วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ดักข้อสอบ o-net จุดไหนที่ทำให้"เสียแต้ม" #dek-d admission

วัสดีค่ะน้องๆ ก้าวใหญ่อีกก้าวที่ต้องข้ามผ่านคือการสอบ O-NET นะคะ จะสอบแล้วน้องๆ เตรียมตัวกันไปถึงไหนแล้ว? ถ้าใครอยากรู้แนวข้อสอบ O-NET ก็ไปตามได้เลยที่ "แฉแหลก! แนวข้อสอบ O-NET ก.พ. 57 เรื่องไหนต้องอ่าน"

           แต่การรู้แนวข้อสอบอย่างเดียวบอกเลยว่า "ไม่พอ" ค่ะ เหมือนเรารู้แค่ด้านเดียว แล้วก็อ่านไปตามที่ข้อสอบจะออก แต่จริงๆ แล้วการสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วนนะคะ ส่วนของคำถาม และส่วนของการตอบ ถึงแม้ว่าคำถามเราสามารถตอบได้ แต่เราตอบไม่ตรงกับรูปแบบที่ข้อสอบกำหนด บอกว่าเลยว่า "เสียแต้ม" แบบง่ายๆ เลยค่ะ เรามาดักข้อสอบกันก่อนดีกว่า จะได้ไม่เสียแต้มไปแบบฟรีๆ

 
ดักข้อสอบ O-NET!! จุดไหนที่ทำให้เรา "เสียแต้ม"


 
 ดักข้อสอบ O-NET!! จุดไหนที่ทำให้เรา "เสียแต้ม"

           เรื่องดีๆ ของข้อสอบ O-NET คือการที่ตัวเลือกใรข้อสอบมี 5 ช้อยส์จ้า ... ทำไมถึงเป็นเรื่องดี ก็เพราะว่าถ้าไปทำข้อสอบมหาวิทยาลัยก็จะเจอแต่แบบ 5 ช้อยส์ เป็นเรื่องดีๆ ที่ได้มองการณ์ไกลไว้แล้ว ฝึกไว้ตั้งกะ O-NET นี่เลย (ฮ่าๆ) แต่ข้อเสียคือโอกาสที่จะเดาถูกมันก็หายไป จากปกติมี 25% ก็เหลือแค่ 20% ซึ่งอาจจะมองว่าก็เป็นโอกาสปกติ แต่ถ้ามองกลับกัน โอกาสเลือกผิดมีถึง 80% เลยนะคะ ทีนี้ละตาโตเชียว 80% บ้าไปแล้ว

           การทำข้อสอบ O-NET อย่างแรกเลย ตัดช้อยส์ที่ไม่ใช่ไปก่อน ให้เปอร์เซ็นต์ในการตอบถูกเราเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าบางทีอาจจะโดนหลอกได้ นอกจากนี้ลองหาความเหมือนกันข้องช้อยส์ หรือความต่างจากพวกของช้อยส์ เพื่อที่จะได้ตัดทิ้งได้ เช่น ช้อยส์ ก. กับ ข. เหมือนกันเลย แค่เปลี่ยนคำ เราก็ตัดทิ้งทั้งคู่ หรือช้อยส์ข้อ ก. เป็นข้อเดียวที่ต่างจากพวก ก็เลือกเลย แต่ว่าขอให้วิธีการเดาเป็นทางสุดท้ายนะคะ ถือว่าพี่แป้งขอร้อง (กระพริบตาปริบ ๆ)


 

           ขั้น Advance จากการเจอข้อสอบแบบ 5 ช้อยส์ คือการเจอ 6 ช้อยส์ แล้วไม่ใช่ธรรมดานะคะ เป็น 6 ช้อยส์ 2 คำตอบด้วย คือเราต้องตอบให้ถูกทั้ง 2 คำตอบ ไม่งั้นไม่ได้คะแนน ตรงนี้น้องๆ เสียคะแนนกันเยอะมาก แล้วที่เสียคะแนนบ่อยคือการที่ตอบได้คำตอบเดียว ส่วนอีกคำตอบผิด ก็เท่ากับผิดทั้งข้อ ไม่มีมาแบบคะแนนหารครึ่งเหมือนข้อสอบที่โรงเรียนนะคะ

           เพราะฉะนั้นนอกจากจะต้องเตรียมตัวมาอย่างดี ลองทำข้อสอบเยอะๆ แล้ว ก็ต้องอยู่ที่ดวงด้วยค่ะ เรื่องนี้ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าข้อสอบแต่ละปีมาตรฐานความยากง่ายไม่เท่ากัน แต่คะแนนโดยรวมจะเกาะกลุ่มเสมอนะคะ เรื่องนี้สบายใจหายห่วง ถ้าสูงก็สูงไปด้วยกัน ถ้าต่ำก็ลงดิ่งไปด้วยกัน


 
  ดักข้อสอบ O-NET!! จุดไหนที่ทำให้เรา "เสียแต้ม"

