วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตำนานดวงดาว


นานมาแล้ว..สมัยที่โลกยังมีพระจันทร์ 2 ดวง 
มีพระจันทร์ดวงหนึ่งเป็นผู้หญิงกับอีกดวงหนึ่งเป็นผู้ชาย 
และพระจันทร์สองดวงนี้ต่างก็รักกันมาก ดวงจันทร์ทั้ง 2 ไม่เคยแยกห่างจากกัน 
ทุก ๆ คืนเมื่อมองไปบนฟ้า จะเห็นดวงจันทร์ทั้งคู่อยู่เคียงข้างกันเสมอ 

แต่แล้ววันหนึ่งดวงจันทร์ผู้หญิงได้ไปพบกับดวงอาทิตย์ 
ทำให้ดวงจันทร์หลงใหลในแสงเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ 
จนเลื่อนตัวตามดวงอาทิตย์ไป ทีละน้อย ๆ 
จนแยกมาจากดวงจันทร์อีกดวงหนึ่งในที่สุด 

เมื่อค่ำคืนมาถึงจึงมีดวงจันทร์ผู้ชายเหลืออยู่เพียงดวงเดียว 
ดวงจันทร์ดวงนั้นจึงได้แต่ตามหาดวงจันทร์ผู้หญิงไปทุกหนทุกแห่ง 
คืนแล้วคืนเล่าผ่านไปดวงจันทร์ผู้ชายก็ไม่สามารถหาดวงจันทร์ผู้หญิงได้พบ 
ด้วยความคิดถึงและอยากพบให้เร็วที่สุด ทำให้ดวงจันทร์ผู้ชายคิดว่า 
“หากเรามัวแต่ตามหาอยู่อย่างนี้คงไม่ได้เจอแน่ๆ” 
จึงตัดสินใจ…..ระเบิดตัวเองเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไปทั่วทั้งจักรวาล 
เพื่อให้ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นออกตามหาดวงจันทร์อีกดวงหนึ่งนั้น 
…………............................. 

เมื่อเวลาผ่านไปทำให้ดวงจันทร์ผู้หญิงได้เห็นถึงความจริงว่า 
แม้ดวงอาทิตย์จะส่องแสงเจิดจ้าสวยงามสักปานใด 
แต่ดวงอาทิตย์ก็มิได้ส่องแสงเจิดจ้านั้นแต่เพียงตนเท่านั้น 
ยังส่องแสงไปยังดวงอื่น ๆ อีกมากมาย 
ดวงจันทร์จึงกลับมาหาดวงจันทร์ผู้ชายอีกครั้ง… 
แต่หาเท่าไหร่ก็หาดวงจันทร์ผู้ชายไม่พบ 
ต่อมาจึงได้รู้ว่า… 

ดวงจันทร์ผู้ชายยอมระเบิดตัวเองเพียงเพื่อตามหาตนจนกระจัดกระจายเป็นเศษเสี้ยว 
เล็กๆ 
ทำให้ดวงจันทร์ผู้หญิงรู้ว่าไม่มีวันที่จะได้เจอกับดวงดาวผู้ชายอีกต่อไปแล้ว 
จึงได้แต่โศกเศร้าเสียใจ 

แต่ด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ดวงจันทร์ผู้ชายมีต่อดวงจันทร์ผู้หญิง… 
ทุกค่ำคืนจึงพยายามเปล่งประกายแสงที่ยังเหลืออยู่เพียงน้อยนิดของตนส่องให้ถึง 
ดวงจันทร์ผู้หญิง 
เกิดเป็นแสงพร่างพรายเต็มท้องฟ้าเคียงข้างดวงจันทร์ 
จนเกิดเป็นดวงจันทร์และดวงดาวให้เราเห็นจนถึงทุกวันนี้ 

สังเกตมั้ยว่า…… 
คืนใดที่ดวงจันทร์เต็มดวงจรัสแสงประกายเจิดจ้ามากที่สุด 
คืนนั้นท้องฟ้าไร้ดวงดาว 
แต่หากคืนใดที่เมฆน้อยบดบังดวงจันทร์ไปหมดสิ้น 
ค่ำคืนนั้นเรากลับได้เห็นดวงดาวทอแสงเต็มท้องฟ้า

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Danse Macabre :ระบำแห่งความตาย

 ระบำมรณะ (ภาษาอังกฤษ: Dance of Death; ภาษาฝรั่งเศส: Danse Macabre; ภาษาเยอรมัน: Totentanz) เป็นอุปมานิทัศน์จากยุคกลางที่เป็นการเตือนว่าความตายเป็นสิ่งที่ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และ “ระบำมรณะ” เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน
                                     
