วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มาร์โค โปโล(Marco Polo)


มาร์โค โปโล(Marco Polo)

                           ในปี ค.ศ. 1271 ชายหนุ่มคนหนึ่งออกจากเวนิส พร้อมกับบิดาและลุง เพื่อเดินทางไปขาย เขาคือ มาร์โค โปโล คณะของเขาเดินทางผ่านเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และภาคเหนือของทิเบต ผ่านประเทศที่ชาวยุโรปไม่รู้จัก   ในที่สุดก็ถึงปักกิ่ง   สู่ราชสำนักกุบไลข่าน และได้ถวายสาส์นจาก องค์สันตะปาปา แด่จักรพรรดิ
                           มาร์โค โปโล   ได้พักอยู่ในฐานะแขกเมือง ในประเทศจีน เขาเดินทางท่องเที่ยวไปทั่ว และได้ไปเยือนประเทศต่างๆ ไกลจนถึงพม่า แล้วก็เดินทางกลับบ้านเกิดโดยเรือ แล่นอ้อมปลายใต้สุดของอินเดียไป แล้วเดินทางทางบก ผ่านเปอร์เซีย เขาได้จากประเทศของเขาไปนานถึง 24 ปี
                         3 ปี ต่อมา มาร์โค โปโลได้ถูกจับเป็นเชลยในการรบทางทะเล ระหว่างเวนิสกับเจนัว เขาได้เล่าเรื่องราว ของเขาให้เพื่อนนักโทษฟัง ซึ่งได้บันทึกไว้เป็นหนังสือชื่อ การเดินทางของ มาร์โค โปโล. 

North America Free Trade Agreement : NAFTA


       
ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือเรียกคำย่อว่า นาฟตา เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจในทวีปอเมริกาเหนือ ในการที่จะร่วมมือกันแสวงหาตลาดส่งออกและลดต้นทุนการผลิตสินค้า เพื่อให้มีราคาถูกลง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

ประวัติการก่อตั้ง
                    หลังจากที่สหภาพยุโรป ได้แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยการเปิดตลาดเสรีเป็นตลาดเดียวแล้ว ผู้นำแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโกได้จัดประชุมกันเมื่อ พ.ศ.2535 ที่จะเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันให้เป็นตลาดเดียว และจะลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน 5 ปี โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
                    1. เพื่อแสวงหาตลาดสินค้าส่งออกในภูมิภาคอื่น
                    2. เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่จะผลิตสินค้าให้ได้ราคาถูกและมีคุณภาพดี
                    3. เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กให้ขยายตัวและมีประสิทธิภาพสูง

ผลการปฏิบัติงาน
                    ประเทศสมาชิกต่างได้รับผลประโยชน์จากการทำข้อตกลงทางการค้าเสรีอเมริกาเหนือ คือ เม็กซิโก ซึ่งก่อนหน้านี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินเปโซตกต่ำมากก็เริ่มแข็งตัวขึ้น ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซากลับฟื้นและดีขึ้นโดยลำดับ ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกาปล่อยสินเชื่อระยะยาว ลดอัตราภาษีนำเข้า และอนุญาตให้รถบรรทุกของเม็กซิโกแล่นผ่านเข้าสู่สหรัฐอเมริกาได้ โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าที่ชายแดน อันเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและเสียเวลา สหรัฐอเมริกา มีสินค้าส่งออกไปเม็กซิโกและแคนาดามากขึ้น ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวขึ้น และทำให้มีตำแหน่งงานเพิ่ม มีการจ้างงานมากขึ้น แคนาดาสามารถซื้อสินค้าของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกถูกลง อันเนื่องมาจากการลดอัตราภาษีศุลกากร

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
                    ไทยไม่ได้เป็นสมาชิกของนาฟตา  แต่การดำเนินการงานของนาฟตามีผลกระทบโดยตรงต่อการค้าของไทย คือ การออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ของประเทศในกลุ่มนาฟตา ทำใหมีการกระทบต่อสินค้าไทย เช่น ประเทศแคนาดาและเม็กซิโก ได้ออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของสินค้ารถยนต์ และผ้าผืนที่ทอจากโรงงานและไม่ได้ตัดเย็บจะส่งเข้าไปยังแคนาดาและเม็กซิโก เป็นการจำกัดและกีดกันสินค้าที่สั่งเข้าจากประเทศไทย ประการหนึ่ง และทำให้ไทยขายสินค้าได้น้อยลง ประเทศเม็กซิโก ขึ้นอัตราภาษีศุลกากร เครื่องหนัง และรองเท้าที่สั่งเข้าจากประเทศนอกกลุ่มนาฟตา ทำให้สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้นไปด้วย จึงส่งออกได้น้อยลง
                    นอกจากนี้ เม็กซิโกซึ่งเป็นสมาชิกของนาฟตา มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไทย มีแรงงานราคาถูก มีวัตถุดิบและผลิตสินค้าได้คล้ายคลึงกับประเทศไทย จึงคาดกันว่าหากเม็กซิโกได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าอื่นๆ จากสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศภาคีสมาชิก เม็กซิโกจะมีบทบาทในการส่งสินค้าเข้าสหรัฐอเมริกาแทนที่ประเทศไทย ประกอบกับเม็กซิโกอยู่ใกล้กับสหรัฐอเมริกา ทำให้การขนส่งสินค้าทำได้รวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าประเภทเสื้อผ้า สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารกระป๋องและชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ซึ่งไทยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาปีละมากๆ

