จำนวนพยางค์ต้องมีตามแบบแผนผัง ถ้าหากเป็นพยางค์ลักษณะของลหุอาจจะมีได้มากเกินกว่าที่แผนผังได้กำหนดไว้ก็ได้ แต่จะต้องไม่ยาวจนมีความรู้สึกว่าเยิ่นเย้อจนทําให้อ่านไห้ถูกทํานองและจังหวะไม่ได้
การสัมผัสของบทกลอน คำที่ ๕ วรรคหนึ่ง จะต้องสัมผัสกับคำที่ ๕ วรรคสอง หากเป็นการแต่งเพื่อเข้าลิลิต จะต้องให้คำสุดท้ายของบทสัมผัสกับคำที่ ๑ คำที่ ๒ หรือ คำที่ ๓ ของบทต่อๆ ไปในทุกบท
- บังคับวรรณยุกต์เอกที่ คำที่ ๔ ของวรรคแรก คำที่ ๒ ของวรรคสอง และคำที่ ๑ ของวรรคสาม และสามารถใช้คำตายแทนรูปวรรณยุกต์เอกได้
- บังคับวรรณยุกต์โทที่ คำที่ ๕ ของวรรคหนึ่งและวรรคสอง และคำที่ ๒ ของวรรคสาม และไม่สามารถใช้คำอื่นแทนวรรณยุต์โทนอกจากคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทเท่านั้น
- นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้วรรณยุกต์เอกหรือโท ที่ตำแหน่งอื่นๆ นอกเหนือจากที่บทกลอนบังคับไว้ได้ แต่อย่าให้มากนักเพื่อความไพเราะ
- ห้ามใช้คำตายที่ผันด้วยวรรณยุกต์โท เพื่อใช้ในตำแหน่งวรรณยุกต์โท
- ห้ามใช้ "ห" นำหน้าคำที่เป็นวรรณยุกต์เอก เพื่อให้คำนั้นๆ กลายไปเป็นวรรณยุกต์โท ด้วยประสงค์ที่จะนำไปใช้ในตำแหน่งวรรณยุกต์โท เช่นคำ น่า , เน่า , เล่า , วิ่น , วุ่น ซึ่งเมื่อนำ "ห" มาผันจะเป็น หน้า , เหน้า , เหล้า , หวิ้น , หวุ้น เป็นต้น หรือคำที่ใช้วรรณยุกต์เอกโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้วรรณยุกต์โทเสียงเดียวแทย เช่น พลั่ง เป็น ผลั้ง , พลั่ว เป็น ผลั้ว ฯลฯ เช่นนี้ไม่นิยมใช้ แต่ตามคติโบราณไม่ใคร่จะพิถีพิถันในเรื่องนี้มากนักคําเช่นนี้เรียกว่า "โทโทษ"
- ห้ามใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก แทนคำที่ใช้รูปวรรณยุกต์โทโดยปรกติ เช่นการใช้ ค่อ แทน ข้อ , เค่า แทน เข้า ฯลฯ คำชนิดนี้เรียกว่า" เอกโทษ"
- คำสุดท้ายของบท ห้ามใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์ และเสียงที่นิยมใช้สำหรับลงท้ายบทซึ่งมักจะถือกันว่าไพเราที่สุสําหรับการลงท้ายบทเป็นเสียงสุดท้าย ก็คือเสียงจัตวาที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์
คําตายห้ามนํามาใช้เป็นคำสุดท้ายของบท
สามารถมีคำสร้อย ต่อจากวรรคสาม ตามแผนผัง เพื่อเพิ่มความไพเราะของบทกลอนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น