วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

ศศิน เฉลิมลาภ นักธรณีวิทยา ผู้ลั่นวาจาพิทักษ์ผืนป่าแม่วงก์




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณ Seub nakhasathien สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอมเฟซบุ๊ก Seub Nakhasathien Foundation เฟซบุ๊ก Sasin Chalermlarpนิตยสาร ค ฅน 

          ศศิน เฉลิมลาภ ประวัตินักธรณีวิทยาที่กลายมาเป็นนักอนุรักษ์อย่างเต็มตัว ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร 

          เมื่อปลายปี 2554 ในช่วงเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทย ชื่อของ "ศศิน เฉลิมลาภ" ปรากฏขึ้นตามหน้าสื่อในฐานะผู้วิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม แต่มาวันนี้ ชื่อของ ศศิน เฉลิมลาภ กลับมาอยู่ในกระแสข่าวอีกครั้ง ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ที่ประกาศจะปกป้องผืนป่าแม่วงก์จากโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ให้ถึงที่สุด เพราะเห็นแล้วว่าการสูญเสียผืนป่าแม่วงก์อันอุดมสมบูรณ์ไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากการสร้างเขื่อนแม่วงก์เลย...

เขื่อนแม่วงก์

          ด้วยบทบาทหน้าที่อันโดดเด่น จากการลุกขึ้นมาเป็นตัวตั้งตัวตีคัดค้านโครงการเขื่อนแม่วงก์ ก็ทำให้หลายคนอยากทำความรู้จัก ศศิน เฉลิมลาภ ให้มากขึ้น และนี่ก็คือตัวตนของชายผู้นี้...

          ศศิน เฉลิมลาภ เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2511 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงที่เรียนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 5 เขามีโอกาสเข้าค่ายอนุรักษ์กับสมาคม YMCA ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการซึมซับความรักธรรมชาติ อีกทั้งยังมีความสนใจในเพลงเพื่อชีวิต ซึ่ง ศศิน เฉลิมลาภ บอกว่าเพลงเพื่อชีวิตในปี พ.ศ. 2526 ของวงคาราวาน มีส่วนหล่อหลอมความคิด และการสร้างตัวตนที่มีอุดมการณ์ในการเปลี่ยนแปลงสังคมของตัวเขาเอง 

          และด้วยความที่ ศศิน เฉลิมลาภ ชอบเดินทางออกสำรวจ และต้องการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของโลก เขาจึงเลือกศึกษาต่อในภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างนั้นก็ทำกิจกรรมออกค่ายอาสาพัฒนา สลับกับการเข้าห้องแล็บ ลงพื้นที่สำรวจชั้นหิน ทำเหมืองแร่ ฯลฯ เมื่อเรียนจบ ก็ได้เข้าเป็นอาจารย์สอนหนังสือในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งการทำงานเป็นอาจารย์ และนักวิชาการด้านธรณีวิทยามานานกว่า 10 ปี ทำให้เขาได้ติดตามงานด้านอนุรักษ์ไปด้วย


ศศิน เฉลิมลาภ


          จุดเริ่มต้นแรก ๆ ของงานอนุรักษ์ก็คือ ในปี 2541 ศศิน เฉลิมลาภ ได้มีโอกาสเข้าไปทำงานติดตามเรื่องสารตะกั่วที่เหมืองคลิตี้ ที่สารตะกั่วได้ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านและชุมชนเป็นอย่างมาก และงานนี้ก็เป็นงานที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียรกับศูนย์กะเหรี่ยงเข้ามาดูแลอยู่พอดี อาจารย์ศศินจึงได้เข้าไปร่วมทำงานกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียรด้วย จนกระทั่งทางมูลนิธิฯ เสนอให้เขาเป็นกรรมการ และผู้จัดการโครงการร่วมรักษาผืนป่าตะวันตก กระทั่งได้ทำงานร่วมกันมาเรื่อย ๆ จนในที่สุดเขาก็ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และอนุกรรมการเพื่อการศึกษาและตรวจสอบกรณีปัญหาเหมืองแร่ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
 
          อาจารย์ศศิน เคยพูดเสมอว่า เขาเรียนจบมาทางด้านธรณีวิทยา คือต้องศึกษาชั้นหิน การทำเหมืองแร่ ซึ่งไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับป่าไม้เท่าไร แถมยังดูตรงข้ามกับสายอาชีพที่จบมาด้วย เพราะคนเรียนธรณีวิทยาต้องดูเรื่องการสร้างเขื่อน ทำเหมือง แต่เขากลับมาทำงานด้านอนุรักษ์ที่ต้องมาดูว่าการสร้างเขื่อน สร้างเหมืองกระทบกับประชาชนหรือไม่ กระทบกับสิ่งแวดล้อมแค่ไหน แต่ที่ทำเพราะเขาสนใจงานด้านนี้ รวมทั้งเรื่องงานด้านมนุษยชนที่เป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาก้าวเข้าสู่งานอนุรักษ์อย่างเต็มตัว


ศศิน เฉลิมลาภ


          ที่ผ่านมา ศศิน เฉลิมลาภ ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาทรัพยากรต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเป็นตัวกลางประสานความเข้าใจกับชาวบ้าน อย่างเช่นโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม หรือ จองป่า ที่เขาจัดทำขึ้น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และการประสานความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ ชาวบ้าน และมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เพื่อให้ชุมชนกว่า 100 แห่ง ที่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้มีส่วนในการจัดการและดูแลผืนป่าด้วย

          นอกจากนี้ก็ยังมีงานด้านวิชาการที่ต้องคอยให้ความรู้ ให้ข้อมูลแก่ฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะชาวบ้าน เพื่อความตระหนักในเรื่องการรักษาผืนป่าตามเจตนารมณ์ของ "สืบ นาคะเสถียร" รวมทั้งเป็นอนุกรรมการในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งถึงแม้เขาจะไม่เคยทำงานร่วมกับ "สืบ นาคะเสถียร" แต่ก็เห็นไม่ต่างจากอุดมการณ์ของวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่คนนี้




          อีกหนึ่งผลงานที่ทำให้ทุกคนรู้จักชื่อของ "ศศิน เฉลิมลาภ" ก็คือการทำหน้าที่เป็นผู้วิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมเมื่อครั้งที่เกิดอุทกภัยใหญ่ในประเทศไทย เมื่อปลายปี 2554 ครั้งนั้น หนุ่มนักอนุรักษ์คนนี้ได้อัพคลิปลงในเว็บไซต์ยูทูบ เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์น้ำให้คนเข้าใจและเห็นภาพชัดเจน ด้วยการใช้ภาษาง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน จนเป็นที่ถูกอกถูกใจของวัยรุ่น ทำให้เขาได้รับเชิญจากรายการต่าง ๆ ให้ไปร่วมวิเคราะห์ไม่เว้นแต่ละวันเลยทีเดียว

