วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

le cordon bleu


ยินดีต้อนรับสู่ เลอ กอร์ดอง เบลอ
Culinary and Hospitality Programs
       เลอ กอร์ดอง เบลอได้มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่การเปลี่ยนจากโรงเรียนสอนทำอาหารฝรั่งเศส มาเป็นเครือข่ายสถาบันการทำอาหารนานาชาติ แม้ว่าเราจะเติบโตจนประสบความสำเร็จทางด้าน อาหารร่วมสมัย และอุตสาหกรรมโรงแรมแล้วก็ตาม แต่ปรัชญาในการประสบความสำเร็จของเราก็ยังคงเหมือนเดิม
        ในช่วงเวลาน้อยกว่า 9 เดือน เป็นไปได้ที่จะได้รับ Le Grande Diplôme ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยมืออาชีพทางด้านอาหารทั่วโลก ซึ่งเป็นเสมือนใบเบิกทางในระดับสากลที่ทำให้อาชีพในฝันของคุณเป็นจริง ที่เลอ กอร์ดอง เบลอ เราถือว่านักเรียนมีความต้องการการศึกษาขั้นสูง และมีความครอบคลุมเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในโลกที่มีการแข่งขันเช่นทุกวันนี้ และเรายังได้จัดเตรียมเครื่องมือให้แก่นักเรียน ซึ่งไม่เหมือนกับสถาบันการศึกษาอื่น เพื่อที่จะได้นำหน้าโดยใช้เวลาน้อยกว่า
       ในขณะที่จุดมุ่งหมายหลักที่ เลอ กอร์ดอง เบลอ คือการศึกษาขั้นสูง เราก็ยังได้รับความสนใจจากสังคม ด้วยเช่นกัน เพราะพวกเรามีทั้งร้านอาหารชั้นเลิศ รวมถึงร้านเบเกอรี่และร้านกาแฟภายใต้เครื่องหมายการค้าของเลอ กอร์ดอง เบลอ นอกจากนี้ เรายังได้ขยายกิจกรรมต่างๆของพวกเราไปจนถึงสื่อการเรียนประเภทต่างๆ เช่น หนังสือสอนการประกอบอาหาร วีดีโอสาธิตการประกอบอาหาร รายการสอนทำอาหารทางโทรทัศน์ อุปกรณ์การทำอาหาร ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้น บ่อยครั้งที่เลอ กอร์ดอง เบลอ ยังได้รับการเชิญให้เป็นที่ปรึกษาทางด้านอาหารและเข้าร่วมในงานนานาชาติมากกว่า 50 ครั้ง เพื่อแบ่งปันความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารทั่วโลก เรามีหุ้นส่วนและข้อตกลงต่างๆ กับรัฐบาล มหาวิทยาลัย องค์กรทางด้านอาหาร ซึ่งอนุญาติให้พวกเราโปรโมท ศิลปะแห่งการกินอยู่แบบฝรั่งเศสไปทั่วโลก

