วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

ค้นหาตัวเอง ว่าคุณเป็นเด็กเนิร์ดไหม ?

ค้นหาตัวเอง ว่าคุณเป็นเด


ค้นหาตัวเอง ว่าคุณเป็นเด็กเนิร์ดไหม ?
 
เนิร์ด (Nerd) คืออะไร
ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับ Oxford Advanced Learners
ได้แปลเอาไว้ 2 ความหมาย คือ บุคคลที่แสนจะน่าเบื่อ งี่เง่า และเชยแหลก

และอีกความหมาย คือ บุคคลที่บ้าคลั่งในคอมพิวเตอร์อย่างรุนแรง
 
แต่สำหรับคำนิยามของคำว่า เนิร์ด ที่วัยรุ่นอเมริกานิยมใช้กันนั้นก็คือ
กลุ่มคนที่มีระดับสติปัญญาฉลาดกว่าคนทั่วๆ ไป และชอบในเรื่องที่ชาวบ้านเขาไม่สนใจกัน และจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
คือเข้าสังคมไม่เก่ง ใส่แว่นหนาและชอบอยู่กับกองหนังสือตลอดเวลา
 
สำหรับประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีคำนิยามของเนิร์ดด้วยว่า
“โอตาคุ”
โดยโอตาคุจะมีลักษณะคล้ายๆ กับเนิร์ดเลย แต่จะติดหนังสือการ์ตูนหรือหมกมุ่นกับ anime (หนังการ์ตูน) แทน
 
อย่างไรก็ตาม เชื่อมั้ยครับว่า เทคโนโลยีบนโลกกว่า 90% ถูกสร้างสรรค์โดยกลุ่มคนที่เคยถูกเรียกว่าเป็นเด็กเนิร์ดทั้งนั้นเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นบิลล์ เกตส์ หรือ สตีฟ จ็อบส์ ก็เคยถูกเรียกว่าเป็นเด็ดเนิร์ดทั้งนั้น

ทีนี้เมื่อเราเห็นตัวอย่างเด็กเนิร์ดที่กลายมาเป็นราชาแห่งโลกไอทีแล้ว
การเป็นเด็กเนิร์ดก็ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องแย่เลยจริงมั้ยครับ

credit : http://blog.eduzones.com/studyabroad/124511

วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

เทคนิค อ่านหนังสือ ให้แม่น(ก่อนสอบ) ในเวลาจำกัด



 

1. ต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อการ อ่านหนังสือ ซะก่อนนะจ๊ะ หากมีทัศนคติที่แย่ๆ ต่อการอ่านหนังสือแล้ว อ่านถึง 10 รอบก็ไม่มีทางจำได้ อ่านเยอะอย่างไรก็ไม่เข้าหัวหรอก
2. เมื่อมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือแล้ว ก็ต้องมาสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือด้วย แรงจูงใจจะเป็นตัวผลักดัน และกระตุ้นให้เพื่อนๆ มีความอยากในการอ่านหนังสือ วิธีการสร้างแรงจูงใจก็คือพยายามคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราอ่านหนังสือสำเร็จ เช่น ถ้าเราตั้งใจอ่านหนังสือและเตรียมความฟิตให้ตัวเองจนพร้อมแล้ว เราก็สามารถตะลุยข้อสอบได้ ผลก็คือได้คะแนนเป็นที่น่าพอใจ จากจุดนี้ก็จะทำให้เพื่อนๆ ได้เกรดสูงๆ หรือไม่ก็ Admissions ติด พ่อ แม่ พี่ น้อง ก็จะดีใจ หรืออาจจะได้รับของขวัญเล็กๆ น้อยๆ จากท่านอีกก็ได้
3. พยายามสรุปเรื่องที่เรา อ่านแล้วจำเป็นรูปภาพ ปกติ แล้วมนุษย์จะจำเรื่องราวทั้งหมดเป็นรูปภาพ หลายๆ วิชาที่ไม่มีรูปภาพประกอบทำให้เราอ่านแล้วไม่สามารถจินตาการ หรือจดจำได้ ให้เพื่อนๆ สรุปเรื่องที่เราอ่านแล้ว นำมาทำเป็น My map เพื่อเชื่อมโยงในส่วนที่สัมพันธ์กัน และวาดให้เป็นความเข้าใจของตัวเอง จะทำให้จำได้แม่นขึ้น
4. หาเวลาติวให้เพื่อน เป็นวิธีการทบทวนความรู้ไปในตัวได้ดีที่สุด เพราะเราจะสอนออกมาจากความเข้าใจของตัวเราเอง หากติวแล้วเพื่อนที่เราติวให้เข้าใจ ถือว่าเราแตกฉานในความรู้นั้นได้อย่างแท้จริง
5. เน้นการตะลุยโจทย์ให้เยอะๆ พยายามหาข้อสอบย้อนหลังมาทำให้ได้มากที่สุด เพราะการตะลุยโจทย์จะทำให้เราจำได้ง่ายกว่าการอ่านเนื้อหา
6. เตรียมตัว และให้ความสำคัญในการอ่านหนังสือในวิชาที่เราถนัดมากกว่าวิชาที่ดันไม่ขึ้น เพื่อนๆ หลายคนเข้าใจผิด ไปทุ่มเทเวลาให้กับวิชาที่เราไม่ถนัด วิชาไหนที่เราไม่ถนัด ดันยังไงมันก็ไม่ขึ้น เสียเวลาเปล่า เอาเวลาไปทุ่มให้กับวิชาที่เราทำได้ให้ชัวร์ดีกว่า จะได้เอาคะแนนไปถัวเฉลี่ยกับวิชาอื่นๆ แบบนี้เข้าท่ากว่าเยอะนะ
7. สมาธิเป็นสิ่งสำคัญมากในการอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีสมาธิดี ใครที่สมาธิสั้น จะจำยาก ลืมง่าย ใครสมาธิดี จะจำง่าย ลืมยาก การอ่านหนังสือ ต้องอ่านต่อเนื่องอย่างน้อย ชั่วโมงครึ่ง 30 นาทีแรกจิตใจของเรากำลังฟุ้ง ให้พยายามปรับให้นิ่ง 60 นาทีหลัง ใจนิ่งมีสมาธิแล้ว ก็พร้อมรับสิ่งใหม่ เข้าสู่สมอง ที่สำคัญอย่าเอาขยะมาใส่หัว ห้ามคิดเรื่องพวกนี้ซักพัก เช่น เรื่องหนัง , เกม , แฟน พยายามออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้จิตใจเรานิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิธีการพักสายตาจากการอ่านหนังสือ