          และกับการเคลื่อนไหวล่าสุดที่เป็นข่าวมาเรื่อย ๆ ในช่วงปีสองปีหลัง กระทั่งได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงกลางปี 2556 ก็คือ ภารกิจคัดค้านการอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของโครงการเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ที่เป็นหนึ่งในอภิมหาโปรเจคท์ป้องกันอุทกภัยของรัฐบาล วงเงินกว่า 3.5 แสนล้าน
 

ศศิน เฉลิมลาภ



          เรื่องนี้ ศศิน เฉลิมลาภ มองว่า รายงานฉบับดังกล่าวให้ข้อมูลไม่ครบ และตกหล่นในประเด็นเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศ ผืนป่า และสัตว์ป่า ขณะเดียวกัน เขาก็มีข้อมูลที่ยืนยันได้ว่า การสูญเสียผืนป่าแม่วงก์อันอุดมสมบูรณ์นั้น ไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากการสร้างเขื่อนแม่วงก์เลย และเขื่อนก็จะช่วยรับน้ำท่วมได้เพียง 1% เท่านั้นเอง แต่เมื่อได้เข้าไปชี้แจงให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องรับฟังแล้วกลับไม่ได้รับการตอบรับที่น่าพอใจ เขาจึงประกาศเดินเท้าจากกรุงเทพฯ ไปยังอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ระยะทางกว่า 388 กิโลเมตร เพื่อคัดค้านโครงการดังกล่าว โดยได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ก่อนจะกลับมายังกรุงเทพฯ เพื่อจัดเวทีนำเสนอแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
          "ตัวผมไม่ใช่นักอนุรักษ์ที่มาดุ้น ๆ แต่ต้น เพราะผมเรียนธรณีวิทยามา ไม่ได้เรียนวนศาสตร์ กลับกัน ผมเรียนโทเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อม เรื่องธรณีวิทยา เรื่องการขุดแร่ ผมสอนหนังสือให้เด็กที่มีอาชีพสร้างเขื่อน ตัดถนน หินชนิดไหน โครงสร้างแบบไหนเหมาะกับการสร้างเขื่อน แต่โดยส่วนตัวผมขัดแย้งกับมันมาตลอด ผมไม่ได้ปฏิเสธว่า มันต้องมีการใช้ทรัพยากร แต่ผมไม่อยากเข้าไปยุ่ง เรื่องนี้มันมีเยอะแล้ว แต่โลกต้องมีคนมาถ่วงดุล ผมอยากทำแบบนี้ ผมไม่ได้คิดอะไร ผมแค่ทำให้พี่สืบ แล้วป่าวันนี้มันก็เหลือน้อยลงทุกทีแล้ว ถ้าเราไม่ทำ แล้วใครจะทำ..."...อาจารย์ศศิน เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในนิตยสาร ค ฅน ฉบับเดือนมิถุนายน 2555 เมื่อพูดถึงภารกิจการคัดค้านเขื่อนแม่วงก์

          จากประวัติและผลงานของ ศศิน เฉลิมลาภ แล้ว คงยืนยันได้ว่า นักวิชาการคนนี้มีเลือดของความเป็นนักอนุรักษ์ และมีเจตนารมณ์ที่จะพิทักษ์ผืนป่ามากจริง ๆ

Credit : http://hilight.kapook.com

เขื่อนแม่วงก์


เขื่อนแม่วงก์ เป็นโครงการก่อสร้างในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กั้นแม่น้ำแม่วงก์บริเวณเขาชนกัน หรือเขาสบกก  ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับอนุมัติงบประมาณก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นเงิน 13,280 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 8 ปี ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 - 2562
เขื่อนแม่วงก์เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว มีความยาว 730 เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 57 เมตร มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 13,000 ไร่ ปริมาณกักเก็บน้ำประมาณ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร
โครงการก่อสร้างได้รับการศึกษาความเป็นไปได้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ  จนกระทั่งได้รับการอนุมัติการก่อสร้างในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยให้เหตุผลว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำสะแกกรัง แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งจากองค์กรพัฒนาเอกชน ว่าเป็นเขื่อนขนาดเล็ก ซึ่งไม่คุ้มค่าการลงทุน และต้องมีการสูญเสียพื้นที่ป่าถึง 18 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด รวมทั้งเสือโคร่ง ช้าง และนกยูง

ผลกระทบเบื้องต้น

การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ไม่น้อยกว่า 200,000 ไร่ เป็นไม้ใหญ่ประมาณ 500,000 ต้น ซึ่งในจำนวนนี้มีไม้สักประมาณ 50,000 ต้น กล้าไม้อีก 10,000 ต้น หรือเปรียบ เทียบได้ว่าพื้นที่ป่า 1 ไร่ ที่จะถูกน้ำท่วมจะมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 5000 ต้นเป็น ไม้สัก 900 ต้น ลูกไม้ 576 ต้น และกล้าไม้อีก 1,880 ต้น
จากการคำนวณพื้นที่ป่าที่จะสูญเสียไป จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เมื่อคำนวณเป็น ปริมาณคาร์บอนที่ต้นไม้สามารถดูดซับไว้ได้นั้น หากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ประเทศไทยจะสูญเสียพื้นที่ที่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 10,400 ตันคาร์บอน ป่าแม่วงก์มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างน้อย 7,000 ชนิด และมีปลาอาศัยอยู่ในลำน้ำ 504 ชนิด (ใน AIA รายงานไว้ 61 แต่สำรวจเจอเพิ่มจากการลงพื้นที่อีก 3 ชนิด) ในจำนวนนี้มีเพียง 8 ชนิด หรือ 13% ที่สามารถผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งในอ่างเหนือเขื่อนได้นอกนั้นต้องอาศัยพื้นที่น้ำไหลหรือน้ำหลากซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

