วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรควุ้นในลูกตาเสื่อม


โรควุ้นในลูกตาเสื่อม ภัยใกล้ตัวของผู้ใช้คอมพิวเตอร์


โรควุ้นในลูกตาเสื่อม
    ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆเพิ่มขึ้นมามากมาย รวมไปถึงคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน ซึ่งบางคนอาจจะต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทุกวัน วันละหลายๆชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการอยู่กับคอมพิวเตอร์นานๆด้วยสาเหตุอะไร เช่น ทำงาน เล่นอินเตอร์เน็ต หรือ เล่นเกมส์ โรควุ้นในตาเสื่อม ก็เป็นอีกหนึ่งโรค ที่เป็นผลพวงมาจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ซึ่งในขณะนี้ มีผลสำรวจจากทางหนังสือพิมพ์มาแล้วว่า มีผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วกว่า 14 ล้านคนในประเทศไทย และ 14 ล้านคนนี้เป็นแ่ค่ผู้ที่มีข้อมูลบันทึกไว้เท่านั้น ยังมีคนอีกมากที่เป็นอย่างไม่รู้ตัว


• ลักษณะอาการของโรคนี้เป็นอย่างไร       สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้ให้ลองสังเกตุจากตัวเองได้เลยว่าลักษณะการมองเห็นของเราเป็นอย่างไร โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะเห็นเป็นคราบดำๆ คล้ายหยากใย่ ซึ่งการตรวจสอบจะมองเห็นได้ชัดเจนในที่ๆเป็นพื้นที่สีสว่างๆ เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ผนังห้องขาวๆ ซึ่งอาการที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือประสาทของลูกตาฉีกขาด จะทำให้คุณได้เห็นกับแสงแฟลซในที่มืด ไม่ว่าจะลืมตา หรือหลับตา ก็สามารถมองเห็นได้ ลักษณะนี้เข้าขั้นอันตราย ควรไปปรึกษาจักษุแพทย์ เป็นการด่วน




• แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไรหล่ะ ?
       
โรคนี้เกิดขึ้นจากการใช้สายตาที่มากจนเกินไป โดยปกติแล้วในสมัยก่อนโรคนี้ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุปัน มีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มากขึ้น และ ไม่จำกัดช่วงอายุวัย แล้วเสียด้วย เพราะในปัจจุบันผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ต้องนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ เป็นเวลานานๆ มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงการดูโทรทัศน์ และ อ่านหนังสือในที่ๆแสงสว่างไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน การอ่านตัวหนังสือที่อยู่ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะอ่าน นิยาย ไดอารี่ บทความ สามารถทำให้สายตาคุณเสียได้ทั้งสิ้น เพราะถ้าการอ่านหนังสือจากกระดาษธรรมดา ระยะห่างระหว่าง ลูกตา กับ ตัวหนังสือ จะคงที่ แน่นอนเพราะขอบของตัวหนังสือจะคมชัด ทำให้สมองกะระยะโฟกัสได้ถูกต้องแน่นอนกว่า กล้ามเนื้อและประสาทตาจึงทำงานค่อนข้างคงที่ แต่ ! ตัวหนังสือบนจอคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเป็นจุดๆ ประกอบกัน เหมือนแขวนลอยบนจอ ขอบของตัวหนังสือไม่คมชัด สมองจะสับสนในการปรับระยะโฟกัส (เพราะจอแก้ว จะมีความหนาของแก้ว แต่เรามองผ่านมันไป และ จอ LCD เราก็ต้องมองผ่านเข้าไปเหมือนกัน ตัวหนังสือไม่ได้ติดอยู่ด้านบนเหมือน อยู่บนแผ่นกระดาษ) ทำให้การปรับระยะโฟกัสนั้นไม่แน่นอน บวกกับลักษณะของการอ่านหนังสือบนคอมพิวเตอร์ เราจะต้องใช้เมาส์เลื่อนลงอยู่เรื่อยๆ ทำให้การมองเห็นจะดูกระตุกๆ และการพิมพ์ตัวหนังสือก็เช่นเดียวกัน ทำให้คุณต้องก้มๆเงยๆ อยู่ตลอดเวลา (ในกรณีของคนที่พิมพ์แล้วต้องมองแป้น) ซึ่งหลังจากทำกิจเหล่านี้ไปนานๆ จะทำให้คุณเกิดอาการปวดลูกตา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น