วิธีการพักสายตากจาการอ่าวิธีการพักสายตาจากการอ่านหนังสือวิธีการพักสายตากจาการอ่า 
   น้องๆสังเกตไหมเวลาที่เราอ่านหนังสือ หรือนั่งอยู่หน้าคอมฯนานๆจะเกิดอาการ ปวดตา แสบตา และรู้สึกตาบวม นั่นเป็นเพราะกล้ามเนื้อตาเมื่อยล้าจากการทำงานอย่างหนักในการอ่านหนังสือนั่นเอง วันนี้พี่มีวิธีการพักสายตามาให้น้องๆ นำไปใช้เวลาที่ตาเมื่อยล้าจากการอ่านหนังสือค่ะ
   
   วิธีที่ 1 การกระพริบตาวิธีการพักสายตากจาการอ่า
 
วิธีการพักสายตากจาการอ่า   
 
 
   การที่น้องๆอ่านหนังสือหรือนั่งอยู่หน้าคอมฯเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดอาการแสบตา ตาแห้ง การกระพริบตา ช่วยน้องได้ค่ะ เพราะว่าการกระพริบตาใน 1 ครั้ง จะทำให้มีน้ำตามาหล่อเลี้ยง หรือเคลือบดวงตาของเรา ทำให้ตาไม่แห้งโดยเฉลี่ยแล้วเราควรจะกระพริบตา ทุกๆ 2-3 นาที นะคะ
 
   วิธีทื่ 2 การหลับตาวิธีการพักสายตากจาการอ่า
 
วิธีการพักสายตากจาการอ่า   

 
   การหลับตาเป็นวิธีพื้นฐาน ที่ช่วยคลายความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อสายตาได้ดี วิธีหนึ่งค่ะ เพราะการหลับตานั้นจะทำให้กล้ามเนื้อดวงตาของเราได้พัก
   
   วิธีที่ 3 การโฟกัสใกล้ไกลวิธีการพักสายตากจาการอ่า
 
วิธีการพักสายตากจาการอ่า   
 
   ให้น้องๆ วางหนังสือลงและกวาดสายตาไปมาใช้ดวงตาโฟสกัสใกล้ไกลของวัตถุและวัตถุควรอยู่ห่างจากเราประมาณ 20 ฟุตแล้วกลับมามองหนังสือทำแบบนี้ซ้ำๆ หรือมองวัตถุที่เคลื่อนไหวได้ก็จะเป็นการช่วยให้สายตาเราได้ผ่อนคลาย
 