8 ข้อต้องรู้ ก่อนสมัคร GAT/PAT 2557

สทศ กำลังจะเปิดรับสมัครสอบ GAT/PAT 1/2557 วันที่ 1-27 ตุลาคมนี้
UniGang อยากให้น้องทราบข้อมูล สำคัญต่างๆ
เพื่อประโยชน์ต่อการสมัคร รับตรง และ Admissions ในอนาคต ดังนี้
1.  สมัครก่อนมีสิทธ์ก่อน เพราะเราจะได้มีสิทธิเลือกสนามสอบก่อน ถ้า เกิดสนามสอบใกล้บ้านเต็มเมื่อไหร่ เราก็ต้องไปเลือกสนามสอบอื่นๆ  แต่ บางครั้ง สทศ อาจจะจัดสนามสอบเพิ่มเติมภายหลัง แต่ก็ไม่มีอะไรแน่นอน
2. ไม่จำเป็นต้องลงสมัครทุกวิชานะครับ สมัครเฉพาะ วิชาที่เราต้องใช้ยื่นคะแนนพอครับ  เช่น คนที่จะสมัคร  วิศวะ ต้องสอบ GAT  PAT3  , PAT1 เพื่อยื่นรับตรง  PAT2 เพื่อแอดมิชชั่น โดยน้องๆ สามารถดูได้จาก ระเบียบการจาก สอท
โดยเฉพาะน้องๆ สายศิลป์-ภาษา ยังไงก็ควรสอบ PAT1 เก็บไว้บ้างเพราะจะทำให้ทางเลือกในการเลือกคณะ Admissions กลางมีเยอะขึ้น  หรือ น้องสายวิทย์ ก็อาจจะสอบ PAT7 ไว้บ้าง เพราะจะมีบางมหาวิทยาลัย รับเฉพาะ PAT7 เช่น รัฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์ จะรับเฉพาะยื่น PAT7 นะครับ
3. ปีก่อน การรับตรงพยาบาลสภากาชาดไทย น้องๆ จะพลาดกันเยอะนะครับ เพราะไม่สอบ PAT1 ไว้ ดังนั้นใครจะเรียนพยาบาลที่นี่ต้องสอบไว้ด้วยนะครับ  ระเบียบการ  ( แต่ปีนี้ระเบียบการยังไม่ออกนะครับ ไม่แน่ใจว่าจะเปลี่ยนเกณฑ์ไหม )
4. ในการยื่น Admissions กลาง จะใช้รอบที่คะแนนมากที่สุดนะครับ  เช่น

รอบที่1  GAT เชื่อมโยง  150  GAT อังกฤษ  120 รวม GAT = 270 , PAT1  = 130
รอบที่2  GAT เชื่อมโยง  140  GAT อังกฤษ  140 รวม GAT = 280 , PAT1  = 125
ผลคือ  GAT จะใช้ รอบที่ 2 นะครับ โดยจะยึดคะแนนรวม , PAT1 จะใช้รอบที่ 1 จ้า
5. การชำระเงินถือว่าสำคัญมากนะครับ อย่าคิดว่าเรื่องแบบนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น รุ่นพี่หลายคนสมัครแล้วลืมจ่ายเงิน บอกได้คำเดียว เงิบ เลย !
6. อยากกระตุ้นน้องๆว่า ถ้าอยากติดรับตรง ให้เน้น GAT/PAT รอบแรกให้ดีที่สุด โดยส่วนใหญ่จะประมาท เตรียมตัวไม่ดีกัน หรือบางคนอาจจะตื่นสนามสอบ จึงทำให้คะแนนเฉลี่ย GAT/PAT รอบแรกจะต่ำกว่า รอบที่สอง ดูได้จากตารางข้างล่างเลยจ้า
7. สถิติ คะแนน GAT/PAT ย้อนหลัง

GAT เชื่อมโยงจะมีความสำคัญมากนะครับ เพราะถ้าใครไม่เคยทำข้อสอบมาก่อนจะทำข้อสอบไม่ทัน จริงๆ แล้วมันไม่ยาก แต่อาจจะต้องใช้เวลาฝึกฝนบ้าง หัดทำข้อสอบเยอะ  ถ้าใครหวัง ม ดัง ควรจะเก็บ GAT เชื่อมโยงให้ได้ไม่ต่ำกว่า 140 คะแนน แต่สำหรับน้องๆที่คิดว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง ผมก็ยังให้มองเป้าหมายไว้ที่ 100-120 คะแนนขึ้นไปนะครับ
8. บางคณะจะมีแต่รอบรับตรง ไม่มีแอดมิชชั่นนะครับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสายศิลป์ เช่น สถาปัตย์ ลาดกระบัง , มัณฑศิลป์ สถาปัตย์หลายสาขา จิตกรรม ศิลปากร  ดังนั้นน้องๆต้องสอบตรงเท่านั้นครับ

สุดท้าย ย้ำอีกครั้ง ตารางรับสมัคร และ ตารางสอบ




CREDIT : http://unigang.com

มาดู ! สาขาอาชีพที่ห้ามคนต่างชาติทำในซาอุดีอาระเบีย



สวัสดีชาว eduzones ทุกคนครับ มองการศึกษาโลก วันนี้ เอาใจผู้ที่สนใจไปทำงานต่อที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยทางสถานเอกอัคราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ได้อัพเดทรายชื่อ สาขาอาชีพที่ห้ามคนต่างชาติทำในซาอุดีอาระเบีย ออกมาครับ ใครที่จะไปทำงานในซาอุดีอาระเบียต้องดูกันแล้วครับว่าเข้าข่าย สาขาอาชีพดังต่อไปนี้หรือไม่


ตำแหน่งงานต่างๆ ที่สงวนไว้สำหรับชาวซาอุดีอาระเบียเท่านั้น
 
1  ผู้จัดการบริหารทรัพยากรบุคคล (Executive HR manager)
2  ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR manager)
3  ผู้จัดการด้านแรงงาน (Labor affairs manager)
4  ผู้จัดการด้านธุรการ (Staff relations manager)
5  ผู้เชี่ยวชาญงานธุรการ (Staff relations specialist)
6  พนักงานเสมียนธุรการ (Staff relations clerk)
7  พนักงานรับสมัครงาน (Recruitment clerk)
8  พนักงานกิจการบุคคล (Staff affairs clerk)
9  เสมียนควบคุมการเข้าร่วมประชุม ( Attendance control clerk)
10 พนักงานต้อนรับ (ทั่วไป) (Receptionist (general)
11 พนักงานต้อนรับโรงแรม (Hotel receptionist)
12 พนักงานต้อนรับผู้ป่วย (Health receptionist)
13 พนักงานรับเรื่องร้องเรียน (Claims clerk)
14 เลขานุการด้านการเงิน  (Treasury secretary)
15 พนักงานรักษาความปลอดภัย (Security)
16 นายหน้า(ตัวแทน) ติดต่อ/เดินเรื่อง (Broker)
17 ช่างกุญแจ  (Key specialist)
18 นายหน้า(ตัวแทน) ด้านศุลกากร (Customs broker)
19 พนักงานขายสินค้าสตรี (Female sales specialists (women only)
 
บทความโดย : ต้นซุง eduzones

ขอบคุณข้อมูล :


เคล็ดลับเก่งภาษา ด้วยการร้องเพลง


ใครที่รู้สึกว่าภาษาเป็นเรื่องยาก หรือเป็นเรื่องเครียด เรามาดูอีกเคล็ดลับเก่งภาษา ที่น่าจะทำให้สนุกสนานไปได้ด้วยกันดีกว่าค่ะ

คณะครูของโรงเรียนดนตรีของมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ เป็นผู้ค้นพบ
เคล็ดลับเก่งภาษานี้ ขณะสอนภาษาฮังการี โดยคุณครูพบว่า หากให้นักเรียนฝึกร้องเพลงภาษาฮังการีก่อน จะช่วยให้พูดได้เร็วขึ้น ดีกว่าที่จะสอนให้หัดพูดวลีสั้นๆก่อนอย่างที่เคยทำกันอยู่

คณะครูกล่าวว่าที่เลือกสอนภาษาฮังการี เพราะเป็นภาษาที่ถือว่าเรียนยากสำหรับผู้ที่รู้ภาษาอังกฤษ เพราะมีโครงสร้างและระบบเสียงค่อนข้างหนักไปทางภาษาเยอรมันหรือโรมัน

ดร.คาเน เอ็ม ลุดเกด หัวหน้าคณะผู้ศึกษาชี้แจงว่า การศึกษาหนนี้นับเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า วิธีฟังและร้องตาม เป็นวิธีสอนภาษาต่างประเทศที่ดีที่สุด เข้าใจว่าทำนองเพลงคงไปช่วยกระตุ้นความจำ ทำให้นึกถึงคำและวลีภาษาต่างประเทศออกได้

ใครที่กำลังฝึกภาษา อย่ารอช้า หาเพลงมาหัดร้องกันดีกว่าค่ะ สนุกด้วย ได้ประโยชน์ด้วย ^^

เรียบเรียงโดย EZ Riya www.eduzones.com
ข้อมูล : ไทยรัฐออนไลน์ 25 กรกฎาคม 2556
photo credit : thekaraokechannel.com

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์ การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในอดีตถึงปัจจุบัน ของประเทศไทย

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ น้องๆ อาจารย์ ผู้ปกครอง คงจะเข้าใจระะบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในระบบกลางมากขึ้น จะเห็นถึงปัญญหาต่างๆ มากมาย  UniGang ขอเรียบเรียงออกมาให้ได้อ่านกันจ้า
ตะเลิง เติ้งๆ เติ้ง ...............................................................
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในแต่ละสมัย
ก่อนปีการศึกษา 2504 มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งดำเนินการสอบเอง
ปีการศึกษา 2504 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ จัดสอบร่วมกันมีสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้ประสานงาน
ปีการศึกษา 2505 มหาวิทยาลัย 5 แห่ง ที่มีอยู่ในขณะนั้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัย ศิลปากร จัดสอบร่วมกัน
การสอบคัดเลือกรวมนี้เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการสละสิทธิ์และการเพิ่มจำนวนที่ต้องสำรองที่นั่งจากการที่ผู้สมัครสอบได้หลายมหาวิทยาลัย ทำให้นักเรียนในขณะนั้นต้องเสียเวลาสอบหลายแห่งมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากและมีผู้สมัครเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ปีการศึกษา 2505 มีการจัดสอบเข้ามหาวิทยาลัยร่วมกันครั้งแรก โดยแต่ละปีจัดสอบเพียงครั้งเดียวในช่วงเดือนเมษายน วิชาละสามชั่วโมง แบ่งออกเป็นแผนกวิทย์และแผนกศิลป์ ใช้ข้อสอบแยกกัน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ แผนกวิทย์จะเป็น คณิตศาสตร์ กข แผนกศิลป์จะเป็นคณิตศาสตร์ ก
เป็นเช่นนี้มากว่าสามสิบปี ในช่วงนี้ก็มีหลายมหาวิทยาลัยที่ได้ก่อตั้งขึ้น

-ปีการศึกษา 2509 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้มหาวิทยาลัยต่างๆ กลับไปใช้วิธีสอบแยก แต่การดำเนินการเกิดปัญหามาก มหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องเลื่อนเปิดเทอมออกไป เนื่องจากต้องมีการเรียกสอบสัมภาษณ์เพิ่มหลายรอบ
-ปีการศึกษา 2510 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของสภาการศึกษาแห่งชาติ ให้มหาวิทยาลัยต่างๆ กลับมาใช้วิธีสอบรวมอีก
-ปีการศึกษา 2516 ทบวงมหาวิทยาลัยรับโอนงานสอบคัดเลือกจากสถานศึกษาแห่ง ชาติจนถึงปัจจุบัน 
การคัดเลือกด้วยระบบ Entrance ระบบใหม่ (พ.ศ.2542-2548)
ปีการศึกษา 2542 ได้มีการนำคะแนนสะสมช่วงชั้นเรียนหรือ GPA มาใช้พิจารณาคะแนนสอบด้วย เพื่อให้นักเรียนเพิ่มความสนใจการเรียนในห้องเรียนด้วย นอกจากนี้ยังมีการสอบสองครั้ง คือในช่วงตุลาคมและมีนาคม โดยแบ่งเป็นแผนกวิทย์และศิลป์เหมือนเดิม วิชาละสองชั่วโมง
โดยเกณฑ์คัดเลือกคือ  GPA 10% และ คะแนนสอบวิชาเฉพาะอีก 90 % แต่ได้มีการพยายามปรับเกณฑ์คัดเลือก GPA เพิ่มเป็น 25 % แต่กระแสต่อต้านรุนแรงเลยยังคงใช้สัดส่วนเท่าเดิม
พ.ศ.2547 เกิดกรณีข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว ผู้ที่ถูกสังคมกล่าวหาคือ “อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร”  ได้รับผลประโยชน์จากข้อสอบรั่วเพราะการสอบรอบที่ 2 ได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกแบบผิดปกติ   ผุ็ถูกกล่าวหานำข้อสอบออกมาคือ วรเดช จันทรศร เลขาธิการสภาการศึกษาโดยนำเอาซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา ซึ่งเป็นเอกสารลับของทางราชการมาเปิดดูและต่อมาได้นำต้นฉบับข้อสอบที่พิมพ์แล้ว มาเปิดตรวจดู พฤติกรรมดังกล่าว แตกต่างไปจากธรรมเนียมปฏิบัติ แต่ผลสรุปคือ ไม่มีข้อสอบรั่วไหลแต่อย่างใด
การคัดเลือกด้วยระบบ Admissions ระยะที่ 1 2549-2552  : O-NET A-NET
พ.ศ.2549 เป็นปีแรกที่มีการใช้ระบบแอดมิชชัน โดยใช้คะแนน O-net A-net  และ GPA เป็นตัวพิจารณาในการเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเนื่องด้วยการสอบที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมองว่าข้อสอบ O-net และ A-net จากส่วนกลางไม่ได้มาตรฐาน หลายสถาบันและหลายหลักสูตรจึงหันกลับมารับนักศึกษาด้วยตัวเอง เช่น ข้อสอบของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย(กสพท.) รวมทั้งข้อสอบรับตรงของแต่ละคณะในแต่ละมหาวิทยาลัย (จุดนี้ถูกมองว่าทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ)
เกณฑ์คัดเลือก
- GPAX 10%
- GPA (กลุ่มสาระ) 20%
- O-NET 35-70%
- A-NET และ/วิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา 0-35%
< ทั้งระบบคัดเลือก และจัดสอบ สอทเป็นผู้ดูแล >
การคัดเลือกด้วยระบบ Admissions ระยะที่ 2 พ.ศ. 2553- ปัจจุบัน :  GAT/PAT