ประวัติความเป็นมาของเลอ กอร์ดอง เบลอ
La Croix du Saint-Esprit
       ชื่อเลอ กอร์ดอง เบลอ มีความหมายเหมือนกันกับ อาหารชั้นเลิศ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์เฮนรี่ที่ 3 ได้ออกคำสั่งที่สำคัญที่สุดในฝรั่งเสศที่มีชื่อว่า “L’Ordre du Saint-Esprit” สัญลักษณ์ของคำสั่งนี้ถูกแทนด้วยเครื่องหมายกากบาทที่แขวนโบว์สีฟ้าหรือที่เรียกว่า un cordon bleu เนื่องจากคำสั่งอันเป็นเกียรติ์นี้ จึงมีงานเลี้ยงอันยิ่งใหญ่มาคู่กับพิธีมอบรางวัลนี้ ดังนั้นชื่อเลอ กอร์ดอง เบลอจึงกลายเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันโดยทั่วไป
       เลอ กอร์ดอง เบลอ ในฐานะโรงเรียนสอนการประกอบอาหาร ก่อตั้งขึ้นในปี 1895 ที่กรุงปารีสโดยนักหนังสือพิมพ์ชื่อ Marthe Distel และโรงพิมพ์ของนิตยสาร La Cuisinière Cordon Bleu ในวันที่ 14 มกราคม 1896 การสาธิตการประกอบอาหารโดยการใช้เตาไฟฟ้าถูกจัดขึ้นที่เลอ กอร์ดอง เบลอ เพื่อเป็นการโปรโมทแมกกาซีนและเปิดตัวโรงเรียนสอนทำอาหาร นับจากจุดนั้นทำให้ชื่อเสียงของเลอ กอร์ดอง เบลอขยายไปทั่งโลกอย่างรวดเร็ว เชฟเก่งๆมาสอนนักเรียนที่โรงเรียนซึ่งทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงระดับโลก และด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้มีนีกเรียนจากหลายประเทศมาสมัครเรียนรวมถึงบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น Julia Child ซึ่งมาลงทะเบียนเรียนในปี 1950
       ณ ปัจจุบันนี้ เลอกอร์ดอง เบลอ มีโรงเรียนสอนทำอาหารทั้งหมด 29 โรงเรียนใน 5 ทวีป และมีนักเรียนมา สมัครเรียนมากกว่า 20,000 คนในทุกๆปี นักเรียนจะได้เรียนกับหัวหน้าพ่อครัวชาวฝรั่งเศส ซึ่งโดยส่วนมาก มาจากร้านอาหารที่ได้ดาวจาก Michelin หรือเป็นผู้ชนะเลิศจากการแข่งขันและได้รับตำแหน่ง เช่น Meilleur Ouvrir de France เป็นต้น หัวหน้าพ่อครัวเหล่านี้จะมอบความรู้ทางด้านอาหารคลาสสิก ของฝรั่งเศสและเทคนิคการทำอาหารนานาชาติให้แก่นักเรียน

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์




ประวัติไม้ค้ำสะหลี(ไม้ค้ำสรีมหาโพธิ์)