   วิธีที่ 4  มองหาสีเขียววิธีการพักสายตากจาการอ่า 
 
วิธีการพักสายตากจาการอ่า

 เชื่อกันว่าสีเขียวสามารถทำให้สายตาของเราได้พักผ่อน เนื่องจากสีเขียวเป็นสีโทนเย็นควรจะเป็นสีเขียวของต้นไม้ ใบหญ้า จึงจะทำให้สายตาของเราได้ผ่อนคลาย น้องๆควรหาต้นไม้เล็กๆมาวางไว้ในห้อง หรือโต๊ะคอมพิวเตอร์ เพื่อจะได้เป็นจุดผ่อนคลายสายตาของน้องอีกวิธีหนึ่งนะคะ 
 
   วิธีที่ 5 ฝ่ามือบำบัดวิธีการพักสายตากจาการอ่า 

 
วิธีการพักสายตากจาการอ่า

 การทำเช่นนี้หลายคนอาจจะมีหลายวิธีแตกต่างกันไป ที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง คือ การนำมือทั้งสองข้างมากดไว้ตรงบริเวณดั้งจมูกแล้วมองที่จุดเดียว เพื่อเป็นการหักเหของแสงและให้น้องๆหลับตาลง นับ 1-5 แล้วลืมตาขึ้นนับ 1-5 ทำแบบนี้ซ้ำๆ ประมาณ 5 ครั้ง ก็เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณ รอบดวงตาของเราได้ค่ะ หรือจะเป็นวิธีแบบนี้ก็ได้ค่ะ ให้นำมือทั้งสองข้างมาถูกัน เหมือนกับเวลาที่เราหนาวนั้นเองค่ะแล้วนำมือทั้งสองข้างมาประกบไว้ที่ตา หลับตาลงทิ้งไว้สักพัก ทำซ้ำแบบเดิมประมาณ 2 - 3 ครั้ง เพื่อให้ความอุ่นผ่านเข้าดวงตาเป็นการผ่อนคลายสายตาได้อีกวิธีหนึ่งค่ะ
 
 วิธีการพักสายตากจาการอ่า 
 
   เอาละตอนนี้น้องๆรู้วิธีการพักสายตา เวลาที่เราอ่านหนังสือหนักๆ เป็นเวลานานแล้วนะคะ ก็อย่าลืมนำวิธีที่พี่เอามาฝากไปใช้นะคะ เพื่อเป็นการบำรุงสายตาของเราให้สดใส แถมเรายังสามารถอ่านหนังสือได้นานขึ้นอีกด้วยค่ะ สำหรับน้องที่ใกล้จะสอบแล้วก็สู้ๆนะคะ....

credit : http://blog.eduzones.com/rabbitsmile/123182

อ่านหนังสือ ไม่อยากง่วงต้องอ่าน!

อ่านหนังสือ ไม่อยากง่วงต
หากหลายๆคนต้องพบเจอกับปัญหา ที่ต้องง่วงทุกทีเวลาอ่านหนังสือ พี่ก็เป็นเหมือนกันนะ 55 วันนี้เรามีวิธีแก้ไขไม่ยากเลยง่ายๆแต่จะสำเร็จไหม?ก็อยู่ที่ตัวเราอีกทีนะคะ ^_^

1. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่จะนำเราไปสู่การหลับฝัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนอนอ่านหนังสือหรือนั่งอ่านบนเตียงเนี่ยแหล่ะ เคยเป็นมั้ยนั่งอ่านอยู่แล้วไถลไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นท่านอน แล้วก็หลับคาหนังสือไปในที่สุด เพราะฉะนั้นเป็นไปได้อยู่ห่างจาก เตียง หมอน โซฟา อะไรที่ให้ความรู้สึกนุ่มๆ เคลิ้มๆ หรือสร้างบรรยากาศถึงการหลับนอนทิ้งไปให้หมด

2. อ่านในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ
เคยเห็นในหนังมั้ยที่แบบปิดไฟมืดๆ แล้วเรามานั่งบนโต๊ะ เปิดไฟเหลืองๆ สลัวๆอ่านหนังสือ บางคนคงแบบอย่างนี้อ่ะดีจัดบรรยากาศการอ่านหนังสือให้โรแมนติก 55+ รับรองว่าเราจะได้โรแมนติกกันถึงในฝันแน่นอน เพราะว่าในการอ่านตาของเราต้องการแสงสว่างที่เพียงพอ ถ้าอ่านในที่สลัวๆตาของเราจะต้องทำงานหนัก เมื่ออ่านได้สักพักก็จะเกิดอาการเมื่อยล้าของดวงตา จนต้องหลับเพื่อพักสายตาในที่สุด ดังนั้นถ้าอยากอ่านหนังสือได้นานๆ ต้องอ่านในที่สว่างไว้ดีที่สุด

