หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ น้องๆ อาจารย์ ผู้ปกครอง คงจะเข้าใจระะบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในระบบกลางมากขึ้น จะเห็นถึงปัญญหาต่างๆ มากมาย UniGang ขอเรียบเรียงออกมาให้ได้อ่านกันจ้า
ตะเลิง เติ้งๆ เติ้ง ...............................................................
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในแต่ละสมัย
ก่อนปีการศึกษา 2504 มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งดำเนินการสอบเอง
ปีการศึกษา 2504 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ จัดสอบร่วมกันมีสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้ประสานงาน
ปีการศึกษา 2505 มหาวิทยาลัย 5 แห่ง ที่มีอยู่ในขณะนั้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัย ศิลปากร จัดสอบร่วมกัน
ปีการศึกษา 2504 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ จัดสอบร่วมกันมีสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้ประสานงาน
ปีการศึกษา 2505 มหาวิทยาลัย 5 แห่ง ที่มีอยู่ในขณะนั้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัย ศิลปากร จัดสอบร่วมกัน
การสอบคัดเลือกรวมนี้เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการสละสิทธิ์และการเพิ่มจำนวนที่ต้องสำรองที่นั่งจากการที่ผู้สมัครสอบได้หลายมหาวิทยาลัย ทำให้นักเรียนในขณะนั้นต้องเสียเวลาสอบหลายแห่งมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากและมีผู้สมัครเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ปีการศึกษา 2505 มีการจัดสอบเข้ามหาวิทยาลัยร่วมกันครั้งแรก โดยแต่ละปีจัดสอบเพียงครั้งเดียวในช่วงเดือนเมษายน วิชาละสามชั่วโมง แบ่งออกเป็นแผนกวิทย์และแผนกศิลป์ ใช้ข้อสอบแยกกัน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ แผนกวิทย์จะเป็น คณิตศาสตร์ กข แผนกศิลป์จะเป็นคณิตศาสตร์ ก
เป็นเช่นนี้มากว่าสามสิบปี ในช่วงนี้ก็มีหลายมหาวิทยาลัยที่ได้ก่อตั้งขึ้น
-ปีการศึกษา 2509 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้มหาวิทยาลัยต่างๆ กลับไปใช้วิธีสอบแยก แต่การดำเนินการเกิดปัญหามาก มหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องเลื่อนเปิดเทอมออกไป เนื่องจากต้องมีการเรียกสอบสัมภาษณ์เพิ่มหลายรอบ
-ปีการศึกษา 2510 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของสภาการศึกษาแห่งชาติ ให้มหาวิทยาลัยต่างๆ กลับมาใช้วิธีสอบรวมอีก
-ปีการศึกษา 2516 ทบวงมหาวิทยาลัยรับโอนงานสอบคัดเลือกจากสถานศึกษาแห่ง ชาติจนถึงปัจจุบัน
เป็นเช่นนี้มากว่าสามสิบปี ในช่วงนี้ก็มีหลายมหาวิทยาลัยที่ได้ก่อตั้งขึ้น
-ปีการศึกษา 2509 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้มหาวิทยาลัยต่างๆ กลับไปใช้วิธีสอบแยก แต่การดำเนินการเกิดปัญหามาก มหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องเลื่อนเปิดเทอมออกไป เนื่องจากต้องมีการเรียกสอบสัมภาษณ์เพิ่มหลายรอบ