คำว่า”สะหลี” เป็นภาษาพื้นเมืองมาจากคำว่า”ศรี” ประวัติควาเป็นมาขอไม้ค้ำสะหลี หรือ ไม้ค้ำโพธิ์ มีเรืองเล่าว่าสมัยเมื่อ ครูบาปุ๊ด หรือ ครูบาพุทธิมาวังโส เจ้าอาวาสองค์ที่ 14 วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร นั้น ยามเดือนแปดเหนือ (เดือนพฤษภาคม) พ.ศ.๒๓๑๔ ได้เกิดลมพายุใหญ่พัดเอากิ่งไม้สะหลี (ต้นโพธิ์) ภายในวัดหักลงมา รุ่งเช้าครูบาจึงให้พระภิกษุ สามเณร และ เด็กวัดช่วยกันเก็บกวาดกิ่งไม้หักไปไว้นอกวัด ยามนั้นครูบาพุทธิมาวังโส หรือ ครูบาปุ๊ด เจ้าอาวาสให้นึกตกใจกลัวยิ่งนักกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งๆที่สมัย เจ้าอาวาสองค์ก่อนๆมี่เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเลย ครูบาปุ๊ดคิดอย่างนั้นทำให้เครียดหนักขึ้นตกตอนกลางคืน ครูบาปุ๊ดเข้าจำวัด และ ก็เกิดนิมิตขึ้นว่า มีเทวดามาบอกว่าที่เกิดเหตุอาเพศลมพัดกิ่งไม้สะหลีหัก นั้น เป็น เพราะ ครูบาปุ๊ด ไม่ได้ตั้งใจปฎิบัติธรรมโดยเคร่งครัด จวบจนล่วงเวลาได้ ๒ เดือนก็ได้บรรลุธรรม อภิญญาณ สารถย่นย่อแผ่นดินได้ โดยีเร่องเล่าว่า ครูบาปุ๊ดไปบิณฑบาตรที่อำเภอแม่แจ่ม แล้วกลับมา ฉันข้าวทีวัด พระธาตุศรีจอมทองวรวิหารในเช้าววันนั้นเอง (โดยมีพยานหลักฐานเป็นเรืองเล่า มีพ่อค้าวัวต่าง ชาวแม่แจ่ม
สมัยโน้น ได้มาซื้อข้าวของ ค้าขาย แลกเกลือที่อำเภอจอมทอง เพื่อกลับไปขายยังอำเภอแม่แจ่ม ได้พบ
ครูบา ปุ๊ด เดินโผล่ออกมาจากป่า บริเวณบ้านหัวเสือพระบาท (หมู่บ้านเชิงดอยทางทิศตะวันตกของ อำเภอ จอมทองประมาณ ๗ กิโลเมตร) พวกเขาหุงข้าวเสร็จ พอเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งเดินมา จึงนิมนต์รับบิณฑบาต
และ ได้ถามว่า “ท่านไปบิณฑบาตที่ไหนมาในป่าอย่างนี้”     พระท่านได้ตอบว่า “ ไปบิณฑบาตแม่แจ่มมา ”  พ่อค้าวัว “บ้านอะไรหรือครับท่าน”
พระตอบว่า “บ้านสันหนองนะโยม”
พระท่านได้เปิดฝาบาตรเพื่อให้พ่อค้าวัวต่าง ทำบุญใส่บาตร และทันใดนั้นพ่อค้าก็ได้เห็นข้าว ในบาตรพระ เป็นสีดำๆด่างๆ ก็รู้ว่าเป็นข้าวชั้นดี ซึ่งสมัยนั้นมีปลูกกันมากที่แม่แจ่มเท่านั้น ก็เข้าใจว่าคงจะเป็นบ้านเรา กระมัง พ่อค้าได้ถามพระครูบาอีกว่า “ คนลักษณะใดใส่บาตรครูบาขอรับ”
พระท่านก็ตอบว่า “ เป็นผู้หญิงคอออม( ออม หมายถึง พอง ปูด โปนออกมา)
พ่อค้าเอะใจ แต่ก็ไม่ได้พูดว่ากะไร หลังจากซื้อขายข้าวของเสร็จแล้วพ่อค้าก็เดินทางกลับบ้านแม่แจ่ม  ครั้นเมื่อถึงบ้านจึงได้ถามภรรยาว่า”ได้เคยใส่บาตรพระบ้างไหม”
ภรรยาตอบว่า” เคยใส่บาตรพระเดินออกมาจากป่า”
พ่อค้าถาม “แล้วเอาอะไรละ”
ภรรยาตอบว่า “ เอาข้าวกล่ำใส่” (ข้าวหอมชนิดหนึ่งชาวบบ้านนิยมปลูกไว้ ทำขนมไปทำบุญที่วัด)
พ่อค้าถาม “ แล้ววันไหน พระเป็นคนเช่นใดล่ะ”
ภรรยาได้ตอบคำถาม ซึ่งตรงกับเป็นพระองค์เดียวกันกับพระที่พ่อค้าได้ใสบาตรในเช้าวันเดียวกันที่บ้านหัวเสือพระบาท อำเภอจอมทอง จึงได้รู้ว่า พระองค์นี้มีบุญบารมียิ่งนัก
            พอท่านครูบาปุ๊ดได้ธรรมอภิญญาณแล้วก็มีสติปัญญาเกิดขึ้นตามลำดับ จึบได้วางแผนไว้ในใจ ในปีนี้พอถึงวันเข้าพรรษา ชาวบ้านตางมาทำบุญฟังเทศน์ที่วัดมากมาย ท่านจึได้บอกเรื่อถึงเหตุการณ์ที่ไม้สะหล