“ระบำมรณะ” ประกอบด้วยความตายที่อุปมาเป็นบุคคลที่นำแถวผู้เต้นรำไปยังที่ฝังศพ ผู้ที่เต้นรำก็จะมาจากชนทุกระดับชั้นที่มักจะประกอบด้วยพระจักรพรรดิ, พระเจ้าแผ่นดิน, เด็กหนุ่ม และหญิงสาว ทั้งหมดมักจะอยู่ในรูปของโครงกระดูกหรือกึ่งเน่าเปื่อย การสร้างงาน “ระบำมรณะ” ก็เพื่อเป็นการเตือนว่าชีวิตเป็นของไม่แน่นอนและความมีเกียรติมีศักดิ์เป็นเพียงของนอกกาย ที่มาของ “ระบำมรณะ” มาจากภาพประกอบหนังสือเทศน์ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดที่พบมาจากสุสานในปารีสในปี ค.ศ. 1424


งานศิลปะที่เก่าที่สุดของ “ระบำมรณะ” เป็นงานจิตรกรรมในสุสานของวัดโฮลีอินโนเซนต์ส์ในปารีสจาก ค.ศ. 1424 นอกจากนั้นก็ยังมีงานของ
 คอนราด วิตซ์ (Konrad Witz) ที่บาเซลจาก ค.ศ. 1440; เบิร์นท โนตเค (Bernt Notke) ที่ลือเบ็คจาก ค.ศ. 1463; และงานแกะไม้ออกแบบโดยฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก) และแกะโดยฮันส์ ลึทเซลเบอร์เกอร์ (Hans Lützelburger) จาก ค.ศ. 1538





จิตรกรรม

ความสยดสยองต่างๆ ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14—จากความอดอยากที่เกิดขึ้นหลายครั้ง; สงครามร้อยปีในประเทศฝรั่งเศส; และที่สำคัญที่สุดก็คือกาฬโรคระบาดในยุโรป—เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อวัฒนธรรมทั่วไปในยุโรป บรรยากาศของความตายอันทรมานที่เห็นอยู่โดยทั่วไปที่อาจจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้หรือเมื่อใดก็ได้ ทำให้ผู้คนหันไปหาศาสนาเพราะความรู้สึกว่าตนเองมีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะมีความสนุกขณะที่ยังมีโอกาส “ระบำมรณะ” รวมทั้งสองความต้องการที่คล้ายคลึงกับละครปริศนา (mystery plays) ของยุคกลาง อุปมานิทัศน์ ของ “ระบำมรณะ” ในสมัยแรกเป็นบทสั่งสอนเพื่อเตือนถึงความตายที่จะมาถึงเมื่อใดก็ได้ และเป็นการเตือนให้มีความเตรียมพร้อมตลอดเวลา
ตัวอย่างแรกที่สุดของละครที่เป็นบทพูดสั้นๆ ระหว่าง “ความตาย” และผู้ที่กำลังจะตายแต่ละคนพบหลังจากกาฬโรคระบาดในประเทศเยอรมนี (ที่เรียกกันว่า “Totentanz” และในประเทศสเปนที่เรียกกันว่า “la Danza de la Muerte”) ในฝรั่งเศสคำว่า “danse macabre” คงมาจากภาษาละติน “Chorea Machabæorum” ซึ่งแปลตรงๆ ว่า “การเต้นรำมัคคาบีส” 2 มัคคาบีสจากเฉลยธรรมบัญญัติ (Deuteronomy) หนึ่งในหนังสือจากคัมภีร์ไบเบิล ที่บรรยายถึงแม่ผู้พลีชีพกับลูกเจ็ดคน ซึ่งเป็นหัวข้อที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในยุคกลาง และอาจจะเป็นไปได้ว่าการพลีชีพมัคคาบีสฉลองกันในบทละครฝรั่งเศสสมัยต้นที่เป็นบทระหว่างความตายและเหยื่อของความตาย ทั้งบทละครและภาพเขียนที่วิวัฒนาการขึ้นมาใช้เป็นบทสั่งสอนสำหรับผู้คนจำนวนมากในสมัยนั้นที่ไม่มีการศึกษาและอ่านหนังสือไม่ออก
นอกจากนั้น “ระบำมรณะ” ก็ยังพบใน จิตรกรรมฝาผนัง ที่เกี่ยวกับความตายก็เป็นศิลปะที่แพร่หลาย เช่นตำนานเรื่องชายสามคนที่ยังมีชีวิตอยู่พบชายสามคนที่ตายไปแล้ว เรื่องของเรื่องคือชายสามคนขี่ม้าไป ระหว่างทางก็พบโครงกระดูกสามโครงของบรรพบุรุษผู้ที่เตือนว่า “Quod fuimus, estis; quod sumus, vos eritis” (เราเคยเป็น, เจ้าเป็น; เราเป็น, เจ้าจะเป็น) ภาพนี้จากคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมายังคงเหลืออยู่หลายแห่งเช่นที่วัดของโรงพยาบาลที่วิสมาร์
จิตรกรรม “ระบำมรณะ” มักจะเป็นภาพการร่ายรำเป็นวงที่นำด้วย “ความตาย” ผู้ร่วมก็มีตั้งแต่ผู้มียศศักดิ์สูงที่สุดในยุคกลางที่อาจจะเป็นพระสันตะปาปา และพระจักรพรรดิ) ไปจนถึงชนชั้นต่ำทีสุดที่อาจจะเป็นขอทาน, ชาวบ้าน หรือเด็ก มือแต่ละมือของผู้ที่มีชีวิตอยู่ก็ถูกกุมโดยมือกระดูกหรือมือที่เน่าเปื่อย ภาพ “ระบำมรณะ” ที่มีชื่อเสียงที่สุดที่ลือเบ็คในวัดมาเรียน (ถูกทำลายระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง) แสดงภาพ“ความตาย” ที่ดูเหมือนจะเต้นรำออกมานอกภาพได้ ขณะที่ผู้ร่วมเต้นรำดูเงอะงะและซึมเซื่อง ความแตกต่างของวรรณะถูกทำให้ละลายหายไปเพราะความตาย เช่น “ระบำมรณะ” ของเม็ตซินที่พระสันตะปาปาสวมมงกุฏที่ถูกนำไปสู่นรกโดย “ความตาย”
โดยทั่วไปแล้วเหยื่อแต่ละคนก็จะมีบทพูดสั้นๆ เมื่อ “ความตาย” เรียกตัวและเมื่อผู้ถูกเรียกครวญครางถึงความตายที่จะมาถึง ในหนังสือ “ระบำมรณะ” ที่พิมพ์ครั้งแรก (ไม่ทราบนาม: Vierzeiliger oberdeutscher Totentanz, Heidelberger Blockbuch, ราว ค.ศ. 1460), “ความตาย” กล่าวต่อ พระจักรพรรดิ:
Her keyser euch hilft nicht das swert
Czeptir vnd crone sint hy nicht wert
Ich habe euch bey der hand genomen
Ir must an meynen reyen komen
มหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระขรรค์ของพระองค์ก็หาช่วยกันพระองค์ได้ไม่
ณ ที่แห่งนี้ พระคทาและพระมหามงกุฏหาประโยชน์อันใดมิได้
อาตมาได้จับพระหัตถ์ของพระองค์ไว้แล้ว
ด้วยว่าบพิตรจักต้องทรงนาฏกรรมนี้ไปกับอาตมา
ในตอนจบ “ความตาย” เรียกชาวนามาเต้นรำ ชาวนาก็ตอบว่า:
Ich habe gehabt [vil arbeit gross]
Der sweis mir du[rch die haut floss]
Noch wolde ich ger[n dem tod empfliehen]
Zo habe ich des glu[cks nit hie]
อาตมาได้ตรากตรำประกอบการงานต่าง ๆ
เหงื่อกาฬโทรมกายอาตมาหาที่ว่างเว้นมิได้
กระนั้น อาตมาหาอาจหลีกลี้หนีพ้นมรณะได้ไม่
ก็ที่นี้ จะหามีผู้ใดที่ทรงคุณพิเศษสามารถกระทำเช่นนั้นได้แล้วไม่มีเลย  
                                                                                                                                   