ปีการศึกษา 2553 เพิ่มการสอบ GAT PAT โดยจัดสอบปีละสามครั้ง เก็บคะแนนที่ดีที่สุด ใช้ได้สามปี สอบได้ทั้งม.5 และ ม.6 แต่ภายหลังจึงให้สอบเฉพาะ ม.6 เท่านั้น และสอบได้เพียงปีละสองครั้ง  เริ่มจัดสอบครั้งแรก มีนาคม 2552 และนำผลคะแนนไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2553  และหน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้งมาดูแลคือ สทศ
< สอทเป็นผู้ดูแลระบบคัดเลือก  สทศ ดูแลเรื่องการจัดสอบแทน >

เกณฑ์คัดเลือก
1. GPAX 20%
2. O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30%
3. GAT (General Aptitude Test) 10-50%
4. PAT (Professional Aptitude Test) 0-40% 
ปี 2554  ที่่ผ่านมา สทศได้มีการนำข้อสอบและเฉลยของเผยแพร่ ปี 2554 เป็นต้นไป จะไม่มีการนำข้อสอบมาเปิดเผยอีกต่อไป เหตุผลคือต้องการจัดทำคลังข้อสอบ >..< แต่สังคมตั้งข้อสังเกตุว่า ทำเพื่อปกปิดความผิดพลาดการออกข้อสอบผิดของตัวเอง
ปีการศึกษา 2555 ได้มีการเพิ่มวิชาสามัญ 7 วิชาเพื่อใช้ในการรับตรงกลาง ก่อนแอดมิชชัน โดยมีหลายมหาวิทยาลัยนำไปใช้คัดเลือกเด็กในรอบรับตรง เช่น จุฬา กสพท  ปัจจุบัน ปีการศึกษา 2557 ได้มีการนำข้อมูล
ปีการศึกษา 2555 มีการเริ่มใช้ระบบ Clearing house เพื่อยืนยันหรือสละสิทธิ์ผู้ที่ได้ที่นั่งจากการสอบตรงแล้ว หากว่าไม่ต้องการจึงสละสิทธิ์ เพื่อมิให้เกิดการกินที่ผู้อื่น ปัญหาคือยังหลายมหาวิทยาลัยไม่เข้าร่วม 
ปีการศึกษา 2556  มีปัญหาเรื่ิองข้อสอบ O-NET วิทยศาสตร์ผิดชุด โดยการตัดสินแก้ไขปัญหาในครั้งแรกคือ ให้คะแนนฟรีทุกคน เลยโดนกระแสต้านอย่างหนัก สุดท้ายคือให้จัดสอบใหม่สำหรับคนที่ได้ ข้อสอบผิด
ปัจจุบัน การจัดสอบโดย สทศ ยังคงโดนกล่าวหาเรื่องข้อสอบไม่ได้มาตราฐาน ข้อสอบยากเกินหลักสูตร อยู่ครับ
ปัจจุบัน เด็ก 1 คนต้องสอบเยอะมาก เช่น ถ้าอยากเป็นเภสัช ต้องวิ่งไล่สอบตรง ม.ต่างๆ เช่น ขอนแก่น บูรพา ศิลปากร ต้องสอบ 7 วิชาสามัญ ทั้ง 7 วิชาเพื่อยื่นรับตรง มหิดล และอื่นๆ ต้องสอบ  GAT PAT2  และต้องสอบ O-NET อีก 8 วิชา

ถ้ามีข้อมูลตรงไหนผิดพลาดช่วยแจ้งด้วยนะครับ  T__T
 ขอขอบคุณ Peter Zhang และข้อมูลจาก สอท
และ เรียบเรียงโดย unigang.com

1 วันก่อนสอบ ควรเตรียมตัวอย่างไร

คืนก่อนสอบ
ทบทวนเนื้อหาที่สำคัญพอประมาณและก็ดื่มวีต้าแล้วไปนอนซะแล้วก็รีบนอน ไม่ควรจะอ่านหนังสือดึกเกินไป เพราะจำทำให้เราง่วงตอนสอบ สมองล้าทำให้คิดอะไรช้า แต่หลายคนระวังตื่นเต้นจนนอนไม่หลับ ก็พยายามนับเเกะเอานะครับ ( การกินยานอนหลับก็ช่วยได้ แต่ไม่ควรจะกินเป็นประจำนะครับ แนะนำเป็นยาแก้แพ้ นะครับ ) 
สติกโกลด์ นักประสาทวิทยาชาวอังกฤษได้รายงานผลการทดลองว่า “ในการเรียนรู้ หรือเทคนิกใหม่ๆนั้นต้องได้นอนหลับในวันที่เรียนรู้ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง ส่วนความทรงจำที่เข้าสู่สมองโดยไม่มีการพักผ่อนจะไม่ได้รับการบันทึกลงสมอง และจะหายไปในสามวัน” นั่นคือความทรงจำจะถูกจัดเรียงและบันทึกในระหว่างหลับ ดังนั้นการอ่านหนังสือโดยไม่หลับไม่นอน จะทำให้ความรู้เหล่านั้นไม่ได้เก็บรักษาเป็นความทรงจำระยะยาว 
 สำหรับคนที่อ่านไม่ทัน เลยต้องอ่านหนังสือถึงเช้าแล้วเข้าสอบ ( ตอนอยู่มหาวิทยาลัย เป็นแบบนี้กันเยอะ ) บางก็ใช้วิธีโด๊ปเครื่องดื่มบำรุงกำลังช่วย เช่น กระทิงแดง   แบรนด์ และยี่ห้ออื่น ๆ อันนี้ก็แล้วแต่เทคนิคส่วนตัว
แต่ในทางวิทยาศาสตร์  นักวิจัยในอเมริกาพบว่า คาเฟอีนและนิโคตินช่วยยับยั้งการดูดซึมวิตามินที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมอง  อีกทั้งช่วงแรกอาจจะทำให้ร่างกายตื่นตัวแต่ถ้าหมด ถทธ์ยาแล้ว ร่างกายจะยิ่งโทรม หรือยิ่งง่วงนั่นเอง
อุปกรณ์การสอบ
 ควรจะเตรียมดินสอ ปากา ( ยางลบ ที่ลบคำผิดด้วย ) ไปหลายๆแท่งนะครับ เพื่อเกิดเหตุฉุเกิน  ดินสอเกิดหาย ตอนสอบจะได้แก้ไขทันที  สำหรับดินสอ ก็แนะนำไส้ขนาดมาตราฐาน คือ 2B นะครับ บางคนชอบ EE เพราะมันทำฝนได้เร็ว แต่ขอเตือนว่า บ้างครั้งเครื่องจะไม่ตรวจนะครับ  และที่สำคัญอย่าลืมบัตรนักเรียน บัตรประชาชน  บัตรเข้าห้องสอบ รวมไปถึงเอกสารอื่นๆ ที่ทางผู้จัดสอบต้องการครับ
( หลายคนแนะนำ ให้ใช้ 4B ครับ เพราะหัวจะใหญ่ ทำให้ประหยัดเวลาในการฝนกระดาษคำตอบ แต่ถ้าฝนผิดทีจะลบนี่ลำบากพอควร )
ตื่นนอน
ตามหลักการของนักปลุกพลังระดับโลกนะครับ  เขาแนะนำให้ตื่นนอนมามาตะโกนดังๆ กับตัวเอง  "  เราทำได้  เราทำได้  เราทำได้   " ( ใช้คำอื่นก็ได้ตามศรัทธา เช่น  หนูทำได้ สู้เพื่อแม่  55 )   มันจะเป็นการฝังโปรแกรมเข้าไปในจิตใจลงสู่สามัญสำนึกของเราให้มีกำลังใจ และพลังในการทำข้อสอบครับ  ( ควรจะทำหลายๆ วันก่อนสอบ )    
อย่าลืมฝากบอกคนที่บ้านช่วยปลุกด้วยเผื่อตื่นสาย  บอกให้เพื่อนโทรหาด้วยก็ดี เพื่อความปลอดภัย
 