3. step by step
เวลาอ่านหนังสือไปทีละเรื่องอย่าข้ามเรื่อง สังเกตุได้จากเวลาเรียนเช่นกัน เวลาเราขาดเรียนไปนานๆ พอเข้ามาเรียนแล้วเรียนไม่รู้เรื่องเราก็จะง่วงและหลับลงในที่สุด เพราะงั้นการเรียนและการอ่านเราต้องไปทีละขั้น ตามเนื้อหาของมัน จำไว้นะคะ ความงงเป็นบ่อเกิดของความง่วง  งงมากก็ง่วงมาก งงน้อยก็ง่วงน้อย ไม่งงเลยก็จะไม่ง่วงเลยจ้า ^^

4. กินแต่พอดี
การกินอาหารก่อนการเรียนหรืออ่านหนังสือนี่ก็เกี่ยวนะ เราควรกินพอดีๆ ไม่ให้อิ่มมากเกินไป ตามคำกล่าวที่ว่า “หนังท้องตึง หนังตาหย่อน” ถ้าอิ่มมากๆจะทำให้เราง่วง

5. พักผ่อนให้เพียงพอด้วยล่ะ
เคยรู้สึกมั้ยครับวันไหนที่เรานอนมาเต็มที่ทั้งวันและ จะพยายามนอนอีกเท่าไหร่ก็นอนไม่หลับเพราะร่างกายเรามันพักผ่อนเต็มที่ไปแล้ว เพราะงั้นการพักผ่อนให้เต็มที่ก็เป็นวิธีป้องกันที่ดีอีกทางหนึ่ง

6. อย่าหักโหมให้มากเกินไป
ความพอดีอีกแล้วครับ การอ่านหนังสือเนี่ยเราจะต้องใช้สมองไปด้วย แน่นอนว่ายิ่งใช้มากก็จะเหนื่อยล้า เพราะฉะนั้นเราก็ควรมีช่วงเวลาพักครึ่งในการอ่านหนังสือบ้าง แล้วค่อยกลับมาอ่านต่อ วิธีการผ่อนคลายสมองไว้จะมาเล่าในโอกาสหน้านะ

credit : http://blog.eduzones.com/moobo/124125

8 วิธีมั่วข้อสอบ (ให้ได้คะแนนบ้าง)

