เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
นิรโทษกรรม คืออะไร ทำไมถึงมีคนจำนวนมากออกมาต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอย มารู้จักว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คืออะไร แบบเต็ม ๆ
กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงที่สุดในชั่วโมงนี้ เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย ที่แปรญัตติให้เป็นการละเว้นโทษให้กับผู้กระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2556
แน่นอนว่า หลังจากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านสภาฯ ในวาระ 3 ก็ได้ปลุกให้คนจำนวนมากออกมาแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วย และนัดชุมนุมกันตามจุดต่าง ๆ เพื่อเดินหน้าต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้ถึงที่สุด เพราะมองว่า กฎหมายฉบับนี้มีการสอดไส้เพื่อล้างผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะคดีตากใบ เมื่อปี 2547 ซึ่งเป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนรัฐประหารปี 2549 แต่จะได้รับการล้างผิดไปด้วย
...พูดถึงคำว่า "นิรโทษกรรม" แล้ว หลายคนอาจสงสัยว่า คำว่า "นิรโทษกรรม" มีความหมายครอบคลุมแค่ไหน?
ในทางกฎหมายจะแบ่งความหมายของ "นิรโทษกรรม" (Amnesty) ไว้ 2 แบบ คือ
หากถอดความหมายจากตัวอักษรดู ก็จะเข้าใจได้ว่า "นิรโทษกรรม" คือ การออกกฎหมายยกเลิกความผิดนั้นให้กับผู้ที่กระทำผิด ทำให้ผู้ที่กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ เพราะถือว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ส่วนผู้ที่รับโทษไปแล้วก็ให้พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด นอกจากนี้ ทางการจะไม่สามารถรื้อคดีต่าง ๆ ที่ได้รับการนิรโทษกรรมไปแล้วกลับมาสืบสวนหาความจริงได้อีกเลย เพราะกฎหมายนิรโทษกรรมที่ออกมาจะทำให้การกระทำนั้น ๆ ไม่เป็นความผิดโดยสมบูรณ์
เท่ากับว่า "นิรโทษกรรม" คือการลบล้างความผิดทุกอย่าง และเป็นยิ่งกว่า "การอภัยโทษ" เพราะการอภัยโทษนั้น ไม่ว่าจะเป็นการยกเว้นโทษให้ทั้งหมด หรือบางส่วน แต่ก็ยังถือว่าผู้นั้นเคยกระทำผิด และเคยต้องคำพิพากษามาก่อน ขณะที่ "นิรโทษกรรม" จะให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยกระทำผิดมาก่อนเลย
นอกจากนี้ กฎหมายนิรโทษกรรม ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ทั้งนี้ ผู้ที่มีอำนาจในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม คือ "รัฐสภา" เพราะถือว่าเป็นการออกกฎหมายย้อนหลัง เพื่อให้คุณแก่ผู้กระทำความผิด และต้องตราขึ้นเป็น "พระราชบัญญัติ" เท่านั้น เว้นแต่กรณีเร่งด่วน รัฐบาลสามารถตราเป็นพระราชกำหนดนิรโทษกรรมขึ้นบังคับได้ โดยต้องผ่านความเห็นชอบของฝ่ายนิติบัญญัติในภายหลัง
...เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม น่าจะมีข้อดี หรือข้อเสียอย่างไรบ้าง ?
หากมองในแง่ดี การนิรโทษกรรม ก็คือการให้อภัยซึ่งกันและกัน เป็นการเปิดทางเพื่อสร้างความสมานฉันท์ให้บ้านเมือง อย่างเช่นหลังสิ้นสุดสงคราม ทางการอาจประกาศนิรโทษกรรมให้พลเมืองที่ร่วมกันก่อกบฏ เพื่อให้คนที่ยังหลบหนีปรากฏตัว และเป็นการกระตุ้นให้เกิดความปรองดองกันระหว่างผู้ละเมิดกับสังคม ซึ่งผู้ที่พ้นความผิดไปแล้วอาจเรียกสิทธิบางอย่างที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ เช่น สิทธิการเลือกตั้ง สิทธิที่จะเข้ารับราชการ
แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง การออกกฎหมายนิรโทษกรรม อาจเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีให้แก่สังคม เพราะอาจทำให้คนที่มีอำนาจไม่เกรงกลัวกฎหมาย หากทำอะไรผิดกฎหมายไป ก็สามารถมาออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กลุ่มของตัวเองภายหลังได้ นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีคนออกมาคัดค้านการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะเกรงว่าผู้ที่เสียหายจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองจะไม่ได้รับความเป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปในอดีต จะเห็นว่าประเทศไทยเคยออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาแล้วถึง 23 ครั้ง นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยใน 23 ครั้งนี้ ออกเป็นพระราชบัญญัติ 19 ฉบับ และพระราชกำหนด 4 ฉบับ ซึ่งมีทั้งการนิรโทษกรรมในความผิดทางก่อกบฏ ก่อรัฐประหาร การชุมนุมทางการเมือง ดังนี้
สำหรับในปี พ.ศ. 2556 นี้ จะมีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เพื่อล้างความผิดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมือง ระหว่างปี 2547-2556 หรือไม่ ก็ต้องจับตาดูกันต่อไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
- คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- kodmhai.com
- ilaw.or.th
CREDIT : http://hilight.kapook.com/view/89598
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น