อาหารเช้า
นโปเลียนกล่าวไว้ว่า กองทัพเดินด้วยท้อง   ในการสอบอาหารในเมื้อเช้าก็สำคัญมากเช่นกัน   ข้อมูลจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ยืนยันว่าอาหารเช้าเป็นอาหารมื้อแรกที่สำคัญที่สุดของวัน อาหารเช้าจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า มีสมาธิทั้งในการเรียนและการทำงาน  โดยหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เค็ม ด้วยนะครับเพราะคงไม่มีใครอยากเข้าห้องน้ำตอนสอบ =__=
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เค็ม เผ็ด และไม่ควรทานเยอะเกิน  น้ำก็ควรดื่มให้น้อย เน้นอาการที่ย่อยง่ายทานง่ายนะครับ
ก่อนออกจากบ้าน
อย่าลืม กราบไหว้ ขอพร จากพ่อแม่ ก่อนออกจากบ้านด้วยนะครับ   เพื่อความเป็นศิริมงคล
การเดินทาง
ต้องหาข้อมูลให้ชัดเจน  และต้องแน่ใจว่าเขานัดสอบที่ใด ห้องไหน  ถ้าไม่แน่ใจให้เดินทาง ไปดูล่วงหน้าก่อน   ควรเดินทางไปถึงที่สัมภาษณ์ล่วงหน้าประมาณสัก 15-30 นาที จะทำให้เรามีสมาธิ และมีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น   แต่ถ้าไปถึงล่วงหน้าหลายชั่วโมง ก็ดีแต่อาจจะทำให้คุณรอนานอาจเกิดความหงุดหงิด เสียสมาธิได้
สำหรับ O-NET จะสอบที่โรงเรียนตัวเองก็ไม่น่ามีปัญหาในเรื่องสถานที่ แต่สำหรับคนอยู่ใน กทม หรือเมืองใหญ่ ก็เพื่อเวลาการเดินทางสำหรับ รถติด ฝนตก ไว้ด้วยนะครับ  ( ถ้าเป็นเกาหลี เรียกว่าปิดประเทศ เพื่อให้เด็กสอบเลยครับ เพราะอย่างช่วงเช้า ทั้งรัฐและเอกชนจะเลื่อนเวลาทำงานให้  เพื่อไม่ใก้การจราจรติดขัด เครื่องบินก็ห้ามบินขึ้นลง เพื่อจะไม่ให้มีเสียงรบกวนด้วย  ดีเนอะ )
เมื่อถึงโรงเรียน สนามสอบก่อนเข้าห้องสอบ

บางคนก็ถือเคล็ด  กราบไหว้สิ่งศักสิทธ์อีกรอบ    แต่ที่สำคัญคือพยายาม ตั้งสติ สมาธิทบททวนเนื้อหาบทเรียนที่เตรียมมาอีกสักนิด   หรือแลกเปลี่ยน  ติวข้อสอบกับเพื่อนอีกสักหน่อย   และตรวจเชค อุปกรณ์การสอบอีกสักรอบ
 

เข้าห้องสอบ
โบราณเขาว่า  ขวาร้าย  - ซ้ายดี 555  ดังนั้นก้าวขาซ้ายก่อนละกัน  ( เหมือนจะไม่ได้ช่วยอะไร แป่ว)  …..   ในการสอบใหญ่ เรื่องกฎระเบียบจะสำคัญมากนะครับ  กรุณาทำตามกฎอย่างเคร่งครัด   ถ้าไม่เข้าใจก็ยกมือให้อาจารย์คุมสอบเดินมาหาเราเอง   
ก่อนลงมือทำข้อสอบกรุณาอ่านโจทย์เข้าใจ ว่าเข้าจะให้เราทำอะไรกันแน่    
 สำหรับการทำข้อสอบ ก็  ทำสุดความสามารถ ทำข้อง่าย ก่อนนะครับ บริหารเวลาดีดี ไม่เสียเวลากับข้อสอบข้อใด้ข้อหนึ่งมากเกิน แต่ก็ไม่ต้องรีบร้อนจนเกินไปเพราะยังไงก็ออกจากห้องสอบก่อนไม่ได้      และที่สำคัญ อ่านคำสั่งให้ดีก่อนทำข้อสอบ รวมถึง ฝนและเขียนชื่อ รหัสต่างๆให้ครบด้วยนะครับ
เรื่องทวนข้อสอบเมื่อทำเสร็จแล้ว  บางคนบอกว่า ยิ่งแก้ยิ่งผิด  555 อันนี้ก็อยู่ที่วิจารณญาณส่วนบุคคลนะครับ แต่ผมก็คิดว่าทวนก็ยังดีกว่าไม่ได้ทวน
ตื่นสนามสอบ !! เครียด
ตอนนี้เราทำอะไรไม่ได้แล้วครับ ไม่ต้องไปคิดเยอะ ว่าพอเห็นข้อสอบแล้วจะทำไม่ได้ ว่าจะสอบไม่ติด ว่าจะได้คะแนนน้อย ว่าจะทำให้พ่อแม่เสียใจ ตอนนี้ขอให้พยายามสงบสติอารมณ์ ใครที่ผ่านการสอบแข่งขั้นมาอาจจะโชคดีกว่าหน่อยเพราะจะควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่า สำหรับคนที่สอบเป็นครั้งแรก อาจจะมีอาการตื่นสนามสอบ ก็ขอให้หายๆใจลึกๆ คิดถึงสิ่งดีๆ  ( แอบมอง หนุ่มหล่อ สาวสวย ในสนามสอบก็ได้ ฮาฮา )  

