วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

จัตุรัสแห่งดวงดาว

จัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ .. จัตุรัสแห่งดวงดาว






จัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์




จัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์




ป้ายจัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์




จัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ (ฝรั่งเศส: Place Charles de Gaulle) หรือในอดีต จัตุรัสแห่งดวงดาว (ฝรั่งเศส: Place de l'Étoile) เป็นจัตุรัสในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยมีถนน 12 สายมาบรรจบกัน ทำให้มีลักษณะเหมือนดวงดาว 

ตรงกลางของจัตุรัสเป็นที่ตั้งของประตูชัยฝรั่งเศส จัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์เป็นส่วนหนึ่งของแนวเส้นตรงทางประวัติศาสตร์ (Axe historique) อันเลื่องชื่อ

สถานที่แห่งนี้มีสถานีรถไฟฟ้า : ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ - เอตวล ให้บริการ 


ประวัติ

ชื่อเดิมของสถานที่แห่งนี้คือ เนินเชโยต์ (Butte de Chaillot) ซึ่งต่อมามาริญี ก็มีโครงการปรับแนวดินให้เสมอกัน (บริเวณเชโยต์) และกำลังปรับปรุงชองป์-เซลิเซ่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโครงการนี้ได้สำเร็จลุล่วงในปี พ.ศ. 2320

ชื่อ "ดวงดาว" (l'Étoile) เป็นชื่อเดิมของสถานที่แห่งนี้ สืบเนื่องมาจากถนนหลายสายที่มาบรรจบกัน ทำให้มีลักษณะเหมือนดวงดาว จึงเป็นที่มาของชื่อ "จัตุรัสแห่งดวงดาว" (Place de l'Étoile) ซึ่งในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 นั้น สถานที่แห่งนี้เป็นเพียงทางแยกล่าสัตว์เท่านั้น

การก่อสร้างประตูชัยฝรั่งเศสกลางจัตุรัสได้เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2379 ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1

จัตุรัสแห่งดวงดาว (Place de l'Étoile) ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น จัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ (Place Charles de Gaulle) หลังจากการอสัญกรรมของประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอ โกลล์ ในปี พ.ศ. 2513 เพื่อเป็นการรำลึก แต่ถึงกระนั้นชื่อจัตุรัสแห่งดวงดาว (Place de l'Étoile) ก็ยังเป็นที่นิยมเรียกในปัจจุบัน


ลักษณะ

ถนน 12 สายมาบรรจบกัน ณ จัตุรัสแห่งนี้ทำให้มีรูปร่างเป็นดวงดาว ถนนทั้ง 12 สาย (ตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ) มีดังนี้ :

1.ถนนวากรอง (Avenue de Wagram) เรียกมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 เดิมเรียกว่า ถนนเลตวล (Boulevard de l'Étoile) หรือ ถนนเบอซงส์ (Boulevard Bezons)

2.ถนนออช (Avenue Hoche) ในสมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 มีชื่อว่า ถนนแรน-ออร์ตองซ์ (Avenue de la Reine-Hortense) และก่อนหน้านั้น ถนนมงโซ (Boulevard Monceau)

3.ถนนฟรายด์ลันด์ (Avenue de Friedland) เรียกมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 เดิมเรียกว่า ถนนโบฌง (Boulevard Beaujon)

4.ถนนชองป์-เอลิเซ่ส์

5.ถนนมาร์โซ (Avenue Marceau) ในสมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 มีชื่อว่า ถนนโฌเซฟีน (Avenue Joséphine)

6.ถนนดีเอนา (Avenue d'Iéna)

7.ถนนเกลแบร์ (Avenue Kléber) ในสมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 มีชื่อว่า ถนนรัว-เดอ-โรม (Avenue du Roi-de-Rome) และก่อนหน้านั้น ถนนปาสซี (Boulevard de Passy)

8.ถนนวิคตอร์ อูโก (Avenue Victor Hugo) ในสมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 มีชื่อว่า ถนนรัว-เดอ-โรม (Avenue du Roi-de-Rome) และก่อนหน้านั้น ถนนปาสซี (Boulevard de Passy)

9.ถนนไอเลา (Avenue d'Eylau) เรียกมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 เดิมเรียกว่า ถนนแซงต์-กลูด์ (Avenue de Saint-Cloud)

10.ถนนฟอช (Avenue Foch) ในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 มีชื่อว่า ถนนบัวส์ (เดอ บูโลญ) และในสมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 มีชื่อว่า ถนนแล็งเปราทรีซ (Avenue de l'Impératrice)

11.ถนนกรองด์-อาร์เม (Avenue de la Grande-Armée) เรียกมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 เดิมเรียกว่า ถนนเนยยี (Avenue de Neuilly)

12.ถนนการ์โนต์ (Avenue Carnot) ในสมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 มีชื่อว่า ถนนเดสลิง (Avenue d'Essling)

13.ถนนมัค-มาอง (Avenue Mac-Mahon) ในสมัยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 มีชื่อว่า ถนนแพรงซ์-เฌโรม (Avenue du Prince-Jérôme)


ถนนชองป์-เซลิเซ่ส์คือเส้นที่มุ่งไปยังสวนสาธารณะด้านขวาบนจัตุรัสมีสัดส่วนรับกันทำให้เกิดแกนขึ้นมา 6 แกนดังนี้ :

1.แกนถนนมัค-มาองและถนนดีเอนา
2.แกนถนนวากรองและถนนเกลแบร์
3.แกนถนนออชและถนนวิคตอร์ อูโก
4.แกนถนนฟรายด์ลันด์และถนนฟอช
5.แกนถนนชองป์-เซลิเซ่ส์และถนนกรองด์-อาร์เม : แนวเส้นตรงทางประวัติศาสตร์
6.แกนถนนมาร์โซและถนนการ์โนต์


จัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ (และประตูชัยฝรั่งเศส) เป็นส่วนหนึ่งของเขตที่ 8 เขตที่ 16 และเขตที่ 17 :

เขตที่ 8 : พื้นที่ระหว่างถนนวากรองและถนนมาร์โซ
เขตที่ 16 : พื้นที่ระหว่างถนนมาร์โซและถนนกรองด์-อาร์เม
เขตที่ 17 : พื้นที่ระหว่างถนนกรองด์-อาร์เมและถนนวากรอง

จัตุรัสชาร์ลส์ เดอ โกลล์ถูกล้อมรอบด้วยถนน 2 สายทำให้เกิดรูปร่างวงกลมขึ้นมา: ถนนแพรสบูร์ก (Rue de Presbourg) และถนนติลซิตต์ (Rue de Tilsitt) ซึ่งถูกตั้งชื่อในปี พ.ศ. 2407 เมื่อการทูตในรัชสมัยนโปเลียนลุล่วง


วรรณคดี

"La Place de l'Étoile" เป็นชื่อหนังสือนวนิยาย ประพันธ์โดยปาทริค โมดียาโนในปี พ.ศ. 2511 ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนชื่อสถานที่แห่งนี้


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น