ีหัก ทีประชุมจึงตกลงไว้ว่า ปีต่อไปประมาณเดือน ๗ (เดือนเมษายน) ให้ชาวบ้านไปตัดง่ามมาชวยกันค้ำกิ่งต้นไม้สะหลีเอาไว้กันลมพัดหักโค่นใน พ.ศ. ๒๓๑๕ นั้นเอง
                        ต่อมาครูบาปุ๊ด และชาวบ้านได้กำหนดให้มีประเพณีการทำบุญแห่ไม้ค้ำโพธิ์ หรือไม้ค้ำนะหลี ทุกปีในเดือน ๗ เหนือ หรือ เดือน เมษายน ซึ่งมีประเพณีดังนี้
                        วันที่ ๑๓ เมษายน        เป็นวันสังขารล่องให้ชำระจิตใจ และ บ้านเรือนให้สะอาด
                        วันที่ ๑๔ เมษายน        เป็นวันเนาว์ หรือ วันเน่า ห้ามพูดคำไม่ดี ไม่เป็นสิริมงคล ถือเป็นวันดา หรือวันเตรียม งานด้วยมีการขนทรายเข้าวัด
                        วันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันพญาวัน เป็นวันยิ่งใหญ่ กว่าวันใดๆมีการทำบุญใหญ่ เป็นวันแห่ไม้ค้ำสะหลี (แห่ไม้ค้ำโพธิ์ ) ซึ่งชาวจอมทองไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนต่างก็จะพากันกลับบ้านมารดน้ำดำหัวบุพพการี และ รวมแห่ไม้ค้ำสะหลีกันอย่างเนืองแน่น ถือเป็นประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์แหงแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่สืบทอดกันมาช้า นานนับสองร้อยกว่าปีมาแล้ว
                        วันที่ ๑๖ เมษายน เป็นวันปากปี ถือเป็นวันเริมศักราชใหม่ของชาวพื้นเมืองเหนือล้านนา
                        ประเพณีแห่ไม้ค้ำสะหลี หรือประเพณีปี๋ใหม่เมือ หรือประเพณีวันสงกรานต์  ถือเป็นวันทำบุญ ครั้งใหญ่ของชาวล้านนาการทำบุญที่วัด และให้บรรดาญาติผู้ใหญ่ตลอดจนถึงบรรพชนที่ลุล่วงลับดับขันธ์ไปนอกจากนี้ ครูบาปุ๊ดยังได้อบรมสั่งสอนให้ชาวบ้าน ถึง กุศโลบายการจัดประเพณีนี้โดยได้อานิสงค์หลายอย่างเช่น
  1. เป็นการค้ำไม้สะหลี(ต้นโพธิ์) ไมให้หักโค่นลงมา
  2. เป็นการสืบชะตาวัด หมู่บ้านปละชาวเองให้เป็นสิริมคลอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
  3. เป็นการค้ำจุนสืบทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ยาวนานตลอด ถึง ๕,000  พระวสา
  4. เป็นรื่นเริงในหน้าแล้งซึ่งอากาศร้อนมากโดยมีพิธีรดน้ำดำหัว พักผ่อนในยามว่างานจากนั้นบรรดาเครือญาติจากที่ต่างๆ จะมารวมตัวพบปะสังสรรค์กัน ถือวาเป็นวันครอบครัวของชาวล้านนาจอมทองอีกด้วย
สำหรับผู้ที่เล่าสืบต่อมา คือ ครูบามหาวัน เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๕ ซึ่งขณะนั้นเป็นสามเณรน้อยอายุ
ประมาณ ๑0 -๑๑ ขวบ อยู่ในเหตุการณ์ด้วยครูบายะ หรือ ครูบาพุทธศาสตร์ สุประดิษฐ์
เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๖ ผู้สร้างกุฎิไม้หลังใหญ่(โฮงหลวง)
ตุ๊พ่อตั๋น สังวโร พระเถระผู้ใหญ่สมัยทานพระครูสุวิทยธรรม เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๗
พ่อหนานศรีทน ยศถามี มัคยนายก วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ยังได้เล่าอีกว่าตอนนั้นนอกจากกิ่งไม้สะหลีได้หักโค่นลงมาแล้ว ยังเกิดเหตุพระธาตุจอมทองได้หายจากผอบทองคำในมณฑปอีกด้วย ซึงต่อมาก็ได้เสด็จกลับมาประดิษฐานยังมณพป หรือ ประสาทชมปูดังเดิม