เทคนิคการสร้างกำลังใจ
ผมได้อ่านเจอเทคนิคของผู้มีชื่อเสียงระดับโลก อย่าง สตีเฟ่น คิง และ แจ็ค นิคคลอส โดยทำง่ายๆ ดังนี้  สร้างมโนภาพว่าตัวเองกำลังทำอะไร ให้สร้างภาพเหมือนกำลังชมภาพยนตร์ที่เคลื่อนไหวสมจริง จนคุณเชื่องตัวเองจะทำตามนั้นได้  และที่สำคัญที่สุด ให้นึกภาพตัวเองอย่างที่เป็นในปัจจุบัน เสมือนคุณทำสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้เรียบร้อยแล้ว  สู้ๆ
สุดท้ายก็ขอให้น้องๆทุกคนโชคดีในการสอบ
ข้อไหนทำไม่ได้ก็ขอให้มั่วถูก
ข้อไหน มั่วไม่ถูก ก็ขอให้ข้อสอบผิด  *0*  

การสอบไม่ใช่การวัดความรู้ของเราอย่างเดียว แต่เป็นการวัดความสามารถในการใช้เวลาที่มีอยู่จำกัดแสดงศักยภาพในตัวเราออกมา และเป็นการทดสอบสภาพจิตใจของเราด้วย ตั้งสติให้ดีค่ะ ถ้าข้อไหนรู้ว่าทำไม่ได้จริงๆ เดาแล้วข้ามไปเลยค่ะ เอาเวลาไปเก็บคะแนนในส่วนที่เราทำได้ ทางที่ดี ทำส่วนที่เราถนัดก่อนดีกว่า  by P.Boom

แต่งโดย UniGang.com

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

อันดับมหาวิทยาลัยไทย โดย QS World University Rankings 2013-2014


    

สำหรับระเบียบวิธีวิจัยในการจัดอันดับยังคงแบ่งออกเป็น 6 ตัวชี้วัด ได้แก่
- (40%) Academic reputation (ชื่อเสียงทางวิชาการ) จากการสำรวจผ่าน QS Global Academic Survey
- (10%) Employer reputation (ชื่อเสียงจากนายจ้าง) จากการสำรวจผ่าน QS Global Employer Survey
- (20%) Citations per faculty (อัตราส่วนอาจารย์) จากฐานข้อมูลของ Data from SciVerse Scopus
- (20%) Faculty/student ratio (อัตราส่วนนักเรียนต่อจำนวนอาจารย์)
- (5%) Proportion of international students (จำนวนนักเรียนนานาชาติ)
- (5%) Proportion of international faculty (จำนวนอาจารย์นานาชาติ)

มาแล้ว ! อันดับมหาวิทยาลัยโลก 2013-2014 โดย QS World University Rankings

     มาแล้ว ! อันดับมหาวิทยาล

สวัสดีชาว eduzones ทุกคนครับ มองการศึกษาโลก วันนี้เกาะติดผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกสำนักอังกฤษ อย่าง Quacquarelli Symonds หรือ หลายๆคนจะรู้จักกันในชื่อ QS ครับ โดยล่าสุด วันที่ 10 กันยายน 2013 วันนี้นั้น ทางสำนักจัดอันดับ ได้ปล่อยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก 2013-2014 ทั้ง 800 มหาวิทยาลัยออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ

โดยผลการจัดอันดับ 5 อันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านบน ยังคงเป็นมหาวิทยาลัยเจ้าเดิม ได้แก่
อันดับ 1 Massachusetts Institute of Technology (MIT) (แชมป์สมัย 2)
อันดับ 2 Harvard University (ขึ้นจากอันดับ 3)
อันดับ 3 University of Cambridge (ตกจากอันดับ 2)
อันดับ 4 UCL (อันดับคงที่จากปีที่แล้ว)
อันดับ 5 Imperial College London (ขึ้นจากอันดับที่ 6)
 
ส่วนมหาวิทยาลัยชื่อดังของอังกฤษอีกแห่งอย่าง University of Oxford  จากจากอันดับที่ 5 มาอยู่ในอันดับที่ 6 ในปีนี้ครับ

สำหรับมหาวิทยาลัยในอาเซียนของเราที่ติดอันดับด้านบน 200 มหาวิทยาลัยแรกนั้น มีมหาวิทยาลัยเข้าชิงชัยอยู่ 3 แห่ง จาก 2 ประเทศ คือ

 
อันดับที่ 24 ของโลก National University of Singapore (NUS) จากสิงคโปร์
อันดับที่ 41 ของโลก Nanyang Technological University (NTU) จากสิงคโปร์
อันดับที่ 167 ของโลก Universiti Malaya (UM) จากมาเลเซีย

และเป็นที่น่าเสียดายที่มหาวิทยาลัยของไทยสองแห่งได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตกลงจากอันดับที่ 201 ในปีที่แล้วมาอยู่ในอันดับที่ 239 ในปีนี้ และ มหาวิทยาลัยมหิดล ตกจากผลการจัดอันดับ จากอันดับที่ 255 มาอยู่ในอันดับที่ 283 ในปีนี้

สำหรับระเบียบวิธีวิจัยในการจัดอันดับยังคงแบ่งออกเป็น 6 ตัวชี้วัด ได้แก่

- (40%) Academic reputation (ชื่อเสียงทางวิชาการ) จากการสำรวจผ่าน QS Global Academic Survey
- (10%) Employer reputation (ชื่อเสียงจากนายจ้าง) จากการสำรวจผ่าน QS Global Employer Survey
- (20%) Citations per faculty (อัตราส่วนอาจารย์) จากฐานข้อมูลของ Data from SciVerse Scopus
- (20%) Faculty/student ratio (อัตราส่วนนักเรียนต่อจำนวนอาจารย์)
- (5%) Proportion of international students (จำนวนนักเรียนนานาชาติ)
- (5%) Proportion of international faculty (จำนวนอาจารย์นานาชาติ)

