วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วันไปรษณีย์โลก



ขึ้นในปี 1874ที่เมืองสวิตส์,เบิร์น และได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันไปรษณีย์โลก โดยมติที่ประชุมองค์การไปรษณีย์สากลของโตเกียวประเทศญี่ปุ่นในปี 1969 นับแต่นั้นมาประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันนี้ของทุกปี ที่ทำการไปรษณีย์ในหลาย ๆ ประเทศใช้เป็นวันแนะนำสินค้าและบริการใหม่ๆ ของไปรษณีย์ และมีการจัดทำไปรษณีย์ยากรชุดพิเศษขึ้นมาเพื่อจัดจำหน่ายโดยมีระยะสิ้นสุดในวันที่ 9 ตุลาคม จะมีการส่งสารวันไปรษณีย์โลก จาก ผู้อำนวยการขององค์การไปรษณีย์สากลไปยังที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วโลก เพื่ออ่านคำเฉลิมฉลองผ่านสื่อไปทั่วโลก การติดต่อสื่อสารของคนไทยในสมัยโบราณเมื่อก่อนมีการไปรษณีย์ ก็ใช้วิธีการสื่อสารในระบบ "ม้าใช้" หรือ "คนเร็ว" เช่นเดียวกับที่ทั่วโลกได้นิยมใช้กัน กล่าวคือ ใช้คนเดินข่าวเดินทางนำข่าวไปด้วยเท้า หรือใช้ม้า เรือ แพเป็นพาหนะ
สำหรับกำเนิดของการไปรษณีย์ในประเทศไทย นั้นย่อมกล่าว ได้ว่าได้รับอิทธิพลจากการที่กงสุลอังกฤษได้นำเอาระบบการติดต่อสื่อสาร ทางไปรษณีย์มาใช้ติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับ สิงคโปร์ กล่าวคือ ในราวปี พ.ศ. 2410 ปลายรัชสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้มีการติดต่อค้าขายและสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศมากขึ้น มีสถานกงสุลต่างประเทศเข้ามาตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ หลายแห่ง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับชาวต่างประเทศในเรื่องธุรกิจการค้า การศาสนามีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นกว่ากาลก่อน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องติดต่อส่งข่าวไปมากับต่างประเทศมากขึ้น กงสุลอังกฤษเห็นความจำเป็นดังกล่าวนี้ จึงได้จัดการเปิดรับบรรดาจดหมายเพื่อส่งไปมาติดต่อกับต่างประเทศขึ้น โดยใช้สถานที่ตึกยามท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหลังกงสุลอังกฤษเปิด ทำการ โดยใช้ตราไปรษณียากรของสหพันธรัฐมลายาและอินเดีย ซึ่งพิมพ์อักษร "B" ประทับลงบนดวงตราไปรษณียากรนั้น ๆ แทนคำว่า "Bangkok" จำหน่ายแก่ผู้ต้องการส่งจดหมายไปต่างประเทศ แล้วส่งจดหมายเหล่านั้นไปประทับตราวันที่ที่สิงคโปร์ โดยฝากไปกับเรือค้าขายภายใต้ร่มธงอังกฤษ เพื่อให้ที่ทำการไปรษณีย์สิงคโปร์จัดส่งจดหมายนั้นไปปลายทาง (การรับ-ส่งจดหมายของกงสุลนี้ได้มีมาช้านานจนกระทั่ง พ.ศ. 2425 จึงได้เลิกไป) การเริ่มงานไปรษณีย์ติดต่อต่างประเทศโดยกงสุลอังกฤษเป็นผู้จัดการนี้คงจะยังความสนใจให้บังเกิดขึ้นแก่ประชาชนชาวไทยหาน้อยไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่ดังจะเห็นได้จาก การสื่อสารในรูปการไปรษณีย์ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2418 -2419 ภายในพระบรมมหาราชวังและเขตพระนครชั้นใน

ในปีพ.ศ.2418 มีพระบรมวงศานุวงศ์ประกอบด้วยเจ้านายรวม11 พระองค์ ภายใต้การนำของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงร่วมกันออกหนังสือพิมพ์รายวันขึ้นฉบับหนึ่ง มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Court" และภาษาไทยว่า "ข่าวราชการ" เป็นหนังสือแจ้งข่าว ความเคลื่อนไหวเกี่ยวด้วยข้อราชการและความเป็นไปภายในพระราชสำนัก ซึ่งได้พิมพ์ออกเป็นฉบับแรกเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2418 ความมุ่งหมายใน การจัดพิมพ์หนังสือนี้ขึ้นแต่เดิม พระบรมวงศานุวงศ์กลุ่มนี้ได้ตั้งพระหฤทัยที่จะผลัดเวรกันทรงนิพนธ์เรื่องที่สำหรับจะทูลเกล้าฯ ถวาย และบอกกันใน หมู่เจ้านาย