เขตบริหารพิเศษมาเก๊า


เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (อังกฤษMacao Special Administrative Region of the People's Republic of Chinaจีนตัวเต็ม:中華人民共和國澳門特別行政區จีนตัวย่อ中华人民共和国澳门特别行政区 เรียกสั้น ๆ ว่า มาเก๊า ในภาษาอังกฤษเขียนเป็น Macau และ Macao จีน澳門พินอินÀomén,อ้าวเหมิน ; 馬交 ก็เรียก) เป็นพื้นที่บนชายฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ปกครองโดยประเทศโปรตุเกสก่อนพ.ศ. 2542เป็นอาณานิคมของยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 อำนาจอธิปไตยเหนือมาเก๊าได้ย้ายไปที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในพ.ศ. 2542 กลายเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน
มาเก๊าได้มีบทบาทที่มีอิทธิพลต่อจีนและตะวันตกโดยเฉพาะระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ที่อาศัยอยู่ในมาเก๊าส่วนใหญ่พูดภาษากวางตุ้งเป็นภาษาแม่ ภาษาแมนดารินภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษก็มีพูดด้วย โดยกว้าง ๆ ชาวมาเก๊า (Macanese) หมายถึงผู้ที่พำนักอาศัยถาวรอยู่ในมาเก๊า ส่วนในวงแคบ หมายถึง ชนพื้นเมืองในมาเก๊าที่สืบทอดมาจากชาวโปรตุเกส มักจะผสมกับชาวจีนและบรรพบุรุษชาติอื่น ๆ นอกจากสิ่งที่เหลือจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมแล้ว สิ่งดึงดูดใจของมาเก๊าอีกอย่างหนึ่งคือ อุตสาหกรรมการพนันและกาสิโน นักพนันจากฮ่องกงมักจะเดินทางวันเดียวไปมาเก๊า โดยมีบริการเรือโดยสารระหว่างมาเก๊าและฮ่องกงตลอดวันทุกวัน

ประชากร

เชื้อชาติ
ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน 95% ที่เหลือเป็นชาวโปรตุเกส ฟิลิปปิโน อินโดนีเซีย และไทย
ศาสนา
ศาสนาพุทธ 50% ศาสนาคริสต์ 15% ไม่นับถือและอื่นๆ 35%

สถานที่ท่องเที่ยว
  

ไซปรัส



ไซปรัส (อังกฤษCyprusกรีกΚύπροςตุรกีKıbrıs) หรือชื่อทางการคือสาธารณรัฐไซปรัส (อังกฤษRepublic of CyprusกรีกΚυπριακή Δημοκρατίαตุรกี:Kıbrıs Cumhuriyeti) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก อยู่ทางใต้ของประเทศตุรกี 44 ไมล์ อยู่ทางตะวันตกของชายฝั่งประเทศซีเรียประมาณ 64 ไมล์ และห่างจากเกาะโรดส์ และเกาะคาร์ปาทอส ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ 240 ไมล์ ไซปรัสเป็นจุดหมายหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุด โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 2.4 ล้านคนต่อปี
ไซปรัสได้รับเอกราชจากการเป็นอาณานิคมจากสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1960 และเป็นประเทศสมาชิกในเครือจักรภพในปี 1961

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของประเทศไซปรัสมีความหลากหลายและมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดตามประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ประมาณการไว้ว่า จีดีพีต่อหัวของไซปรัสน่าจะอยู่ที่ประมาณ 28,381 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มสหภาพยุโรป
นโยบายสำคัญของรัฐบาลไซปรัส คือ ทำให้ประเทศไซปรัสเป็นฐานสำหรับทำธุรกิจของชาวต่างชาติ และ พยายามผลักดันให้ไซปรัสเข้าเป็นหนึ่งในกลุ่มสหภาพยุโรปให้ได้

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศไซปรัสแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต ได้แก่
Cyprus districts not named.svg
เกี่ยวกับภาพนี้
  1. เขตฟามากัสตา
  2. เขตไคเรเนีย
  3. เขตลาร์นาคา
  4. เขตลิมาสโซล
  5. เขตนิโคเซีย
  6. เขตปาฟอส 



วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเทศตูวาลู

     ตูวาลู (ตูวาลูและอังกฤษTuvalu) หรือเดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะเอลลิซ (อังกฤษ:Ellice Islands) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่อประเทศแปลว่า "แปดยืนยง" (Eight Standing Together) ในภาษาตูวาลู นอกจากนครรัฐวาติกันแล้ว ตูวาลูเป็นประเทศอิสระที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก เนื่องจากมีความสูงต่ำ (สูงสุดคือ 5 เมตร) เกาะที่ประกอบเป็นประเทศนี้ อาจจะเกิดปัญหาถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า ประชากรอาจจะอพยพไปที่ประเทศนิวซีแลนด์หรือเกาะนีอูเอซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เป็นปกครองตนเองแต่ขึ้นกับนิวซีแลนด์ที่ไม่มีปัญหาจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล แต่มีประชากรน้อยลง

ประวัติศาสตร์

ภาพชาวตูวาลู วาดโดย Alfred Agate เมื่อ ค.ศ. 1841
ชาวสเปนเป็นพวกแรกที่เข้ามาพบหมู่เกาะแห่งนี้ ในระหว่างการเดินทางเพื่อค้นหาดินแดนแห่งใหม่ทางตอนใต้ แต่ก็ไม่ให้ความสนใจเท่าใด ต่อมามีชาวอังกฤษเดินเรือเข้ามาพบและได้ตั้งชื่อว่าหมู่เกาะเอลลิซ ตามชื่อของนักการเมืองอังกฤษที่เป็นเจ้าของเรือ ต่อมากลายเป็นชื่อเรียกหมู่เกาะ
ใน พ.ศ. 2435 หมู่เกาะเอลลิซกลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ หลังจากนั้นก็ถูกรวมเข้ากับหมู่เกาะกิลเบิร์ต (ปัจจุบันคือคิริบาส) เป็นอาณานิคมของอังกฤษ กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองหมู่เกาะเอลลิซในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเป็นที่มั่นสำหรับต่อต้านทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองหมู่เกาะกิลเบิร์ต หลังสงครามเกิดความตึงเครียดระหว่างประชากรของหมู่เกาะกิลเบิร์ตกับประชากรของหมู่เกาะเอลลิซ หมู่เกาะเอลลิซจึงได้แยกตัวออกมา และเป็นประเทศเอกราชในเครือจักรภพอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2521

การเมือง

ระบบรัฐสภา ระบบสภาเดี่ยวเรียกว่า House of Assembly ประกอบด้วยสมาชิก 15 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี

การแบ่งเขตการปกครอง

ตูวาลูแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เกาะและหมู่เกาะ มีอยู่ 5 แห่งที่เป็นอะทอลล์หรือเกาะปะการัง (atoll) โดยเขตการปกครองท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเกาะหนึ่งเกาะ ได้แก่
ส่วนเขตการปกครองท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเกาะมากกว่าหนึ่งเกาะ ได้แก่
  • นานูมากา (Nanumaga)
  • นีอูลากีตา (Niulakita)
  • นีอูตาโอ (Niutao)

    ภูมิศาสตร์

    ชายหาดในตูวาลู
    ตูวาลูอยู่ในเขตลมค้า แต่บนขอบของตะวันตกภาคใต้เขต doldrum แปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตร แลกเปลี่ยนเป็นลมจากไตรมาสตะวันออกและเกิดขึ้นบ่อยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในปีที่สุดจากธันวาคม-มีนาคม, ลมระหว่างทิศตะวันตกและทิศเหนือจะเท่ากับหรือเกิน easterlies ในความถี่

    เศรษฐกิจ

    สหประชาชาติจัดให้ตูวาลูอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด เนื่องจากประเทศมีขนาดเล็กทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์ และมีข้อจำกัดในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ตูวาลูยังประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงเพื่อการยังชีพ และสองในสามของการ จ้างงานในประเทศคือการจ้างงานของภาครัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากการให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหราชอาณาจักร ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย และรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ ตูวาลูยังมีรายได้จากกองทุนตูวาลู และการให้เช่าอินเทอร์เน็ตโดเมนเนม .tv

    ประชากร

    ชาวตูวาลูสานไม้
    ประเทศตูวาลูมีประชากร 10,441 คน (พ.ศ. 2548) ประเทศตูวาลูมีประชากรหนาแน่นพอๆกันกับประเทศนาอูรู แต่มีประชากรน้อยกว่าประเทศนาอูรู
    ประเทศตูวาลูจะมี นกกีวี อยู่เป็นจำนวนมาก และมีพืชพันธ์ไม่ป่า เขตร้อนอยู่