เครื่องสำอางค์แต่งดวงตาอิยิปต์โบราณฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
นักวิยาศาตร์ได้ค้นพบว่าเครื่องสำอางค์ของอียิปต์มีวัตถุประสงค์อื่นอีก โดยเครื่องสำอางค์แต่งดวงตาสีดำทำมาจากแร่กาลีนา ซึ่งเป็นแร่ธาตุทึบแสงมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเครื่องสำอางค์ยังมีหน้าที่เหมือนยารักษาโรคผิวหนังและดวงตาอีกด้วย
ที่มา สำรวจโลก
เครื่องสำอางค์ของชาวอียิปต์สมัยโบราณ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
จะเห็นได้ว่ารูปภาพฟาโรห์ และนักบวช จากอียิปต์สมัยโบราณ ล้วนแล้วแต่ทาขอบตาเป็นสีดำกันทั้งนั้น ซึ่งในปัจจุบัน ดูเหมือนว่าการแต่งหน้าแบบนั้น ไม่เพียงแต่เป็นการตกแต่งดวงตาให้สวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการป้องการดวงตาจากการติดเชื้อ หรือการอักเสบอีกด้วย
นักวิจัยชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า การแต่งขอบตาเข้มๆ ของราชวงศ์อียิปต์โบราณนั้น มีผลดีต่อสุขภาพ นักวิจัยทดสอบตัวอย่างที่เขียนขอบตา ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ Louvre ในฝรั่งเศส 52 ตัวอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นที่เขียนขอบตาของชาวอียิปต์สมัยโบราณในระยะแรกๆ ปรากฎว่าที่เขียนขอบตาดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ในการต่อต้านการติดเชื้อมากเป็นทวีคูณ เนื่องจากมีส่วนผสมของสารตะกั่วชนิดต่างๆ ถึง 4 ชนิด
แม้ว่าสารตะกั่วจะมีพิษในปริมาณสูง และมีการห้ามใช้สารตะกั่วในสีต่างๆ หรือน้ำมันเชื้อเพลิงในปัจจุบัน แต่การใช้ในปริมาณเล็กน้อย อย่างในเครื่องสำอางค์ของชาวอียิปต์ กลับมีคุณสมบัติเหมือนยาปฏิชีวนะ
คุณ Neal Lingerman ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี กล่าวว่า สารตะกั่วในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยปิดกั้นไม่ให้ตาเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็ไม่มากเกินไปที่จะทำให้เป็นอันตราย หรือเจ็บป่วยได้
ผ้เชี่ยวชาญท่านนี้ ได้ทบทวนการศึกษาดังกล่าว และบอกว่าเครื่องสำอางค์ที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนผสมเหล่านั้น ถ้าใช้ในส่วนผสมที่ถูกต้อง ก็จะช่วยให้ผู้ใช้ปลอดภัยจากการติดเชื้อที่ดวงตาได้ และแน่นอนว่า นักเคมีชาวอียิปต์โบราณ อาจไม่ทราบว่าเครื่องสำอางค์ของพวกเขานั้น มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ และอาจไม่ทราบว่าเครื่องสำอางค์ที่มีส่วนประกอบของสารตะกั่วนั้น อาจช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ในการต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้
นอกจากนี้ นักวิจัยชาวฝรั่งเศสยังพบว่า เมื่อพวกเขาใช้เครื่องสำอางค์โบราณ กับเซลมนุษย์ที่เพาะขึ้นในห้องทดลอง สารเคมีดังกล่าวผลิตกรดไนตริก ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการส่งสัญญาณกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้เพิ่มมากขึ้นเกือบถึง 4 เท่า
การศึกษาเรื่องนี้ ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Analytical Chemistry