ครั้นเมื่อหนังสือพิมพ์ข่าวราชการปรากฎขึ้นไม่ช้าก็มีผู้สนใจต้องการพากันมาทูลขอมากขึ้น ต้องพิมพ์เป็นจำนวนมากฉบับกว่าที่ทรงคาดหมายไว้แต่เดิมหลายเท่าจึงจำต้องคิดราคาพอคุ้มทุนที่ลงไปส่วนการจำหน่ายนั้น ชั้นเดิมผู้ต้องการต้องไปรับหนังสือที่สำนักงาน ณ หอนิเพทพิทยาคม ในพระบรมมหาราชวังทุกวัน ต่อมาการไปรับหนังสือไม่พร้อมกันต้องเก็บหนังสือรอค้างไว้จ่ายเป็นจำนวนมาก จึงเป็นความจำเป็นอันหนึ่งที่ทำให้การไปรษณีย์เกิดขึ้น ผู้ทรงเป็นต้นคิดในการนี้ คือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระองค์ทรงโปรดให้มีบุรุษเดินหนังสือข่าวราชการส่งให้แก่สมาชิกขึ้นเรียกว่า "โปสตแมน" และเนื่องในการส่งหนังสือนี้จึงทรงโปรดให้มีตั๋ว "แสตมป์" ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยสำหรับใช้เป็นค่าเดินส่งหนังสือแล้วเลยทรงอนุญาตให้สมาชิกผู้รับหนังสือข่าวราชการ ซื้อตั๋วแสตมป์นั้นไปปิดจดหมายของตนในเมื่อต้องการให้บุรุษผู้เดินส่งหนังสือข่าวราชการนี้ช่วยเดินจดหมายให้ หนังสือข่าวราชการนี้ได้ออกมาชั่วระยะเวลาหนึ่งและได้หยุดเลิกไปเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2419 จึงเป็นเหตุให้การส่งหนังสือและจดหมายถึงกันโดยทางไปรษณีย์พิเศษที่ได้จัดทำขึ้นในครั้งนั้นต้องเลิกไปด้วย 
ที่ทำการไปรษณีย์ สมัยรัชกาลที่ 5 , ภาพบุรุษไปรษณีย์ กับ ตู้ไปรษณีย์สมัยก่อน มีหลักฐานปรากฎในจดหมายเหตุของหลวงว่าประมาณกลางปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช (ข้าราชการสำนักในต้นรัชกาลที่ 5) ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงพระราชดำริจัดตั้ง
การไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย 
บุรุษไปรษณีย์ใน พ.ศ. 2435 , และ บุรุษไปรษณีย์ส่งจดหมายถึงชาวบ้าน เรื่องการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามที่เจ้าหมื่นเสมอใจราช ได้นำความกราบบังคมทูลคงจะต้องด้วยพระราชดำริของพระองค์ท่านแต่ทรงเห็นว่าเป็นงานใหญ่ ต้องใช้ทุนรอนมาก หากพลาดพลั้งไปจะเสียหายได้ ควรที่จะได้ศึกษาดูประเทศใกล้เคียงเพื่อเป็นประสบการณ์และแนวทางก่อน จึงโปรดฯ ให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชเดินทางไปศึกษาดูงานการไปรษณีย์ที่ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นซึ่งก็ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีและทรงมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงสนพระทัยและทรงเข้าใจเรื่องการไปรษณีย์ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงออกหนังสือข่าวราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ เป็น ผู้นำในการจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช 1243 (ตรงกับวันที่ 2 กรกฏาคม 2424) โดยร่วมมือกับ เจ้าหมื่นเสมอใจราช การดำเนินการเพื่อจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทยได้ดำเนินต่อ มาโดยได้มีชาวต่างประเทศช่วยเหลือดำเนินการด้วยที่สำคัญคือ นายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ จนกระทั่งในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2426 สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงมีหนังสือลงวันพฤหัสบดีแรม 14 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม เบญจศก 1245 กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงทราบว่า การเตรียมการต่าง ๆ เกือบจะเรียบร้อยแล้ว เห็นควรที่จะประกาศเปิดการไปรษณีย์ขึ้นในกรุงเทพฯ ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ปีมะแม