ชื่อสามัญ : ข้าวบาร์เลย์ (barley)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hordeum sp. L.
ตระกูล : Poaceae
ข้าวบาร์เลย์เป็นธัญพืชเก่าแก่ของมนุษย์ มีถิ่นกำเนิดในแถบซีเรียและอิรัก ซึ่งเชื่อว่าเป็นบริเวณที่มีการเพาะปลูกเป็นแห่งแรก ชาวกรีกและโรมันโบราณนำข้าวบาร์เลย์มาทำขนมปังและเค้กเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ต่อมาผู้คนหันไปนิยมรสชาติของข้าวสาลีมากกว่าในปัจจุบันข้าวบาร์เลย์ใช้มากในการผลิตมอลท์สำหรับอุตสาหกรรมเบียร์และวิสกี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้าวบาร์เลย์เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ธัญชาติอบกรอบ และขนมอบด้วย
ข้าวบาร์เลย์เป็นพืชในวงศ์เดียวกับไผ่ (ดูไผ่ตง) ตะไคร้ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี และข้าว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชพวกหญ้า อายุหนึ่งปี ลำต้นมักมีขน ข้อตัน และมีปล้องกลวง 5-7 ปล้อง ใบ 5-10 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็น 2 แถว กาบใบเกลี้ยง แผ่นใบรูปใบหอกแกมรูปแถบ เขี้ยวใบซ้อนทับกัน ช่อดอกออกที่ปลายยอด เป็นช่อเชิงลดทรงกระบอก แต่ละ ช่อดอกย่อยมีดอกเพียง 1 ดอก อยู่รวมเป็นกระจุกละ 3 ดอก เรียงสลับเป็น 2 แถว ผลแบบผลธัญพืช มี 20-60 ผลในแต่ละช่อ เมื่อมองด้านหน้าเป็นรูปรี ปลายมีขนและเป็นร่อง
ประวัติการปลูกข้าวบาร์เลย์ในประเทศ
ในอดีตสงครามโลกครั้งที่สอง ข้าวบาร์เลย์ถูกนำมาทดลองปลูกครั้งแรกในประเทศไทยที่สถานีโปร่งน้ำร้อน ตำบลหม่อนปิ่น อำเภอฝาง ซึ่งเป็นสถานีทดลองพืชสวนฝางปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานีทดลองพืชสวนฝางในปัจจุบัน เนื่องจากขาดความรู้ในเชิงหลักการใช้หลักวิชาการในการปลูกและยังไม่รู้จักนิสัยใจคอของข้าวบาร์เลย์ การปลูกจึงต้องหยุดชะงักลง
ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2503 ดร. ครุย บุณยสิงห์ ได้นำข้าวบาร์เลย์ตระกูล IBON ชุดแรกมาทดลองปลูกในเมืองไทย โดยได้มอบเมล็ดชุดนี้แก่ คุณชีวัน ณรงค์ชวนะ สำนักงานไร่ยาสูบจังหวัดชียงราย ในระยะเริ่มแรก ข้าวบาร์เลย์เจริญเติบโตมีแนวโน้มว่าจะปลูกขึ้นได้ดีอาจจะเป็นเพราะอากาศในปีนั้นหนาวเย็นพอเพียงแก่ความต้องการของข้าวบาร์เลย์ ความอุดมสมบูรณ์สู.และอาจปลูกในระยะเวลาที่เหมาะสม แต่ต่อมาข้าวบาร์เลย์ชุดเดียวกันกลับให้ผลผลิตลดลง จึงทำให้การศึกษาข้าวบาร์เลย์หยุดชะงักอีกครั้งหนึ่ง
สันนิฐานว่าข้าวบาร์เลย์ยังไม่มีการปรับตัว หรือมีการปรับตัวค่อนข้างแคบ (narrow rang adaptability) และไว(sensitive) ต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินที่เป็นกรดซึ่งเป็นสาเหตุให้การทดลองข้าวบาร์เลย์หยุดชะงักอีกครั้งหนึ่ง เพระข้าวบาร์เลย์เป็นข้าวที่ปลูกค่อนข้าวยากถ้าเปรียบเทียบกับธัญพืชทุกชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่นน ข้าวสาลีอยู่ในตระกูลใกล้เคียงกัน และต่อมาในปี พ.ศ.2515-2516 ข้าวบาร์เลย์ถูกนำมาทดลองปลูกอีกครั้งหนึ่งที่สถานีทดลองพืชสวนฝาง กรมวิชาการ แต่ปรากฏว่าปลูกล่า ถูกโรคทำลายและไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
ในปี พ.ศ. 2527 MrRichard S. Mann Project manager ของโครงการ UNPDAC ได้เดินทางไปสถาบันวิจัยข้าวโพดและข้าวสาลีที่ (CIMMYT) ประเทศเม็กซิโก และได้นำเอาข้าวบาร์เลย์ IBON ชุดที่ 2 จำนวน สันพันธุ์ (Lines) สายพันธุ์ดีจากยุโรป จำนวน 4 สายพันธุ์ คือ Lara, Ketch, Klages, Clipper นำไปทดลองที่สถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน โดยจัดเข้าร่วมกับข้าวบาร์เลย์ชุด IBON รวมทั้งหมดเป็นจำนวน 158 สายพันธุ์ ทำการทดลองในปีแรกส่งเมล็ดไปให้บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด จำนวนพันธุ์ ละ 50 กรัม คัดสายพันธุ์ได้ 41 สายพันธุ์ จึงทำการทดลองต่อและส่งตัวอย่างต่อไป