นักเรียน หลายคนคงไม่มีใครอยากทำข้อสอบแบบส่งๆขอไปทีหรอก คะแนนเราทั้งทีอยากได้เกรด 4 แต่ทำข้อสอบไม่ได้จริงๆ พี่เข้าใจ วันนี้ทีนเอ็มไทยก็เลยจะมาบอก 8 วิธีมั่วข้อสอบให้ได้คะแนนบ้าง ! (ไม่ได้เต็มร้อย แต่ได้คะแนนบ้างก็ยังดี ) ใช่ไหมคะเพื่อนๆ
8 วิธีมั่วข้อสอบ (ให้ได้คะแนนบ้าง)
1. อ่านคำถามทุกข้อ ข้อไหนทำได้ ให้ทำอย่างรอบคอบ ข้อไหนทำไม่ได้ให้ผ่านไปก่อน
2. ย้อนกลับมาพิจารณาข้อที่ไม่ได้ทำ หรือข้ามไปอีกครั้ง
3. ค่อยๆ ตัดช้อยส์ที่แน่ใจว่าไม่ใช้คำตอบออกไปทีละข้อ เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการมั่วได้ถูกต้อง เช่นตัดช้อยส์ที่ไม่ใช่ออกไป จนเหลือช้อยส์ที่ไม่แน่ใจ2ข้อนั้นแสดงว่า เรามีเปอร์เซ็นต์กาถูก50เปอร์เซ็นต์
4. ช้อยส์ที่แย่งกันเอง มักจะมีข้อใดข้อหนึ่งถูก เนื่องจากเวลาคิดช้อยส์ให้นักเรียนตอบ อาจารย์จะคิดคำตอบที่ถูกต้องก่อน แล้วจึงหาคำตอบที่ผิดมาใส่ให้ครบจำนวนข้อซอยส์ ซึ่งวิธีคิดคำตอบที่ผิดที่ง่ายที่สุดก็คือ คิดคำตอบที่ตรงกันข้ามกับคำตอบที่ถูกต้อง
5. ช้อยส์ที่เหมือนกันมักจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง สามารถตัดทิ้งได้เลย เพราะถ้าข้อหนึ่งถูก อีกข้อหนึ่งก็ถูกต้อง
6. ช้อยส์ ไม่มีข้อใดถูก มักจะเป็นช้อยส์หลอก เพราะการคิดช้อยส์ให้ผิดยากกว่าคิดช้อยส์ให้ถูก นอกจากอาจารย์ท่านนั้นจะขึ้นชื่อว่าเป็นเทพในการออกข้อสอบ
7. ข้อที่อับจนปัญญา ไม่สามารถจะเดาได้ว่าจะเป็นข้อใด ให้กาช้อยส็ที่เรากาน้อยที่สุดของคำตอบ
8. ให้ทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ แม้ข้อสอบนั้นเราจะยังไม่ได้คำตอบก็ตาม เพราะถ้าไม่ตอบแสดงว่าคะแนนข้อนั้นของเราเท่ากับ 0
---------------------
เพิ่มเติมจากคุณ Shifted จะมาแนะนำ เทคนิคเสริมของพวกเด็กแข่ง เด็กเตรียม เขาจะใช้วิธีอะไรไปดูกัน
0.การตัดช็อยส์
เป็นขั้นพื้นฐานที่สุดของการมั่ว ทุกคนควรทำเป็นนะแจ๊ะ
1.กฏหมู่มาก :“ตัวเลือกย่อยที่ปรากฏบ่อยใน”
เช่น ช็อยส์มี
ก. 1 2 ข.1 3
ค. 1 2 3 ง.2 4
แบบนี้ให้ assume ว่า 1 ถูกเลย เพราะมีจำนวนมากถึง 3/4 เทคนิคนี้ใช้ไม่ได้ทุกครั้ง แต่ก็ได้บ้าง
2.กฏการกระจายตัว : “ในข้อสอบฉบับใดๆ มักจะมีการกระจายช็อยส์ไม่ให้ลงช็อยส์หนึ่งมากเกินไปเพื่อป้องกันนักเรียนดิ่ง”
ดังนั้นถ้าเราทำมา 15/20 ข้อ(อย่างมั่นใจ)แล้วมี ง. น้อย ถ้าจะดิ่งก็ดิ่ง ง. เสีย
3.กฏความขัดแย้ง-สัมพันธ์ของตัวเลือก : “ถ้าช็อยส์2ช็อยส์ใดๆในตัวเลือกมีความขัดแย้งกัน คำตอบจะอยู่ในหนึ่งในสองช็อยส์นั้น”
“ถ้าช็อยส์2ช็อยส์ใดๆในตัวเลือกมีความสัมพันธ์กัน(เหมือนกัน) คำตอบจะอยู่ในสองช็อยส์ที่ไม่ใช่สองช็อยส์นั้น”
4.การเดาใจคนออกข้อสอบ : ในหลายครั้งนั้น ข้อสอบผิด แต่เขาไม่ได้แจกฟรีเสมอ ดังนั้น เราจึงควรเดาใจว่าคนออกต้องการจะสื่ออะไร เพื่อคะแนน!
5.การประมาณช่วงของคำตอบ : ใช้ ได้กับวิชาเลข สำหรับคนที่โปรหน่อย ให้เราประมาณช่วงของคำตอบไว้ล่วงหน้า เช่น มันน่าจะอยู่ในช่วง 9-24 แล้วเวลาทำเสร็จ ถ้ามันผิดเราจะรู้ได้
6.การแทนสวนกลับ : อันนี้น่าจะรู้จักดีทุกคน คือเอาช็อยส์แทนค่าสวนกลับไปในโจทย์เลยว่าจริงไหม แต่บางที เราต้องประมาณค่าก่อนสวน ไม่งั้นมันแก้ไม่หลุด
7.การสมมติค่าตัวแปร : ถ้า โจทย์ให้สมการมีตัวแปรมาเยอะๆ แล้วโจทย์ถาม “ค่า” แล้วช็อยส์ไม่ติดตัวแปร เราสามารถสมมติตัวแปรอะไรก็ได้ที่สัมพันธ์กับโจทย์ อัดเข้่าไปได้เลย (เพราะคำตอบนี้ต้องเป็นจริงสำหรับทุกช่วงค่าตัวแปร)
8.สัญชาตญาณ : แล้วแต่ของใครของมัน

credit : http://saengpaeng.blogspot.com/2014/03/8.html

เคล็ดไม่ลับระดับสามัญชน ทำคนเลิกโง่คณิต

เนื่องจากเรียนด้านคณิตแสดดด และก็สอนคณิตแสดดด บางครั้งมีคนมาถามผมว่า ทำยังไงถึงจะเก่งคณิตแสดดดวะแสดดด(สงสัยคนถามเป็นเด็กแว้นซ์ -..-) อันนี้ผมบอกไปตรงๆเลยว่า ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะถ้านับถึงวันนี้ผมมีความรู้สึกว่าตัวเองก็ไม่ใช่คนที่เก่งอะไรมากมาย

เฮ้ อันนี้ไม่ได้แกล้งถ่อมตัวให้น่าหมั่นไส้ซักกระนิดโหยว์ชิทโหยว์ เพียงแต่ว่า ผมไปเจอคนที่เขาเก่งจริงมาแล้ว ผมถึงกล้าบอกได้ว่า ผมยังไม่เก่ง