           คงได้ยินสรรพนามคำว่า "Error 16 ช้อยส์" มาจากรุ่นพี่มาแล้วนะคะ น้องๆ บางคนคงเคลียร์แล้วว่าคืออะไร แต่บางคนก็ไม่รู้ Error 16 ช้อยส์ มาจากข้อสอบ O-NET ภาษาอังกฤษ พาร์ท Error ค่ะ ที่มี 16 ช้อยส์เพราะว่า เราต้องเลือกให้ถูกว่า ใน 4 ตัวเลือกที่โจทย์ให้มาข้อไหนผิดเป็น Step ที่ 1 ส่วนต่อมาเราต้องแก้ที่ผิดนั้นให้ถูกเป็น Step ที่ 2 โดยหน้าตาของกระดาษคำตอบจะเป็นแบบนี้
 
ดักข้อสอบ O-NET!! จุดไหนที่ทำให้เรา "เสียแต้ม"

           เหมือนเป็นการทำ 2 เด้ง แล้วต้องถูกทั้งคู่ด้วยนะคะถึงจะได้คะแนน แน่นอนว่าเพราะ Error 16 ช้อยส์ เลยทำให้น้อง ๆ เสียแต้ม คะแนนดิ่งลงเหวอย่างกับโดดบันจี้จัมพ์ คือถ้าไม่รู้จริงบอกเลยว่าเดายาก ต้องแม่นแกรมม่ามาก ๆ เลยค่ะ ถ้าใครคิดว่าพาร์ทนี้ไม่น่ารอดก็ต้องไปสู้กับพาร์ทอื่นแทนแล้วหล่ะ T_T ใครที่ยังงงๆ กับข้อสอบพาร์ทนี้ก็ไปอ่านเพิ่มได้เลยที่ "สูตรปราบ !! Error 16 ช้อยส์ (ตัวฉุด O-NET Eng)"

 

           ข้อสอบในส่วนของอัตนัยจะมีเพียงแค่วิชาเดียวคือ คณิตศาสตร์ ค่ะ แต่ว่าเป็นส่วนที่คะแนนเยอะเหมือนกัน มี 8 ข้อ ทั้งหมด 20 คะแนน แค่ลำพังปกตินั่นคิดแล้วหาคำตอบมาก็ยากอยู่แล้ว บางคนก็ต้องเสียแต้มฟรีๆ กับการที่ฝนแค่คำตอบอย่างเดียวอีกค่ะ เพราะจริงๆ แล้วการฝนที่ถูกต้องคือต้องฝนทุกตำแหน่ง อย่างเช่นตัวอย่างในรูปเลยค่ะ
 
ดักข้อสอบ O-NET!! จุดไหนที่ทำให้เรา "เสียแต้ม"

           แล้วปัญหาของความผิดพลาดเรื่องนี้ ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะผิดเป็นข้อๆ ไปนะคะ แต่ถ้าฝนผิดคือผิดทั้งยวง หายไปแล้ว 20 คะแนน ต้องระวังค่ะ ไม่ต้องสับสนว่าฝนแบบไหน จำไปเลยว่า O-NET ต้องฝนทุกตำแหน่ง ไม่ว่าจะตอบแค่ 2 หรือ0.25 ก็ต้องฝนครบค่ะ!!

 
  ดักข้อสอบ O-NET!! จุดไหนที่ทำให้เรา "เสียแต้ม"

           อะไรคือการตอบแบบสัมพันธ์กัน? อารมณ์เหมือนที่เป็นแบบ 6 ตัวเลือก 2 คำตอบเลยค่ะ แต่ต่างกันที่การตอบแบบสัมพันธ์กันจะไม่ใช่ 6 ตัวเลือก แต่จะเป็นแบบว่าใน 1 ข้อ จะแบ่งเป็นคำตอบ 2 ทางคือทาง ก. และ ทาง ข. โดยแต่ละทางก็มีช้อยส์ 5 ข้อ ต้องตอบทั้งทาง ก. และ ข. ให้ถูกค่ะ คำตอบต้องสัมพันธ์กันด้วย
 
ดักข้อสอบ O-NET!! จุดไหนที่ทำให้เรา "เสียแต้ม"

           แนวการตอบเป็นเหมือนเดิมเลยค่ะ ต้องตอบถูกทั้งคู่ถึงจะได้คะแนน ถ้าถูกข้อผิดข้อก็ศูนย์เลยค่ะ ดักให้เสียแต้มกันแบบเห็นๆ ลำพังการเลือก 1 คำตอบใน 5 ช้อยส์ก็สับสนจะแย่อยู่แล้ว เห็นแบบนี้ก็ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมคะแนน O-NET มันถึงกราฟดิ่งลงทุกปี ทุกปี T_T

 
   ดักข้อสอบ O-NET!! จุดไหนที่ทำให้เรา "เสียแต้ม"