ตำนานไม้ค้ำสะหลีก็จบแค่ั่นี้ก่อนแล
อาจารย์ เพชร  แสนใจบาล 
๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๙

วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

ตำนานวันสงกรานต์ วันปีใหม่ของชาวไทย



วันสงกรานต์ ปีใหม่ไทย ทำบุญวันขึ้นปีใหม่ไทย ๒๕๕๖ 
สงกรานต์เชียงใหม่ หรือ คนเหนือมักจะเรียกว่า “ปี๋ใหม่เมือง” เป็นประเพณีสำคัญคนล้านนา เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่ จะถือเอาวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ มักจะตรงกับวันที่ 13 หรือ 14 เมษายน
วันสงกรานต์ ปีใหม่ไทย


วัน ที่ 13 เมษายน วันสังขานต์ล่อง
เริ่มจากตอนเช้ามีการ ยิงปืนขับไล่เสนียดจัญไร ให้ล่วงลับไปกับสังขานต์ และในแต่ละบ้านมีการทำความสะอาด ตลอดจนตามถนนและตรอกซอยเข้าบ้าน จากนั้นก็ทำความสะอาดชำระล้างร่างกาย สระเกล้าดำหัวให้สะอาดมีจิตใจผ่องใส หลังจากนั้นไปเที่ยวตามหมู่บ้านหรือในปัจจุบันนิยมไปเที่ยวตามสถานที่ท่อง เที่ยวต่างๆ เรียกว่า “ไปแอ่วปีใหม่” วันนี้มีการเล่นรดน้ำกันแล้ว

วันที่ 14 เมษายน วันเนา หรือวันเน่า
วัน “ขนทราย” หรือ วันเนาว์ วันปู๋ติ วันนี้จะทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นมงคล ไม่ด่่าทอหรือทะเลาะวิวาท ตอนเช้าไปจ่ายของและอาหาร เตรียมทำบุญถวายพระ ในวันรุ่งขึ้น วันเตรียมอาหารและเครื่องไทยทานเรียกว่า“วันดา” (คำวันสุกดิบทางภาคอื่น) และทุกบ้านจะทำกับข้าวที่สามารถเก็บไว้ได้หลายวัน เช่น แกงเส้นร้อน แกงอ่อม ฯลฯ หรือไม่ก็จำพวกห่อนึ่ง เช่น ห่อนึ่งไก่ ห่อนึ่งปลา ฯลฯ พร้อมทั้งตระเตรียมอาหารหวาน และเครื่องไทยทานไว้ให้พร้อม

ตอนบ่าย มีการขนทรายจากแม่น้ำ นำไปไว้ที่วัดใกล้บ้าน โดยก่อเจดีย์ทรายตามลานวัด เจดีย์ทรายจะถูกประดับตกแต่งด้วยตุง (ธง) ทำด้วยกระดาษสีตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม และรูปอื่นๆ ชายธงมีการทานช่อ (ทำด้วยกระดาษสีต่างๆ) ตัดเป็นลวดลายติดปลายไม้สำหรับปักที่กองเจดีย์ทรายการทานธงและทานช่อนี้ ด้วยถือคติว่า ผู้บริจาคทานเมื่อตายไปแล้วจะได้อาศัยชายธง หอบหิ้วให้พ้นจากนรกได้ อานิสงส์การทานตุงหรือช่อนี้มีอยู่ในพระธรรมเทศนาใบลานตามวัดทั่วไป เจดีย์ทรายนี้จะทำพิธีถวายทานในวันรุ่งขึ้น มีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย ในวันเดียวกันนี้มีการเล่นน้ำกันอย่างหนัก และเป็นที่สนุกสนานโดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาว

ทุกๆ ปี เมื่อถึงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ชาวเหนือมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติ คือ “สุมาคารวะ” ลูกหลานจะมาขอขมาลาโทษในความผิดต่างๆ ที่เคยกระทำมาต่อญาติผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อย อันมีต่อผู้ใหญ่ เรียกกันว่า “การไปดำหัว” หรือประเพณีดำหัว การไปดำหัวของคนไทยภาคเหนือ มักจะเริ่มกันใน “วันพญาวัน” (คือวันเถลิงศก)