เถอะ! เอ๊นิ่เวย์ วันนี้เราจะไม่พูดถึงความเก่งขั้นเทพอะไรมากมาย เราจะมาเว้ากันซื่อๆแบบสามัญชนคนอบต. (เกี่ยวไรกัน -*-) 
,,, ,,, ,,, 
เคล็ดไม่ลับระดับสามัญชน ทำคนเลิกโง่คณิตแสดดด

1.ความกล้าหาญ

สิ่งแรกที่เราควรจะมีในการเรียนคณิตแสดดดไม่ใช่ความเก่งกาจ หรือทักษะอะไรเลยทั้งนั้น แต่มันคือความกล้าหาญ กล้าที่จะเปิดใจ กล้าที่จะยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ และกล้าที่จะผิด
โจทย์คณิตไม่ใช่กฎจราจรครับพี่ ทำผิดก็ไม่มีใครมาเรียกไปเสียค่าปรับ
,,, ,,, ,,,
2.ซ้อม ซ้อม ซ้อม แล้วก็ซ้อม

อันที่จริง ไม่ใช่เฉพาะคณิตแสดดดหรอกครับ มันก็ทุกวิชานั่นแหละ ที่จะต้องอาศัยการฝึกฝนและซ้อมเพื่อพัฒนาตัวเอง

การซ้อม อาจจะไม่ได้ทำให้เราเป็นคนที่เก่งที่สุด แต่ผมเอาปลายหนวดเป็นประกันเลยว่าการซ้อมจะทำให้เราไม่ใช่คนที่โง่ที่สุด
ท่องไว้ "ฝึกหนัก จักรอดตาย" 
,,, ,,, ,,,
3.พยามพอหรือยัง?

อุปสรรคไม่ได้มีไว้ขวางเรา แต่อุปสรรค คือสิ่งที่ความสำเร็จส่งมาลองใจเรา

ทำโจทย์คณิตไม่ได้ แล้วขว้างปากกาทิ้ง พลางพร่ำเพ้อว่า แอร๊ยยย อิฉันมันโง่ว์ อร๊างงง กระผมมันโง่ว์
ทำอย่างนั้นมันโน้ว์กู้ดดดน้องเอ๊ย

พยามอีกครั้งสิ โจทย์คณิตไม่ใช่อีตัว จะทำกี่ครั้งก็ไม่เสียเงินเพิ่ม

หมดไอเดียทำเหรอ ครูมี ผู้รู้มี ตำรามี อินเตอร์เน็ทมี จงใช้

หลังจากพยายามเต็มกำลังอย่างแท้จริงแล้ว ถึงมันจะทำไม่ได้ขึ้นมา แต่ใครว่ามันเสียเปล่า เพราะอย่างน้อยในระหว่างพยายาม เราก็ได้ความรู้จากการพยายามหาคำตอบยังไงล่ะ
,,, ,,, ,,,
4.คิดถึงหัวอกมันบ้าง

เกิดเป็นวิชาคณิตแสดดดนี่แม่งโคตรอาภัพ ทั้งๆที่มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติเหลือหลาย แต่เด็กๆมักจะมองว่าช่างเป็นวิชาที่ไร้ค่าและน่ากลัวซะเหลือเกิน ให้กูเรียนแทบตาย สุดท้ายกูก็ไม่ได้เอาไปใช้

โอเคว่า แต่ละคนอาจจะใช้ความรู้คณิตแสดดดในการทำมาหากินและชีวิตประจำวันมากน้อยแตกต่างกันออกไป

แต่อย่าลืมว่า ถ้าอยากใช้ชีวิตอย่างโล่งใจสบายตูดส์ เราก็ต้องรู้จักคิดอย่างเป็นระบบ และรู้จักการให้เหตุผล ซึ่งการคิดอะไรเทือกนี้เราก็ซึมซับจากการที่เราทำโจทย์คณิตที่พวกเรารังเกียจซะเหลือเกินนั่นแหละ
,,, ,,, ,,,

5.อย่าทำตัวเป็นเครื่องคิดเลข

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อาจจะคิดเลขได้ไม่เร็วเท่าเครื่องคิดเลขห่วยๆราคาไม่ถึงร้อยตามท้องตลาด

ไอแซค นิวตัน อาจจะแก้โจทย์แคลคูลัสได้ไม่เร็วเท่าซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์สมัยใหม่

แต่ทำไมเรายังคงให้การยอมรับในความเก่งกาจของท่านเหล่านี้อยู่?