      


“ระบำมรณะ” โดย เบิร์นท โนตเคที่วัดเซนต์นิโคลัสที่ทาลลินน์  

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Diva


ดีวา (อังกฤษdiva) คือนักร้องหญิงที่มีชื่อเสียง เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงผู้หญิงที่มีความสามารถอันโดดเด่นในวงการเพลงอุปรากร นอกจากนั้นอาจรวมถึงในด้านละครเวที ภาพยนตร์ ดนตรีป็อป
ในภาษาอังกฤษ คำว่า ดีวา เริ่มมีการใช้ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยได้รับมาจากคำนามในภาษาอิตาลี ดีวา ที่เป็นเทพธิดา พหูพจน์ในภาษาอังกฤษใช้ว่า "divas" ส่วนในภาษาอิตาลีใช้ว่า dive [ˈdiːve]
คำว่า "ดีวา" มักใช้เป็นความหมายด้านลบ อธิบายหมายถึงผู้มีชื่อเสียงด้านภาพยนตร์หรือดนตรี ที่มีความต้องการสุดโต่งและจุกจิกจู้จี้ ในด้านความอภิสิทธิ์ส่วนตัว

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของ วันวาเลนไทน์


ประวัติวันวาเลนไทน์
  ประวัติวันวาเลนไทน์
เรื่องของวันวาเลนไทน์นี้ มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ณ. กรุงโรม หรืออาณาจักรโรมัน ในยุคของ จักรพรรดิคลอดิอุส ที่สอง (Claudius II) โดยที่จักรพรรดิพระองค์นี้ มีนิสัยชอบกดขี่ข่มเหงผู้อื่น  เขาได้สั่งให้ชาวโรมันทุกคน สักการะนับถือพระเจ้า12องค์ โดยผู้ที่ขัดขืนคำสั่ง จะถูกทำโทษ รวมทั้งห้ามยุ่งเกี่ยว กับพวกคริสเตียนด้วย  แต่นักบุญวาเลนตินุส (Valentinus) มีความเลื่อมใส ศรัทธาต่อพระคริสต์มาก เขาได้กล่าวไว้ว่า แม้กระทั่งความตาย ก็ไม่สามารถ เปลี่ยนความคิด ของเขาได้ เขาจึงได้ถูกจับขังคุก