วันที่ 15 เมษายน วันพญาวัน หรือวันเถลิงศก
ตอนเช้า จัดเตรียมอาหารคาวหวานใส่สำรับไปถวายพระที่วัด และทำบุญตักบาตรและนำไปให้ผู้เฒ่า ผู้แก่ ครูอาจารย์ หรือบุคคลที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่าไปทานขันข้าว (ตานขันข้าว) การทานขันข้าวนี้ นอกจากจะทานให้พระ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือดังกล่าวแล้วก็มีการถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศล ถึงญาติพี่น้อง บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว โดยพระที่วัดจะแยกย้ายกันนั่งประจำที่บริเวณวัดเพื่อให้ศีลให้พร แก่ผู้ไปทานขันข้าว

เสร็จจากการทำบุญตักบาตร ก็มีการถวายทานเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลา มีการสรงน้ำพระพุทธเจดีย์ มีการค้ำต้นโพธิ์ภายในวัดและหมู่บ้าน มีการสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เช่น เชียงใหม่ก็จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป เสตังคมณี (พระแก้วขาว) วัดเชียงมั่น พระเจ้าทองทิพย์ และ พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ พระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง ส่วนตามจังหวัดต่างๆ ก็จะมีการไปสักการะบูชาพระพุทธรูปสำคัญประจำ บ้านเมืองตนเช่นเดียวกัน เช่น ลำปาง ก็ไปสรงน้ำพระแก้วมรกตที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เมืองน่านที่วัดพระธาตุแช่แห้ง และที่แพร่ก็ไปสรงน้ำ ที่พระธาตุช่อแฮเป็นต้น

ตอนบ่าย ก็จะเริ่มการดำหัว และจะทำเรื่อยไปจนถึงวันรุ่งขึ้น หรือวันปากปี
วันที่สี่ เป็นวันปากปี มีการดำหัวตามวัดต่างๆ ที่ใกล้เคียงและห่างไกล ซึ่งมีพระในวัดและในหมู่บ้านนั้นนำไป การไปดำหัวตามวัดนี้มักจะแบ่งแยกกันเป็นสายๆ เพราะบางวัดที่อยู่ห่างไกลก็ไม่ได้ไปกันอย่างทั่วถึงนอกจากวัดที่คนนิยมไป กันอย่างสม่ำเสมอ เรียกตามภาษาเมืองว่า “ไปเติงกั๋น” หรือไปวัดของเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด หรือพระเถระผู้ใหญ่


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก www.songkran.net
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก : 
http://www.mcot9725.com/news/ent_view.php?id=20472
http://variety.horoworld.com/4203_%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

Velvet ants


Velvet ants เป็นสัตว์ในวงศ์ Mutillidae มีลักษณะคล้ายกับมดที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวปกคลุมด้วยขนละเอียดอ่อนเต็มและมีสีเป็นวงรอบลำตัวสองสีหรือมากกว่า วิ่งได้เร็วและสามารถต่อยทำให้ได้รับความเจ็บปวดมาก พิษของมันสามารถทำให้วัวตายได้ ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในทะเลทราย ทางอเมริกาเหนือ 

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

The Immortal Bridge


     The Immortal Bridge เป็นสะพานหินที่ภูเขาไท่ มณฑลซานตง ประเทศจีน ประกอบด้วยก้อนหินก้อนใหญ่หลักๆ 3 ก้อน ข้างล่างนั้นเป็นหุบเหวสูง ภูเขาไท่ถือเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 5 ของจีน 

Greta oto


     The Glasswinged butterfly ( Greta oto ) เป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งแสง มีความยาว 5.5 - 6.1 เซนติเมตร มีสีบางๆรอบขอบปีกของมันอาจมากกว่าหนึ่งสี แต่สีพบมากที่สุดคือสีน้ำตาล โทนสีแดงหรือสีส้ม ในสเปนจะเรียกพวกมันว่า "espejitos" ซึ่งแปลว่า "กระจกเล็ก ๆ " สามารถพบได้ในทวีปแอฟริกาออสเตรเลียและอเมริกาใต้