คณิตแสดดดไม่ใช่แค่เรื่องของการคิดเลข หรือคำนวณ แต่สิ่งสำคัญของคณิตแสดดดคือการรู้จักการให้เหตุผลและกลวิธีในการนำไปใช้

เครื่องคิดเลขไม่ต่างอะไรจากของเล่นเด็ก ถ้าเจ้าของไม่รู้ว่า ตัวเองจะใช้คำนวณหาอะไร มีวิธีการคำนวณอย่างไร และนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร

การมีทักษะในการคำนวณเป็นเรื่องที่ดี แต่การให้เหตุผลว่าคำนวณอย่างนั้นทำไม และนำผลลัพธ์ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ คือจุดประสงค์ที่แท้จริงของการเรียนคณิตแสดดด

,,, ,,, ,,,

เอาล่ะ 5 ข้อ พอ ถ้าเยอะกลัวจำไม่ได้ *3*)/

เปลี่ยนคณิตแสดดด เป็นคณิตแซบบบ แล้วหม่ำมันซะตั้งแต่ตอนนี้เลย
              http://saengpaeng.blogspot.com/2014/03/blog-post_2.html

นิยายทำให้สมองทำงานดีขึ้น

เมื่อมีคนบอกว่า การอ่านหนังสือทำให้สมองดี เรามักนึกถึงแต่ตำราเรียน หรือ หนังสือทางวิชาการทั้งหลาย แต่งานวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เผยว่า หนังสือนิยายก็ทำให้สมองเราดีขึ้นได้เช่นกัน
พ่อแม่หลายคนมองว่า หนังสือนิยายที่ลูกๆอ่าน เป็นเพียงหนังสือที่ไม่มีสาระ และไม่น่าทำให้สมองดีขึ้นได้เท่ากับตำราเรียน แต่ผลการวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัยเอมมอรี ในสหรัฐฯ พบว่า การอ่านหนังสือนิยายดีๆสักเล่ม สามารถทำให้อวัยวะส่วนต่างๆในสมองทำงานเชื่อมโยงกันมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองนี้จะคงอยู่ไปอีกอย่างน้อย 5 วัน

การศึกษานี้มาจากการทดลองกับนักศึกษา 21 คน ที่อ่านนิยายเรื่อง ปอมเปอี ของ นายโรเบิร์ต แฮร์ริส ซึ่งเป็นนิยายระทึกขวัญที่มีพล็อตเรื่องตื่นเต้นน่าติดตาม เรื่องนี้เกี่ยวกับ คนๆหนึ่งที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดที่ปอมเปอี ในช่วง 19 วัน นักศึกษากลุ่มนี้จะต้องอ่านนิยายดังกล่าวทุกเย็น และจะมีการสแกนสมองในเช้าวันรุ่งขึ้น เมื่ออ่านจบเล่มแล้ว ก็มีการสแกนสมองต่ออีกเป็นเวลา 5 วัน

ผลการศึกษาพบว่า การอ่านหนังสือนิยายสามารถทำให้ส่วนต่างๆในสมองทำงานเชื่อมโยงกันมากขึ้น และไม่เพียงแค่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสมองในระยะสั้น แต่ยังส่งผลได้นานกว่า 5 วัน โดยการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทนี้จะคงอยู่ต่อไป คล้ายกับความทรงจำของกล้ามเนื้อ หมายความว่า การอ่านหนังสือนิยายเป็นการบริหารสมองอีกทางหนึ่ง และเมื่อมีการบริหารสมองบ่อยๆ สมองก็จะจดจำรูปแบบการทำงานดังกล่าวได้ คล้ายการที่เราบริหารร่างกาย แล้วสมองจะสามารถสั่งการโดยอัตโนมัติ ให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวด้วยทิศทาง จังหวะ และน้ำหนักที่ได้เคยฝึกฝนไว้
credit : http://saengpaeng.blogspot.com/2014/03/blog-post_3.html

5 นิสัย เสี่ยงโรคซึมเศร้า

5 นิสัย เสี่ยงโรคซึมเศร้
โรคซึมเศร้า เป็นภาวะทางอารมณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถหาความสนุกหรือความพึงพอใจในชีวิตประจำวันได้ นอกจากจะทำให้ขาดความสุข ยังดึงพลังในการใช้ชีวิต พลังสมอง ของเราไป ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการทำงาน และสุขภาพกายก็อาจแย่ลงไปด้วย เรียกว่าส่งผลร้ายทั้งต่อร่างกายและจิตใจเลยทีเดียว