ช่วงอาทิตย์สุดท้ายในชีวิตของเขานั้น ได้มีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้น ขณะที่เขาถูกคุมขัง อยู่นั้น ผู้คุมขังได้ขอให้วาเลนตินุส สอนลูกสาวเขาซึ่งตาบอดด้วย จูเลียเป็นคนสวยแต่น่าเสียดาย ที่เธอตาบอดตั้งแต่แรกเกิด วาเลนตินุสได้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ต่างๆ สอนเลข และเล่าเรื่องพระเจ้า ให้เธอฟัง จูเลียสามารถรับรู้สิ่งต่างๆในโลกนี้ได้ โดยคำบอกเล่าของวาเลนตินุส เธอเชื่อใจเขา และเธอมีความสุขมากเมื่ออยู่กับเขา


1
วันหนึ่งจูเลียถามวาเลนตินุสว่า 
"ถ้าเราอธิษฐาน พระผู้เป็นเจ้าจะได้ยินเราไหม" 
เขาตอบ"พระองค์เจ้า จะได้ยินเราแน่นอน ท่านได้ยินเรา ทุกคน" 
จูเลียกล่าว"ท่านทราบหรือไม่ว่า ข้าอธิษฐานขออะไร ทุกๆเช้า  ทุกๆเย็น….ข้าหวังว่า ข้าจะได้มองเห็น โลก เห็นทุกๆอย่างที่ท่านเล่าให้ข้าฟัง" 
วาเลนตินุสจึงบอก"พระเจ้ามอบแต่สิ่งที่ดีที่สุด ให้แก่เราทุกคน เพียงแค่ เรามีความเชื่อมั่น ในพระองค์ท่าน เท่านั้นเอง"
จูเลีย ผู้ซึ่งมีความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้า จึงได้คุกเข่า กุมมือ อธิษฐานพร้อมกับ วาเลนตินุส และในขณะนั้นเอง ก็ได้มีแสงสว่างลอดเข้ามาในคุก และสิ่งมหัศจรรย์ก็ได้เกิดขึ้นจูเลียค่อยๆลืมตา พระเจ้า……เธอมองเห็นแล้ว!!!!! เขาและเธอจึงกล่าวขอบคุณต่อพระเจ้า และเรื่องมหัศจรรย์เรื่องนี้ ได้แพร่หลายไปทั่วราชอาณาจักร
  ในคืนก่อนที่วาเลนตินุส จะสิ้นชีวิต โดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้าย ถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า "From Your Valentine" เขาสิ้นชีพในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจาก นั้น ศพของเขาได้ถูกเก็บ ไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูก ต้นอามันต์ หรือ อัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินุส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สี ชมพู ได้เป็นตัวแทน แห่งรักนิรันดร์และมิตรภาพ อันสวยงาม
 ประวัติวันวาเลนไทน์นี้ เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา จนถึงปัจจุบัน เท่าที่ค้นหามาได้นี้ เป็นเพียงหนึ่ง ในหลายๆเรื่องเท่านั้น ไม่ว่าประวัติที่แท้จริง จะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ในปัจจุบันนี้ เราได้ถือว่า วันวาเลนไทน์ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว คุณสามารถส่งดอกไม้ ขนม และการ์ด เพื่อบอกความนัยให้แก่คนที่พิเศษของคุณ วันนี้จะเป็นวันที่ เราส่งความรู้สึกดีๆ ให้แก่กัน.......

วันวาเลนไทน์

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์



ยุคกลาง (อังกฤษ: Medieval Age) หรือ สมัยกลาง (อังกฤษ: Middle Ages) เป็นหนึ่งในการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์โลก นำหน้าด้วยอารยธรรมสมัยคลาสสิค และตามหลังด้วยสมัยใหม่
นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดช่วงเวลาสมัยกลางของสากลโลกไว้ว่า การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในค.ศ. 476 เป็นจุดเริ่มต้นของสมัยกลาง เพราะหลังการล่มสลาย จักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งกลายเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ การล่มสลายของมหาอำนาจทำให้ยุโรปแตกเป็นอาณาจักรมากมายและไม่มีขื่อแป จนตกเป็นเหยื่อของการรุกรานจากชนชาติภายนอก คริสต์ศาสนาจึงกลายเป็นที่พึ่งและสถาบันสูงสุดของยุโรปสมัยกลาง จนในศตวรรษที่ 15 ชาติต่าง ๆ ในยุโรปสามารถรวมตัวกันเป็นรัฐชาติ (Nation-States) จนพัฒนากลายเป็นประเทศต่าง ๆในปัจจุบันได้ หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในปี ค.ศ. 1453ทำให้ความรู้ของกรีกและโรมันแพร่กระจายไปทั่วยุโรป เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยา จึงเริ่มต้นเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยกลางของสากลโลก และเปิดโลกเข้าสู่สมัยใหม่