-ปีการศึกษา 2510 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของสภาการศึกษาแห่งชาติ ให้มหาวิทยาลัยต่างๆ กลับมาใช้วิธีสอบรวมอีก
-ปีการศึกษา 2516 ทบวงมหาวิทยาลัยรับโอนงานสอบคัดเลือกจากสถานศึกษาแห่ง ชาติจนถึงปัจจุบัน
การคัดเลือกด้วยระบบ Entrance ระบบใหม่ (พ.ศ.2542-2548)
ปีการศึกษา 2542 ได้มีการนำคะแนนสะสมช่วงชั้นเรียนหรือ GPA มาใช้พิจารณาคะแนนสอบด้วย เพื่อให้นักเรียนเพิ่มความสนใจการเรียนในห้องเรียนด้วย นอกจากนี้ยังมีการสอบสองครั้ง คือในช่วงตุลาคมและมีนาคม โดยแบ่งเป็นแผนกวิทย์และศิลป์เหมือนเดิม วิชาละสองชั่วโมง
โดยเกณฑ์คัดเลือกคือ GPA 10% และ คะแนนสอบวิชาเฉพาะอีก 90 % แต่ได้มีการพยายามปรับเกณฑ์คัดเลือก GPA เพิ่มเป็น 25 % แต่กระแสต่อต้านรุนแรงเลยยังคงใช้สัดส่วนเท่าเดิม
พ.ศ.2547 เกิดกรณีข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว ผู้ที่ถูกสังคมกล่าวหาคือ “อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร” ได้รับผลประโยชน์จากข้อสอบรั่วเพราะการสอบรอบที่ 2 ได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกแบบผิดปกติ ผุ็ถูกกล่าวหานำข้อสอบออกมาคือ วรเดช จันทรศร เลขาธิการสภาการศึกษาโดยนำเอาซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา ซึ่งเป็นเอกสารลับของทางราชการมาเปิดดูและต่อมาได้นำต้นฉบับข้อสอบที่พิมพ์แล้ว มาเปิดตรวจดู พฤติกรรมดังกล่าว แตกต่างไปจากธรรมเนียมปฏิบัติ แต่ผลสรุปคือ ไม่มีข้อสอบรั่วไหลแต่อย่างใด
การคัดเลือกด้วยระบบ Admissions ระยะที่ 1 2549-2552 : O-NET A-NET
พ.ศ.2549 เป็นปีแรกที่มีการใช้ระบบแอดมิชชัน โดยใช้คะแนน O-net A-net และ GPA เป็นตัวพิจารณาในการเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเนื่องด้วยการสอบที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมองว่าข้อสอบ O-net และ A-net จากส่วนกลางไม่ได้มาตรฐาน หลายสถาบันและหลายหลักสูตรจึงหันกลับมารับนักศึกษาด้วยตัวเอง เช่น ข้อสอบของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย(กสพท.) รวมทั้งข้อสอบรับตรงของแต่ละคณะในแต่ละมหาวิทยาลัย (จุดนี้ถูกมองว่าทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ)
เกณฑ์คัดเลือก
- GPAX 10%
- GPA (กลุ่มสาระ) 20%
- O-NET 35-70%
- A-NET และ/วิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา 0-35%
- GPA (กลุ่มสาระ) 20%
- O-NET 35-70%
- A-NET และ/วิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา 0-35%
< ทั้งระบบคัดเลือก และจัดสอบ สอทเป็นผู้ดูแล >
การคัดเลือกด้วยระบบ Admissions ระยะที่ 2 พ.ศ. 2553- ปัจจุบัน : GAT/PAT
ปีการศึกษา 2553 เพิ่มการสอบ GAT PAT โดยจัดสอบปีละสามครั้ง เก็บคะแนนที่ดีที่สุด ใช้ได้สามปี สอบได้ทั้งม.5 และ ม.6 แต่ภายหลังจึงให้สอบเฉพาะ ม.6 เท่านั้น และสอบได้เพียงปีละสองครั้ง เริ่มจัดสอบครั้งแรก มีนาคม 2552 และนำผลคะแนนไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2553 และหน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้งมาดูแลคือ สทศ
