ช่วยให้การทำงานของสมองนั้นทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และยังกระตุ้นให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานอย่างกระฉับกระเฉง ทำให้เรานั้นรู้สึกอารมณ์ดี แจ่มใสได้ตลอดทั้งวันค่ะ
เพราะฉะนั้นถ้าอยากอารมณ์ดี และก็ร่างกายกระฉับกระเฉงก็ต้องทานอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย ออกกำลังกายบ้าง และก็อย่าลืมออกไปโดนแสงแดดเช้าๆบ้างนะค่ะ ร่างกายคุณจะได้หลั่งสารเซโรโทนินได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยค่ะ

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Obélisque


     

Un obélisque (nom masculin, du grec ὀϐελίσκος (obeliskos), « brochette à rôtir ») est un monument monolithe élevé, utilisé notamment dans l'architecture sacrée de l'Égypte antique.
Il est composé de trois parties :
  • un piédestal qui assure l'équilibre de l'ensemble,
  • un fût quadrangulaire s'amincissant vers le sommet,
  • une cassure de la pente au sommet pour obtenir la forme d'une pyramide, c'est lepyramidion.

    Benben est le nom égyptien désignant l'obélisque. D'après les HéliopolitainsAtoum- se serait manifesté sous cette forme pour la première fois et l'obélisque serait un rayon de soleil figé. C'est certainement selon cette symbolique que le pyramidion était recouvert de feuille d'or.
    On a retrouvé la trace d'une cinquantaine d'obélisques au moins, dont la plupart se sont conservés ou ont été restaurés ; ces monolithes ont souvent été déplacés et ce depuis l'Antiquité, d'abord par les pharaons eux-mêmes (voir l'exemple de Tanis) puis par les souverainslagides pour orner leurs monuments alexandrins et enfin, emportés hors d'Égypte comme trophées par les empereurs romains. Auxixe siècle le gouvernement égyptien offrit aux grandes capitales du monde certains de ces colosses de pierre qui ornent désormais de célèbres places ou des parcs.