เรามาลองสังเกตตัวเองกันค่ะ ว่ามี นิสัย ที่เสี่ยงโรคซึมเศร้าหรือไม่ พร้อมวิธีแก้ไขหากเรามีนิสัยนั้นค่ะ
นิสัยเสี่ยงโรคซึมเศร้า ข้อที่ 5 นิสัย เสี่ยงโรคซึมเศร้
ไม่ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ การอยู่แต่ในบ้านโดยไม่ทำกิจกรรมใดๆเลย จะทำให้เราเริ่มรู้สึกขี้เกียจและทำให้เรากินตลอดเวลา ซึ่งความรู้สึกขี้เกียจกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้เอง ที่จะทำให้เราเสียความมั่นใจในตัวเอง และนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ดังนั้น ควรหันมาออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 40 นาที เพื่อให้สมองได้หลั่งสารความสุขอย่าง เซโรโทนิน และ โดปามีน
นิสัยเสี่ยงโรคซึมเศร้า ข้อที่ 5 นิสัย เสี่ยงโรคซึมเศร้
ชอบทานอาหารที่ไม่มีคุณค่า
การรับประทานอาหารที่ดีนั้น ส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ โดยสำหรับอาหารสมองชั้นเยี่ยมที่แนะนำ คืออาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน โอเมก้า 3 ซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ เราจึงต้องแน่ใจว่าได้รับมันมากพอ เพื่อไม่ให้สมองตกอยู่ในภาวะเปราะบางและเข้าสูภาวะซึมเศร้า สำหรับอาหารที่มีโอเมก้า 3 มาก คืออาหารทะเล และอาหารจำพวกปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำเย็น
นิสัยเสี่ยงโรคซึมเศร้า ข้อที่ 5 นิสัย เสี่ยงโรคซึมเศร้
นอนหลับไม่เพียงพอและเครียด
เมื่อไรที่เรานอนหลับไม่เพียงพอ เรากำลังสร้างสภาวะที่จะนำตัวเองเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าทันที ทางการแพทย์บอกไว้ว่า เราควรนอนหลับให้ได้อย่างน้อย 7–8 ชั่วโมงทุกคืน พฤติกรรมการอ่านหนังสือบนเตียง ทำงานคอมพิวเตอร์ หรือนอนดึก เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เรานอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะหงุดหงิดและวิตกกังวล ซึ่งเป็นภาวะเบื้องต้นของโรคซึมเศร้านั่นเอง และเมื่อสุขภาพจิตเราปั่นป่วน การทำงานก็มักไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งใจ ก่อให้เกิดเป็นความเครียดเพิ่มขึ้นอีก และส่งผลทำให้เรานอนไม่หลับ และเมื่อเรารู้สึกว่าควบคุมชีวิตไม่ได้ เมื่อนั้นโรคซึมเศร้าก็จะถามหา
นิสัยเสี่ยงโรคซึมเศร้า ข้อที่ 5 นิสัย เสี่ยงโรคซึมเศร้
เก็บตัว
การเก็บตัวไม่สุงสิงกับใคร จะส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าเช่นกัน เมื่อเราเริ่มหลบหน้า หรือปลีกตัวออกจากผู้คน ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เรากำลังสร้างสภาพแวดล้อมที่จะบ่มเพาะโรคซึมเศร้าให้เกิดขึ้น เพราะการเข้าสังคมและพบปะผู้คนนั้น จะช่วยเสริมสร้างสมองให้แข็งแรง และเป็นภูมิคุ้มกันเราจากโรคซึมเศร้าเป็นอย่างดี และยังเป็นการกำจัดความเครียดได้อีกด้วย
นิสัยเสี่ยงโรคซึมเศร้า ข้อที่ 5 นิสัย เสี่ยงโรคซึมเศร้
คิดมาก
ความคิดเชิงลบ เป็นปัจจัยสำคัญอีกตัว ที่จะดึงเราเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า ยิ่งเราสะสมความคิดเชิงลบในแต่ละวันมากเท่าไหร่ ภาวะซึมเศร้าก็จะก่อตัวมากขึ้นเท่านั้น การคิดหมกมุ่นเรื่องการสูญเสีย ความพ่ายแพ้ ความผิดหวัง ต่างๆเป็นความคิดซึ่งจะทำให้ไร้ความสุข ให้จำไว้ว่ามีหลายสิ่งในชีวิตที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่สิ่งที่เราควบคุมได้ก็คือ ความรู้สึกนึกคิดของเรานั่นเอง ดังนั้น ลองเปลี่ยนมุมมอง หาสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นรอบตัวแทนที่จะไปจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เลิกจมอยู่กับความผิดพลาด แต่ต้องมองไปข้างหน้าและก้าวต่อไปให้ได้

เรียบเรียงโดย Riya www.eduzones.com
ข้อมูล : ไทยรัฐออนไลน์ 1 มีนาคม 2557
photo : dailyrecord.co.uk (photo is not related to the article)
credit : http://blog.eduzones.com/snowytest/124078