ปีการศึกษา 2553 เพิ่มการสอบ GAT PAT โดยจัดสอบปีละสามครั้ง เก็บคะแนนที่ดีที่สุด ใช้ได้สามปี สอบได้ทั้งม.5 และ ม.6 แต่ภายหลังจึงให้สอบเฉพาะ ม.6 เท่านั้น และสอบได้เพียงปีละสองครั้ง เริ่มจัดสอบครั้งแรก มีนาคม 2552 และนำผลคะแนนไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2553 และหน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้งมาดูแลคือ สทศ
< สอทเป็นผู้ดูแลระบบคัดเลือก สทศ ดูแลเรื่องการจัดสอบแทน >
เกณฑ์คัดเลือก
เกณฑ์คัดเลือก
1. GPAX 20%
2. O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30%
3. GAT (General Aptitude Test) 10-50%
4. PAT (Professional Aptitude Test) 0-40%
2. O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30%
3. GAT (General Aptitude Test) 10-50%
4. PAT (Professional Aptitude Test) 0-40%
ปี 2554 ที่่ผ่านมา สทศได้มีการนำข้อสอบและเฉลยของเผยแพร่ ปี 2554 เป็นต้นไป จะไม่มีการนำข้อสอบมาเปิดเผยอีกต่อไป เหตุผลคือต้องการจัดทำคลังข้อสอบ >..< แต่สังคมตั้งข้อสังเกตุว่า ทำเพื่อปกปิดความผิดพลาดการออกข้อสอบผิดของตัวเอง
ปีการศึกษา 2555 ได้มีการเพิ่มวิชาสามัญ 7 วิชาเพื่อใช้ในการรับตรงกลาง ก่อนแอดมิชชัน โดยมีหลายมหาวิทยาลัยนำไปใช้คัดเลือกเด็กในรอบรับตรง เช่น จุฬา กสพท ปัจจุบัน ปีการศึกษา 2557 ได้มีการนำข้อมูล
ปีการศึกษา 2555 มีการเริ่มใช้ระบบ Clearing house เพื่อยืนยันหรือสละสิทธิ์ผู้ที่ได้ที่นั่งจากการสอบตรงแล้ว หากว่าไม่ต้องการจึงสละสิทธิ์ เพื่อมิให้เกิดการกินที่ผู้อื่น ปัญหาคือยังหลายมหาวิทยาลัยไม่เข้าร่วม
ปีการศึกษา 2556 มีปัญหาเรื่ิองข้อสอบ O-NET วิทยศาสตร์ผิดชุด โดยการตัดสินแก้ไขปัญหาในครั้งแรกคือ ให้คะแนนฟรีทุกคน เลยโดนกระแสต้านอย่างหนัก สุดท้ายคือให้จัดสอบใหม่สำหรับคนที่ได้ ข้อสอบผิด
ปัจจุบัน การจัดสอบโดย สทศ ยังคงโดนกล่าวหาเรื่องข้อสอบไม่ได้มาตราฐาน ข้อสอบยากเกินหลักสูตร อยู่ครับ
ปัจจุบัน เด็ก 1 คนต้องสอบเยอะมาก เช่น ถ้าอยากเป็นเภสัช ต้องวิ่งไล่สอบตรง ม.ต่างๆ เช่น ขอนแก่น บูรพา ศิลปากร ต้องสอบ 7 วิชาสามัญ ทั้ง 7 วิชาเพื่อยื่นรับตรง มหิดล และอื่นๆ ต้องสอบ GAT PAT2 และต้องสอบ O-NET อีก 8 วิชา
ปัจจุบัน เด็ก 1 คนต้องสอบเยอะมาก เช่น ถ้าอยากเป็นเภสัช ต้องวิ่งไล่สอบตรง ม.ต่างๆ เช่น ขอนแก่น บูรพา ศิลปากร ต้องสอบ 7 วิชาสามัญ ทั้ง 7 วิชาเพื่อยื่นรับตรง มหิดล และอื่นๆ ต้องสอบ GAT PAT2 และต้องสอบ O-NET อีก 8 วิชา
ถ้ามีข้อมูลตรงไหนผิดพลาดช่วยแจ้งด้วยนะครับ T__T
ขอขอบคุณ Peter Zhang และข้อมูลจาก สอท
และ เรียบเรียงโดย unigang.com
ขอขอบคุณ Peter Zhang และข้อมูลจาก สอท
และ เรียบเรียงโดย unigang.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น