ยุคมืด

ยุคมืด (อังกฤษ: Dark Ages หรือ Dark Age) หมายถึงช่วงเวลาของความเสื่อมโทรมทั้งทางวัฒนธรรมและทางสังคมในยุโรปหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (Decline of the Roman Empire) มาจนถึงในสมัยที่มีการฟื้นฟูการศึกษากันขึ้นอีกครั้ง แต่ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของความสำเร็จต่างที่เกิดขึ้นในยุคนี้ทำให้ภาพพจน์ของลักษณะความเป็นยุคมืดเปลี่ยนไป  ฉะนั้นคำว่ายุคมืดจึงจำกัดเฉพาะช่วงเวลาหนึ่งภายในยุคกลางที่สำคัญคือยุคกลางตอนต้น (Early Middle Ages) แต่การจำกัดนี้ก็ยังไม่เป็นที่ตกลงกันในหมู่นักวิชาการสมัยใหม่ผู้มักจะเลี่ยงการใช้คำนี้
ยุคมืดเป็นความคิดที่เริ่มโดยนักปรัชญาชาวอิตาลีเพทราค ในคริสต์ทศวรรษ 1330 โดยมีความตั้งใจที่จะเป็นการวิจารณ์ลักษณะของวรรณกรรมภาษาละตินโดยทั่วไป  นักประวัติศาสตร์รุ่นต่อมาขยายความจนรวมไปถึงช่วงเวลาที่คาบระหว่างสมัยโรมันโบราณไปจนถึงยุคกลางตอนกลาง (High Middle Ages) ที่รวมทั้งการขาดแคลนวรรณกรรมภาษาละติน, ขาดแคลนหลักฐานทางเอกสารทางประวัติศาสตร์, การลดจำนวนของประชากร, การลดจำนวนการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม และการหยุดยั้งความเจริญทางวัตถุและทางวัฒนธรรมโดยทั่วไป นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้บรรยายถึงความล้าหลังด้วย



สมัยรีเนซองส์ คำว่า “Renaissance” แปลว่า การเกิดใหม่” (Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตลอดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้
          ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี โดยได้เริ่มขซ์   ภาพ The Birth of Venus ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิชปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น
          
ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมี บทบาทมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้ ( ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535:89)
1. สมัยศตวรรษที่ 15 ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว

          โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส  
เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวกแมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภท ซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson)
          
ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน(Homophony) ลักษณะล้อกันแบบนี้เป็นลักษณะสำคัญของเพลงในสมัยนี้ นอกจากนี้มีการนำรูปแบบของโมเต็ตมาประพันธ์เป็นเพลงแมสและการนำหลักของแคนนอนมาใช้ในเพลงแมสด้วย
2. สมัยศตวรรษที่ 16 มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา
          การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิกเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลักษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งของเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อนมีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอรมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้ง
          ทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้  
กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ้นมาใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป           นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่าดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่าง ๆ มีแบบแผนมากขึ้น ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของดนตรีมาก โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต           นอกจากจะให้ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา (Sacred Music) มีความสำคัญเท่ากัน สรุป 
ลักษณะบทเพลงในสมัยนี้ 1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า “The Golden Age of Polyphony”2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน








สมัยบาโรก  Baroque” มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl)
Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว( ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:96)
ในด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นที่สุดของดนตรี
  
      บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ. เอส. บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18 ในตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและหันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมีแนวสำคัญที่เรียกในภาษาอิตาเลี่ยนว่า เบสโซคอนตินิวโอ (Basso Continuo)” ทำหน้าที่เสียงคลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบ ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา อย่างไรก็ตามคีตกวีรุ่นต่อมาก็มิได้เลิกสไตล์โฟลี่โฟนีเสียเลยทีเดียวหากยังให้ไปปรากฏในดนตรีคีย์บอร์ดในแบบแผนของฟิวก์ (Fugue) ออร์แกนโคราล (Organchorale) ตลอดจนทอคคาตา (Toccata) ซึ่งแต่งโดยใช้เทคนิค เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint)

           ในสมัยบาโรก ดนตรีศาสนาในแบบแผนต่าง ๆ เช่น ออราทอริโอ แมส พาสชัน คันตาตา
ในศาสนา (Church Cantata) คีตกวีก็นิยมแต่งกันไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แมสใน บี ไมเนอร์ของ เจ. เอส. บาค และออราทอริโอ เรื่อง “The Messiah” ของเฮนเดล จัดได้ว่าเป็นดนตรีศาสนาที่เด่นที่สุดของสมัยนี้
ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของดนตรีสมัยบาโรกคือ การทำให้เกิด ความตัดกัน” (Contrasting) เช่น ในด้าน ความเร็ว ความช้า ความดัง ความค่อย การบรรเลงเดี่ยว การบรรเลงร่วมกัน วิธีเหล่านี้พบในงานประเภท ตริโอโซนาตา (Trio Sonata) คอนแชร์โต กรอซโซ (Concerto Grosso) ซิมโฟเนีย (Simphonia) และคันตาตา (Cantata) ตลอดสมัยนี้คีตกวีมิได้เขียนบทบรรเลงส่วนใหญ่ของเขาขึ้นอย่างครบบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเขาต้องการให้ผู้บรรเลงมีโอกาสแสดงความสามารถการเล่นโดยอาศัยคีตปฏิภาณหรือการด้นสด (Improvisation) และการประดิษฐ์เม็ดพราย (Ornamentation) ในแนวของตนเอง
ในสมัยบาโรกนี้การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะการบันทึกตัวโน้ตที่ใช้ในปัจจุบัน คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้สัญลักษณ์ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนความยาวของจังหวะและตำแหน่งของตัวโน้ตบรรทัด 5 เส้น แทนระดับเสียงและยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะมีเส้นกั้นห้องและสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี ดังนี้
( ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535: 147)
  