มาแล้ว ! อันดับมหาวิทยาล

ส่วนผลการจัดอันดับสาขาวิชาเฉพาะทางของมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับ 100 มหาวิทยาลัยแรกของโลกปี 2013 นั้น มีดังนี้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับ 100 มหาวิทยาลัยแรกในสาขาวิชาเฉพาะทาง ปี 2013 ดังนี้ 

-สาขาวิศวกรรมเคมี อันดับที่ 51-100 ของโลก
-สาขาวิศวกรรมโยธาและโครงสร้าง อันดับที่ 51-100 ของโลก
-สาขาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ อันดับที่ 51-100 ของโลก

มหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับ 100 มหาวิทยาลัยแรกในสาขาวิชาเฉพาะทาง ปี 2013 ดังนี้ 

-สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ อันดับที่ 51-100 ของโลก

สามารถดูผลการจัดอันดับ สุดยอดมหาวิทยาลัยโลก 2013-2014 โดย QS World University Rankings ได้ที่นี่

บทความโดยต้นซุง eduzones

ผู้เชี่ยวชาญเผย ให้ระวัง ภาวะฮอลิเดย์ แฮงก์โอเวอร์ เกิดขึ้นหลังจากการเดินทางท่องเที่ยว


ผู้เชี่ยวชาญเผย ให้ระวัง

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 11 กันยายน ว่า ผู้เชี่ยวชาญได้เปิดเผยว่า ผู้คนในยุคปัจจุบัน กำลังเสี่ยงที่จะมีอาการ "Holiday Hangover" หรืออาการเบื่อและล้าหลังท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้พบว่ามีผู้ประสบกับภาวะนี้เพิ่มมากขึ้น
 
รายงานระบุว่า อาการนี้จะทำให้ผู้ที่เพิ่งเสร็จสิ้นจากการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดพักผ่อน หรือช่วงพักร้อน รู้สึกเบื่อและรังเกียจที่จะทำงาน เบื่อบ้าน เบื่อการเดินทาง หรือแม้แต่เบื่อคนรักและความสัมพันธ์ และต้องใช้เวลานานกว่าจะหายไป

ซึ่งที่ผ่านมา พบว่ามีหลายบุคคลที่มีอาการเช่นนี้เกิดขึ้น โดยพวกเขาจะเบื่อหน่าย และตั้งคำถามกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ใช้เหตุผลน้อยลง ยอมรับความเป็นจริงน้อยลง และต้องการจะเปลี่ยนชีวิตที่เป็นอยู่ เพื่อให้มีพื้นที่ว่างในชีวิตมากขึ้น เพื่อให้ตัวเองได้สุขสบายเหมือนการได้ไปท่องเที่ยวซึ่งทำให้พวกเขาผ่อนคลาย
 
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ทางออกของอาการดังกล่าวคือ ต้องพยายามปล่อยวางอาการดังกล่าวให้หายไปเอง และพยายามอยู่กับปัจจุบัน ออกกำลังกาย ไปทำกิจกรรมอาสา หรือเรียนวิชาชีพเสริม ซึ่งอาจช่วยผ่อนคลายความเครียด หากคิดว่าชีวิตของเราอาจย่ำอยู่กับที่มากเกินไป

หรืออาจปรึกษาจิตแพทย์ เปิดกว้างและหันไปพูดคุยกับคนอื่นที่ไม่ใช่เพื่อนสนิท หรือครอบครัว และวางแผนชีวิตไว้ ก็จะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยได้

หรืออาจโทรปรึกษา
สายด่วนสุขภาพจิต 1323

เรียบเรียงจาก
ข้อมูล และ ภาพประกอบ : มติชนออนไลน์ 11 กันยายน 2556 

Credit : http://blog.eduzones.com

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

25 ปีเมืองร้างเมืองผีเชอร์โนบิล


     25 ปีที่ผ่านมา ภัยพิบัติจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล
เป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลกเมื่อวันที่ 26 เมษายน 1986(2529) เวลา 01:23  แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลขสี่ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ใกล้เมือง Pripyat พรีเพียต  วิศวกรและคนงานทำงานผิดพลาด ทำให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกิดความร้อนอย่างรุนแรงจนระเบิดขึ้นมา
ยังผลให้เกิดเถ้าถ่านและฝุ่นละอองของกัมมันภาพรังสีปลิวฟุ้งกระจายไปทั่ว  แพร่กระจายไปปกคลุมท้องฟ้าทางตอนเหนือสหภาพโซเวียตรัสเซียและแถบยุโรปตะวันตก  ผลจากภัยพิบัติครั้งนี้คนตายทันทีและจากการที่ได้รับกัมมันตรังสีโดยตรง 50 คน
 ส่วนอีก 4,000 คนตายในภายหลังจากการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนกัมมันตรังสี
     ทำให้ทางการรัสเซียต้องอพยพผู้คนกว่า 350.000 คนให้ออกจากพื้นที่โดยรอบ
 
ในปี 2011(2554) ครบรอบ 25 ปี (ปีที่ช่างภาพได้ไปถ่ายภาพชุดนี้)  25 ปี ภายหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่น่าเศร้าสลด  บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ยังคงสภาพเหมือน เมืองร้าง เมืองผี  สภาพโดยรอบ ๆ ยังดูน่าสะพึงกลัวและน่าสลดหดหู่ใจ
เมื่อมองภาพเหล่านี้ ลองจินตนาการว่า ผู้คนต่างต้องรีบอพยพหนีจากบ้านเกิดเมืองนอน
ทิ้งข้าวของส่วนใหญ่ไว้เบื้องหลัง รวมทั้งบ้านเรือนที่ไม่อาจหวนกลับมาอยู่ได้อีกเลย
 
หมายเหตุ ช่วงหลัง 20 ปีเริ่มมีคนลักลอบเข้าไปในเมืองนี้  เพื่อค้นหาทรัพย์สินที่ตกค้าง ขนไปใช้เองหรือขายในตลาดมืด
   ผู้สนใจติดตาม TotallyCoolPix
โดยเฉพาะช่างภาพ David Schindler เดวิด ชินด์เดอร์
ได้เดินทางไปถ่ายภาพต่าง ๆ ที่เชอร์โนบิล
ทั้งหมดล้วนเป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจและน่าเศร้า
จากการมองย้อนกลับไปวันวานในช่วงปี 1986(2529)
 
                                        

            อันนี้เป็นรูปภายหลัง25ปีที่เมืองนี้ถูกปิดครับ
 
                     
ปลาในแม่น้ำ pripyat รอบๆโรงไฟฟ้า มีอยู่จำนวนมาก ปลาดุกตัวใหญ่ๆนี่ยาว 2 เมตรนะครับ
แต่ยังทานไม่ได้ เพราะในกระดูกปลายังพบรังสีที่สุงเกินค่ามาตรฐาน
   

Credit : http://pantip.com/topic/30669881
http://www.siamboard.net