           ย้ำแล้วย้ำอีกกับการสอบ O-NET ว่ามีเวลาแค่วิชาละ 2 ชั่วโมงเท่านั้น น้องๆ ชอบจำว่าเวลาเท่ากับการสอบ GAT PAT มัวแต่เอ้อระเหยลอยชาย สุดท้ายก็ทำไม่ทัน ผลของการทำไม่ทันคือเราก็พยายามฝนเท่าที่เวลามี ถูกหรือผิดไม่ต้องถามเลย เพราะไม่ได้อ่านโจทย์ด้วยซ้ำ ทำให้เราเสียแต้มไปฟรีๆ เพราะฉะนั้นคำนวณเวลากันดีๆ นะคะ บางสนามสอบไม่มีนาฬิกาให้ พี่แป้งแนะนำให้นำนาฬิกาไปเองดีกว่าค่ะ

 
   ดักข้อสอบ O-NET!! จุดไหนที่ทำให้เรา "เสียแต้ม"

           อันนี้เป็นประเด็นที่เจ็บมาก เจ็บมากมาก เจ็บมากที่สุด คือเป็นอะไรที่เข้าใจยากกับการใช้ดินสอกด แล้วซื้อไส้ดินสอที่เขียนว่า 2B มา แต่พอใช้จริงมันจะสีอ่อนกว่า 2B ดินสอไม้หนึ่งสเตป แล้วผลที่ตามมาจนต้องเสียแต็มไปคือ "เครื่องมองไม่เห็น เพราะไม่เข้มพอ"

            จริงๆ แล้ว พี่แป้ง เองก็ชอบใช้ดินสอกดนะคะ รู้สึกว่าปลายแหลมสม่ำเสมอไม่มีทู่เหมือนใช่ดินสอไม้ แต่ไส้ดินสอที่ใช้คือต้องดีๆ หน่อยอะค่ะ เอาดินสอไม้มาฝนเทียบเลยว่าเข้มพอหรือเปล่า แล้วก็ต้องมีดินสอไม้ติดกระเป๋าไปด้วยสักแท่งสองแท่งเผื่อไส้ดินสอหมดค่ะ เอาเป็นว่าใครที่ชอบใช้ดินสอกดเหมือนกันก็พกดินสอไม้ไปด้วยนะคะ เอาไว้ฝนทับให้สีเข้ม ๆ ก็ได้ อย่างน้อยก็เพื่อความปลอดภัยในคะแนน O-NET ค่ะ

 
  ดักข้อสอบ O-NET!! จุดไหนที่ทำให้เรา "เสียแต้ม"

             การที่ทำข้อสอบแล้วไม่ฝนเนี่ย เป็น Human Error นะคะ ไม่ใช่ข้อสอบเลย แต่อะไรที่ทำให้เราเสียแต้มพี่แป้งว่าเกี่ยวข้องกับการสอบหมดค่ะ ปัญหาของเรื่องนี้คือการที่เราหาคำตอบแล้ว แต่ยังไม่ฝน จดไว้ที่ตัวข้อสอบเพราะเกรงว่าคนข้างๆ จะมองเห็นและลอกได้ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีป้องกันที่ดีนะคะ แต่ว่าก็มีอัตราเสี่ยงสูงค่ะ เสี่ยงที่เรานี่แหละจะกาผิด

             พี่แป้งมีวิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้มาฝากน้องๆ ค่ะ สำหรับน้องๆ ที่ชอบฝนทีเดียวหลังจากทำเสร็จ (ขอยกนิ้วให้เลย พี่ทำไม่ได้ เมื่อยมากกกกกก) พี่แป้งขอแนะนำว่า ตอนที่ทำให้
ติ๊กเป็นสัญลักษณ์เล็กๆ ในช่องคำตอบของเรา โดยที่เรายังไม่ต้องฝน เอาแค่ให้เรามองเห็นนะคะ  เวลาที่ไล่ฝนทีเดียวจะได้ไม่ผิดขอ คะแนนก็ยังอยู่ เพื่อนข้างๆ ก็ลอกไม่ทันด้วย แต่ระวังด้วยนะคะว่าต้องเหลือเวลาไว้ฝนด้วย ฮ่าๆๆๆ

 
ดักข้อสอบ O-NET!! จุดไหนที่ทำให้เรา "เสียแต้ม"


            ขอสอบ O-NET นี่เฮี้ยนจริงๆ นะคะ แล้วเป็นข้อสอบที่สอบได้รอบเดียวด้วย คะแนนไม่มีวันหมดอายุ ติดตัวเราไปตลอดยันชาติหน้าเลยล่ะค่ะ เพราะฉะนั้นพี่แป้งขอให้ทำให้เต็มที่ เพราะ O-NET ต้องใช้ทั้งในรอบแอดมิชชั่นคิดเป็น 30% ของคะแนนทั้งหมด และสำหรับการสอบ กสพท. ที่ต้องคะแนนถึง 60% ถึงจะผ่านเข้าไปเรียนได้ สุดท้ายนี้พี่แป้งมีคลิปมาฝากน้อง ๆ นะคะ เป็นสกู๊ปพิเศษ O-NET ที่การันตีได้เลยว่ามีปัญหาทุกปี เรื่องอะไรที่เราต้องระวังบ้างในการสอบ O-NET ไปดูกันได้เลยค่ะ



 
Clip

สกู๊ปพิเศษ O-NET

Credit : http://www.dek-d.com/admission/33919/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น