อย่างไรก็ตามลักษณะทั่วไปของดนตรีสมัยบาโรก สามารถสรุปกว้าง ๆ ได้ดังนี้
( อนรรฆ จรัณยานนท์ , ม . ป . ป . :56)

       1. เริ่มนิยมใช้สื่อที่ต่างกันตอบโต้กัน เช่น เสียงนักร้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงเดี่ยว
ตอบโต้กับการบรรเลงเป็นกลุ่ม

       2. นิยมใช้เบสเป็นทั้งทำนองและแนวประสาน เรียกว่า Basso Continuo และมีวิธีบันทึก
เรียกว่า Figured bass

       3. เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และ
หลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น

       4. นิยมใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (Major) และไมเนอร์ (Minor) แทนโมด (Mode)

        5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ยังคงเป็นคุณลักษณะเด่นของสมัยนี้อยู่ โฮโมโฟนี
(Homophony) มีบทบาทหนุนส่งให้ เคาน์เตอร์พอยท์ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

        6. มีการระบุความเร็ว ช้า และหนัก เบา ลงไปในผลงานบ้าง เช่น adagio, andante และ allegro เป็นต้น

        7. เทคนิคของการ Improvisation ได้รับความนิยมสูงสุด

        8. มีคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ

        9. มีการจำแนกหมวดหมู่ของคีตนิพนธ์ และบัญญัติศัพท์ไว้เรียกชัดเจน

        10. อุปรากร (Opera) ได้กำเนิดและพัฒนาขึ้นในสมัยนี้ 



          ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มาจนถึงช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่ในยุโรปมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยเหตุการณ์ที่ได้กระตุ้นเรื่องนี้เป็นอย่างมากก็คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศสซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค. ศ. 1879 การรบครั้งสำคัญในสมัยนี้คือ สงครามเจ็ดปี ( ค. ศ.1756-1763) สงครามฝรั่งเศสและอินเดีย 
ในอเมริกาเกิดสงครามระหว่างอังกฤษและอาณานิคมอเมริกัน ซึ่งนำไปสู่การประกาศอิสรภาพ ของอเมริกันในปี 1776 และสงครามนโปเลียนใน ยุโรป ซึ่งเป็นผลให้เกิดคองเกรสแห่งเวียนนาขึ้นในปี ค. ศ. 1814 
สมัยนี้ในทางปรัชญาเรียนกว่า ยุคแห่งเหตุผล” Age of Reason ( ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:102)

          หลังการตายของ เจ. เอส. บาค (J. S. Bach) ในปี 1750 ก็ไม่มีผู้ประสบความสำเร็จในรูปแบบของดนตรีแบบบาโรก (Baroque style) อีก มีการเริ่มของ The (high) Classical era ในปี 1780 เราเรียกช่วงเวลาหลังจากการตายของ เจ. เอส. บาค (J. S. Bach1730-1780) ว่า The early classical period ดนตรีในสมัยบาโรกนั้นมีรูปพรรณ (Texture) ที่ยุ่งยากซับซ้อนส่วนดนตรีในสมัยคลาสสิกมีลักษณะเฉพาะคือมี โครงสร้าง (Structure) ที่ชัดเจนขึ้น การค้นหาความอิสระในด้าน วิชาการ เป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดสมัยใหม่นี้

        ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได้ชัด คือ การไม่นิยมการสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง
หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน 
ลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น 
(Improvisation) ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน
          ศูนย์กลางของสมัยคลาสสิกตอนต้นคือเมืองแมนฮีมและกรุงเวียนนาโรงเรียนแมนฮีมจัดตั้งขึ้นโดย Johann Stamitz ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และเป็นผู้ควบคุม Concert ของ The Mannheim orchestra เขาเป็นผู้พัฒนาสไตล์ใหม่ของการประพันธ์ดนตรี (Composition) และ การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) และยังพัฒนา The sonata principle in 1st movement of symphonies, second theme of Stamitz ตรงกันข้ามกับ 1st theme ซึ่ง Dramatic, striking หรือ Incisive ( เชือดเฉือน) เขามักเพิ่มการแสดงออกที่เป็นท่วงทำนองเพลงนำไปสู่บทเพลงใน ซิมโฟนี การเปลี่ยนความดัง - ค่อย (Dynamic) อย่างฉับพลันในช่วงสั้น ๆ ได้รับการแสดงครั้งแรกโดย Manheim orchestra เขายังขยาย Movement scheme of symphony จากเร็ว- ช้า- เร็ว เป็น เร็ว ช้า – minuet – เร็ว(minuet คือดนตรีบรรเลงเพื่อการเต้นรำคู่ในจังหวะช้า 3 จังหวะ ) ใช้ครั้งแรกโดย GM Monn แบบแผนนี้กลายเป็นมาตรฐานในซิมโฟนีและ สตริงควอเตท (String quartet )
         สมัยคลาสสิกนี้จัดได้ว่าเป็นสมัยที่มีการสร้างกฎเกณฑ์รูปแบบในทุก ๆ อย่างเกี่ยวกับการ ประพันธ์เพลงซึ่งในสมัยต่อ ๆ มาได้นำรูปแบบในสมัยนี้มาใช้และพัฒนาให้ลึกซึ้งหรือแปรเปลี่ยนไป
เพลงในสมัยนี้เป็นดนตรีบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ กล่าวคือ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเป็นเพลงซึ่งแสดงออกถึงลักษณะของดนตรีแท้ ๆ มิได้มีลักษณะเป็นเพลงเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีการใส่หรือแสดงอารมณ์ของผู้ประพันธ์ลงในบทเพลงมากนัก ลักษณะของเสียงที่ดัง - ค่อย ค่อย ๆ ดัง และค่อย ๆ เบาลง
        ดนตรีสไตล์เบา ๆ และสง่างามของโรโคโค (Rococo Period ) ซึ่งตรงข้ามกับสไตล์ที่เคร่งเครียดในสมัยบาโรก โดยปกติมันเป็น Lightly accompanied pleasing music ด้วย Phrasing ที่สมดุลย์กัน (JC Bach, Sammartini, Hasse, Pergolesi ) Galant เหมือนกับ โรโคโค (Rococo Period ) ในแนวคิดของHeavy ornamentation แต่ต่างกันตรงที่ลักษณะดนตรีมีโครงสร้างและประโยคเพลงที่มีแบบแผนและรูปแบบที่มีความอ่อนไหวง่าย พยายามแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงและเป็นธรรมชาติ แทรกความโรแมนติกของศตวรรษที่ 19 เข้าไป จุดหมายเพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีของ CPE Bach และ WF Bach ด้วย
ความหมายของคำว่า คลาสสิกซิสซึ่ม” (Classicism)
       คำว่า  คลาสสิก” (Classical) ในทางดนตรีนั้น มีความหมายไปในทางเดียวกันกับความหมายของอุดมคติของลัทธิ Apollonian ในสมัยของกรีกโบราณ โดยจะมีความหมายที่มีแนวคิดเป็นไปในลักษณะของความนึกถึงแต่สิ่งที่เป็นภายนอกกาย สภาพการเหนี่ยวรั้งทางอารมณ์ ความแจ่มแจ้งในเรื่องของรูปแบบ และการผูกติดอยู่กับหลักทางโครงสร้างอย่างใดอย่างหนึ่ง อุดมคติทางคลาสสิกในทางดนตรีนั้นมิได้จำกัดอยู่แต่ในช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 เท่านั้น อุดมคติทางคลาสสิกดังกล่าว ยังเคยมีปรากฏมาก่อนในช่วงสมัยอาร์สอันติควา (Ars Antiqua) และมีเกิดขึ้นให้พบเห็นอีกในบางส่วนของงานประพันธ์การดนตรีในศตวรรษที่ 20
        พวกคลาสสิกนิยม (Classicism) ก็มีในดนตรีในช่วงตอนปลาย ๆ ของสมัยบาโรก ซึ่งเป็นดนตรีสไตล์ของบาค (J.S. Bach) และของฮัลเดล (Handel) เช่นกัน ในช่วงของความเป็นคลาสสิกนิยมนั้นมี 2 ช่วง คือ ในตอนต้นและใช้ช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 และในช่วงตอนปลายขอศตวรรษที่ 18 มักจะเรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า เป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก (Viennese Classical Period) เพื่อให้ง่ายต่อการระบุความแตกต่างระหว่างคลาสสิกตอนต้นและตอนปลายนั้นเอง และที่เรียกว่าเป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก ก็เพราะเหตุว่าช่วงเวลานั้นกรุงเวียนนาของออสเตรียถูกถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางหลักของการดนตรีในสมัยนั้นความวามหมายออกมาได้ คือ มองออกจากตัว(Objective) แสดงถึงการเหนี่ยวรั้งจิตใจทางอารมณ์ สละสลวย การขัดเกลาให้งดงามไพเราะ และสัมผัสที่ไม่ต้องการความลึกล้ำนัก นอกจากความหมายดังกล่าวแล้วคลาสสิกยังมีความหมาย ที่อาจกล่าวไปในเรื่องของประมวลผลงานก็ได้ กล่าวคือ ผลงานทางดนตรี บทบรรเลงที่เห็นได้ชัดว่ามีมากขึ้นกว่าผลงานทางการประพันธ์โอเปร่าและฟอร์มอื่น ๆ