เบญจศก 1245 (ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ) และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีกฎหมายแผ่นดินสำหรับการไปรษณีย์ขึ้นไว้เป็นหลักฐานตามความเห็นชอบของนายอาลาบาสเตอร์ ซึ่งเสนอหลักการไว้และหลังจาก ทรงพระราชวินิจฉัยแล้วให้ใช้บังคับได้ จึงนับว่าเป็นกฎหมาย ไปรษณีย์ฉบับแรกของไทย อย่างไรก็ตามในระยะเวลาใกล้เคียงกันสถานกงสุลอังกฤษซึ่งได้เปิดดำเนินการรับส่งจดหมายระหว่างกรุงเทพฯ กับ สิงคโปร์มาตั้งแต่ตอนปลายรัชกาลที่ 4 ได้มีหนังสือถึงรัฐบาลไทยลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 อ้างว่าข้าหลวงใหญ่ที่สิงคโปร์ ให้สอบถามรัฐบาลไทยเรื่องรัฐบาลสิงคโปร์ มลายู (Straits Settlement) ขอจัดตั้งไปรษณีย์สาขาของอังกฤษขึ้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งขอมีอำนาจสิทธิขาดในการจำหน่ายตราไปรษณียากร และ รับฝากจดหมายติดต่อกับต่างประเทศทั้งหมด โดยนายนิวแมน (Newman) รักษาการแทนกงสุลอังกฤษในขณะนั้นอ้างว่า นายปัลเดรฟ กงสุลอังกฤษได้พูดกับรัฐบาลไทยหลายครั้งแล้ว แต่ทางรัฐบาลไทยได้มีหนังสือ ลงวันจันทร์แรม 11 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม เบญจศก 1245 (ตรงกับวันที่ 30 กรกฎาคม 2426) ตอบกงสุลอังกฤษไปว่าไม่เคยเจรจากับ นายปัลเดรฟ เกี่ยวกับเรื่องนี้แต่อย่างใดและไม่อนุญาตให้รัฐบาลสิงคโปร์ มลายู จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์สาขา เพราะรัฐบาลไทยกำลังจะเปิดการไปรษณีย์ขึ้นเร็ว ๆ นี้ เมื่อเปิดดำเนินการแล้ว จะได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพสากลไปรษณีย์ด้วย 
เมื่อการตระเตรียมวางระเบียบแบบแผนจนสำเร็จเรียบร้อย พร้อมที่จะเปิดใช้การได้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้น ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2426 เป็นปฐม มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือปากคลองโอ่งอ่าง และในวันเดียวกันนี้เอง (ซึ่งตรงกับวันเสาร์เดือนเก้าขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมะแม เบญจศก 1245) ก็ได้มีประกาศเปิดการไปรษณีย์ทดลองในกรุงเทพฯโดยกำหนดให้มีบริการไปรษณีย์ภายในอาณาเขต ดังนี้คือ 1.ด้านเหนือ ถึง สามเสน 2.ด้านตะวันออก ถึง สระประทุม 3.ด้านใต้ ถึง บางคอแหลม 4.ด้านตะวันตก ถึง ตลาดพลู การเปิดบริการไปรษณีย์ในเขตกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ปรากฎว่า เมื่อดำเนินการมาได้เดือนเศษ ปรากฎว่ามีผู้ใช้บริการมาก ได้ยังความชื่นชม สมพระราชหฤทัยมาก ดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัส ซึ่งทรงพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย ข้าทูลละออง ธุลีพระบาท ราชทูตอเมริกันและท่านเอเย่นต์กอมิสแซและกงสุลต่างประเทศ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา เมื่อวัน ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2426 มีความตอนหนึ่งว่า 
" การไปรษณีย์ซึ่งได้เปิดใช้โดยส่งหนังสือในแขวงจังหวัดกรุงเทพฯ เสมอนั้น ก็เป็นที่แปลกใจของเราที่ไม่คิดว่าคนไทยจะใช้หนังสือกันถึงเพียงนี้ ทำให้เรามีความประสงค์ที่จะจัดการให้ได้ส่งหนังสือไปมาให้ได้ตลอดพระราชอาณาจักรสยามได้โดยเร็ว จะเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลทางราชการมาก แล้วภายหลังเราหวังใจว่าคงจะทำตามคำเชิญของท่านผู้จัดการไปรษณีย์ใหญ่ในกรุงเยอรมนี ให้กรุงสยามเข้าจัดการส่งหนังสือไปมาได้ทั่วโลก คือเข้าในหมู่พวกการไปรษณีย์อันรวมกัน " ขอบคุณที่มา : องค์การไปรษณย์สากล (UPU)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น