โดยส่งผลผลิตของแต่ละสายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 500 กรัม ไปทดสอบคุณภาพ มอลต์ที่ Wiehenstaphan Brwing Technical University มิวนิคประเทศเยอรมันตะวันตก ผลการทดสอบปรากฏว่าคงเหลือสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและดีเลิศจำนวน 12 พันธุ์ ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์มอลต์ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เป็นผู้เสียสละออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งสิ้น
สำหรับพันธุ์ที่กรมวิชาการรวบรวมจำนวน 4 พันธุ์ ก็ได้นำไปทดสอบที่ดอยอ่างขาง สถานีหลวงอ่างขางปัจจุบัน ได้ทำการทดลองศึกษาพันธุ์ในปี 2517 แต่ถูกวัวกินหมดไม่สามารถวัดผลได้ แต่จากการวัดผลที่ดอยช่างเคี่ยน พันธุ์ที่รวบรวมและนำมาจากทวีปยุโรปส่วนใหญ่เป็นพันธุ์สองแถวมีการปรับตัวไม่ดี จึงทำให้ผลผลิตต่ำกว่าชุด IBON จึงถูกตัดออกจากการทดลอง
เมล็ดพันธุ์ทั้ง 12 พันธุ์ ที่ได้ผลผลิตและคุณภาพเป็นที่พอใจแก่ทางบริษัทบุญรอดบริวเวอรรี่ จำกัด จึงได้มอบเมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งให้แก่บริษัทเพื่อทำการศึกษาและขยายพันธุ์ต่อไป โดยนำพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ทั้งหมดไปทดลองที่ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2518
จะเห็นได้ว่าบาร์เลย์ถูกนำมาทดสอบได้ 3-4 ปี โดยปลูกครั้งแรกที่สูง (high altitude) ที่สถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน สู.จากระดับน้ำระทะเลประมาณ 1,100 เมตร ที่ตำบลโป่งแยง สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร ปรากฏว่าบาร์เลย์ชุดเดียวกันนี้ยังให้ผลผลิตสม่ำเสมอ (Starbility) แผนกค้นคว้าและวิจัยของบริษัทบูญรอดบริวเวอรี่ จำกัด จึงตัดสินใจครั้งสุดท้ายที่จะนำเอาข้าวบาร์เลย์ไปปลูกพื้นที่ราบ โดยนำไปปลูกในไร่ของบริษัทที่บ้านป่าสัน ตำบลท่าก้อ อำเภอแม่สลวย จังหวัดเชียงราย
การปลูกระยะแรกขาดแคลนน้ำเพราะสภาพพื้นที่ราบการระเหยของน้ำสูง ข้าวบาร์เลย์ก็สามารถยืนหยัดอยู่ได้แต่ผลผลิตค่อนข้างต่ำ จึงได้ปรับปรุงระบบการจัดส่งน้ำ และศึกษาการใช้น้ำ ในระยะต่อมาศึกษาวิธีการปลูก (cultivation) อย่างใกล้ชิด ปรากฏว่าข้าวบาร์เลย์ทั้งหมด 12 พันธุ์ เหลือที่อยู่รอดและให้ผลผลิตสูงในเกณฑ์ที่ใช้ได้ และมีคุณภาพดีในการทำมอลต์ จำนวนเพียง 5 พันธุ์
ในปี 2524 กรมวิชาการเกษตรได้พิจารณาพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ที่สถาบันวิจัยข้าวได้ทำการทดสอบพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ควบคู่กับแผนกวิจัยและค้นคว้าบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ปรากฏว่าข้าวบาร์เลย์จำนวน 2 พันธุ์ มีแนวโน้วที่จะทำการส่งเสริมได้ จึงได้รับรองพันธุ์ทั้งสองเป็นพันธุ์รับรองกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีประวัติสายพันธุ์ดังต่อไปนี้
1.พันธุ์สะเมิง เลขประจำสายพันธุ์ IBON-42 สายพันธุ์ประวัติ Apam Dwarf 82-71 A-3B-1Y-1B-OY เมล็ดได้ขนาดมาตรฐานอ้วนเต่ง (plump seed) น้ำหนักเม็ด (test weight) สูง คุณภาพมอลต์ดีอายุจากวันหยอดถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 95-105 วัน
2. พันธุ์สะเมิง 2 เลขประจำสายพันธุ์ IBON-42 สายพันธุ์ประวัติ Tequila “S” CMB 72-189-25Y-1B-OY เมล็ดได้ขนาดมาตรฐานอ้วนเต่ง น้ำหนักเมล็ด (test weight) สูง อยู่ในขั้นมาตรฐานคุณภาพมอลต์ดี อายุจากวันหยอดถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 98-110 วัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น