สมัยโรมันติค
           ความหมายของคำว่า 
โรแมนติก” กว้างมากจนยากที่จะหานิยามสั้น ๆ ให้ได้ ในทางดนตรีมักให้ความหมายว่า ลักษณะที่ตรงกันข้ามกับดนตรีคลาสสิก กล่าวคือ ขณะที่ดนตรีคลาสสิกเน้นที่รูปแบบอันลงตัวแน่นอน (Formality)โรแมนติกจะเน้นที่เนื้อหา(Content) คลาสสิกเน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน (Rationalism)โรแมนติกเน้นที่อารมณ์ (Emotionalism) และคลาสสิกเป็นตัวแทนความคิด แบบภววิสัย(Objectivity) โรแมนติกจะเป็นตัวแทนของอัตวิสัย (Subjectivity)
นอกจากนี้ยังมีคำนิยามเกี่ยวกับดนตรีสมัยโรแมนติก ดังนี้

http://www.lks.ac.th/band/smiling.gif คุณลักษณะของการยอมให้แสดงออกได้อย่างเต็มที่ซึ่งจินตนาการ อารมณ์ที่หวั่นไหว และความรู้สึกทางใจ
http://www.lks.ac.th/band/smiling.gif ในดนตรีและวรรณกรรม หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “Classicism” เสรีภาพที่พ้นจากการเหนี่ยวรั้งทางจิตใจ หรือจารีตนิยมเพื่อที่จะกระทำการในเรื่องใด ๆ

           สมัยโรแมนติกเริ่มต้นขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 19แต่รูปแบบของดนตรีโรแมนติกเริ่มเป็นรูปแบบขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 18 แล้วโดยมีเบโธเฟนเป็นผู้นำ และเป็นรูปแบบของเพลงที่ยังคงพบเห็นแม้ในศตวรรษที่ 20 นี้ สมัยนี้เป็นดนตรีที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ประพันธ์อย่างมาก ผู้ประพันธ์เพลงในสมัยนี้ไม่ได้แต่งเพลงให้กับเจ้านายของตนดังในสมัยก่อน ๆ ผู้ประพันธ์เพลงแต่งเพลงตามใจชอบของตน และขายต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะดนตรีจึงเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์เอง
ลักษณะของดนตรีโรแมนติก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :111)

1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดอย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป
2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism)
4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism)
5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง
           5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด
           5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ
           5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation
            5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์
            5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง



 ในตอนปลายของศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 20 (1890-1910) ซึ่งอยู่ในช่วงของสมัยโรแมนติก ได้มีดนตรีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเดอบุสชีผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกก่อให้เกิดความประทับใจ และแตกต่าง
จากดนตรีโรแมนติกซึ่งก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ลักษณะทั่ว ๆไปของดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกนั้นเต็มไปด้วยจินตนาการที่เฟื่องฝัน อารมณ์ที่ล่องลอยอย่างสงบ และความนิ่มนวลละมุนละไมในลีลา ผู้ฟังจะรู้สึกเสมือนว่าได้สัมผัสกับบรรยากาศตอนรุ่งสางในกลุ่มหมอกที่มีแสงแดดอ่อน ๆ สลัว ๆ ถ้าจะกล่าวถึงในด้านเทคนิคดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกได้เปลี่ยนแปลงบันไดเสียงเสียใหม่แทนที่จะเป็นแบบเดียโทนิค (Diatonic) ซึ่งมี 7 เสียงอย่างเพลงทั่วไปกลับเป็นบันไดเสียงที่มี 6 เสียง ( ซึ่งระยะห่างหนึ่งเสียงเต็มตลอด) เรียกว่า โฮลโทนสเกล” (Whole – tone Scale)

          นอกจากนี้คอร์ดทุกคอร์ดยังเคลื่อนไปเป็นคู่ขนานที่เรียกว่า “Gliding Chords” และส่วนใหญ่ของบทเพลงจะใช้ลีลาที่เรียบ ๆ และนุ่มนวล เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองบางครั้งทำให้เพลงในสมัยนี้มีลักษณะลึกลับไม่กระจ่างชัด ลักษณะของความรู้สึกที่ได้ จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความรู้สึก คล้าย ๆ ว่าจะเป็น…” หรือคล้าย ๆ ว่าจะเหมือน…” มากกว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :174)
เดอบุสชี ได้กล่าวถึงลักษณะดนตรีสไตล์อิมเพรสชั่นนิสติกไว้ว่า…“ สำหรับดนตรีนั้น ข้าพเจ้าใคร่จะให้มีอิสระ ปราศจากขอบเขตใด ๆ เพราะในสไตล์นี้ดนตรีก้าวไปไกลกว่าศิลปะแขนงอื่น ๆ



สมัยศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน
          หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้า ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือแม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผล
ให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น 
  
          จากข้างต้นนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในสมัยศตวรรษที่ 20 ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลอง สิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยัง มีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคง
ใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลง


ลักษณะของบทเพลง
        ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง 
รวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่ม ใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูปแบบที่ใช้ใน 
การประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของ เสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียง ความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง