คอนสแตนติโนเปิล (อังกฤษ: Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις(Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ) : قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง(กรีก: Βασιλεύουσα ('Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261) ; และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี ค.ศ. 1453 ถึง ค.ศ. 1922
คอนสแตนติโนเปิลตั้งอยู่ระหว่างโกลเด็นฮอร์น (Golden Horn) และทะเลมาร์มารา(Sea of Marmara) ตรงจุดที่ทวีปยุโรปพบกับทวีปเอเชีย ไบแซนไทน์คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวงของคริสต์ศาสนจักรต่อจากกรีกโบราณ และโรมันโบราณ ตลอดยุคกลางคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป และร่ำรวยที่สุด
ชื่อของเมืองก็ขึ้นอยู่กับผู้ใดเป็นผู้ครองแต่ที่รู้จักกันก็ได้แก่ ไบแซนเทียม(Byzantium) (กรีก: Βυζάντιον (Byzántion), โรมใหม่ (กรีก: Νέα Ῥώμη (Néa Rhōmē), ละติน: Nova Roma), คอนสแตนติโนเปิล และ สตัมบูล (Stamboul) บางทีก็เรียกว่า ซาร์กราด (“เมืองแห่งจักรพรรดิ”) โดยชนสลาฟ, ขณะที่ไวกิงเรียกว่า มิคลากราด (Miklagård) หรือ “the Great City” ซึ่งคล้ายกับภาษากรีกที่เรียกเมืองใหญ่ๆ ว่า “the City” (ἡ Πόλις (hē Pólis))
คอนสแตนติโนเปิลได้รับการขนานนามใหม่เป็นภาษาตุรกีสมัยใหม่ว่า “อิสตันบุล” ในปี ค.ศ. 1930 เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปตุรกีของอดีตนักการเมืองและนายกรัฐมนตรีตุรกีมุสตาฟา เคมาล อาตาเติร์ค (Mustafa Kemal Atatürk) ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากวลีกรีก “eis tēn polin” ที่แปลว่า “แก่เมืองคอนสแตนติโนเปิล”
1.ประวัติการก่อตั้งกรุงคอนสแตนติโนเปิล
คำว่า “คอนสแตนติโนเปิล” มาจากคำว่า “คอนสแตนติน” ซึ่งเป็นชื่อของจักรพรรดิผู้ก่อตั้งกรุงแห่งนี้ และคำว่า “โอเปิล” ซึ่งแปลว่า “เมือง หรือนคร” ดังนั้นคอนสแตนติโนเปิลจึงหมายถึง“นครหรือกรุงคอนสแตนติน”นั้นเอง กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรไบแซนไทน์หรืออาณาจักรโรมันตะวันออก ซึ่งสร้างขึ้นโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินบุตรของคอนสแตนตินัสแห่งโรมัน[1] ก่อนหน่าที่เมืองหลวงอาณาจักรโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์จะย้ายมาอยู่ ณ กรุงคอนสแตนติโนเปิลแห่งนี้ อาณาจักรไบแซนไทน์มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงโรมา ต่อมาหลังจากที่จักรพรรดิคอนสแตนตินขึ้นครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 306-307 ก็เริ่มมองหาทำเลใหม่ที่เหมาะสมเพื่อเปลี่ยนสถานที่ตั้งเมืองหลวง อันสือเนื่องมาจากความแตกแยกภายในซึ่งเป็นเหตุทำให้ทั่วราชอาณาจักรไบแซนไทน์ เกิดความทรุดโทรมและหายนะเป็นอย่างมาก ความหายนะดังกล่าวทำให้อาณาจักรไบแซนไทน์หรือโรมันตะวันออกไม่มีเสถียรภาพและเกิดความระส่ำระสายและบ่งย้ำเตือนถึงความพินาศย่อยยับในเวลาอันใกล้ และแล้วจักรพรรดิคอนสแตนตินก็พบกับเมืองใหม่ที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการเป็นเมืองหลวงซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองหลวงระหว่างเอเชียกับยุโรป ดังนั้นในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินจึงได้ยกทัพไปยึดเมืองดังกล่าว และได้ทำการบูรณะซ่อมแซมและปรับปรุงเมืองใหม่ ด้วยการสร้างกำแพงและป้อมปราการต่างๆ ในปี 324 การซ่อมแซมและบูรณะในครั้งนี้ใช้เวลาถึง 6 ปี และได้จัดงานเลี้ยงฉลองอย่างใหญ่โต หลังจากที่การก่อสร้างและซ่อมแซมให้แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 11 เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 330 และงานเลี้ยงฉลองในครั้งนี้กินเวลาถึง 40 วันด้วยกัน[2] หลังจากนั้นจักรพรรดิคอนสแตนตินก็ทำการย้ายเมืองหลวงจากกรุงโรมา มาอยู่ที่เมืองใหม่แห่งนี้และได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “คอนสแตนติโนเปิล” ตามชื่อของจักรพรรดิ
นับตั้งแต่นั้นมากรุงคอนสแตนติโนเปิลแห่งนั้นก็กลายเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์ตลอดมา.[3]
2.ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และความสำคัญ
กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่สวยงามอย่างยิ่งอย่างไม่มีที่เทียบได้ ตั้งอยู่ในเขตทวีปเอเชียและทวีปยุโรปมาบรรจบกันและถูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทรทั้งสามทิศ ซึ่งตั้งอยู่เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยด้านทิศตะวันออกติดกับช่องแคบบอสฟอรัส (BOSFORUS) ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับทะเลมารมารา (MARMARA SEA) และทิสตะวันตกเฉียงเหนือติดกับท่าเรือที่ทอดยาวคล้ายรูปคันธนู ชื่อก้อรนุน ซะฮะบีย์ (GORDEN HORN) ซึ่งถือว่าเป็นท่าเรือที่ยาวและปลอดภัยที่สุดท่าเรือหนึ่งของโลก ส่วนทิศที่สามซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกติดกับยุโรป โดยมีกำแพงใหญ่อันแข็งแก่งสองชั้นกั้นไว้อย่างหนาแน่นมีความยาวถึง 4 ไมล์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ชายฝั่งทะเลมารมาราทอดยาวไปจนถึงชายฝั่งของท่าเรือก้อรนุน ซะฮะบีย์ กรุงคอนสแตนติโนเปิลไม่เพียงแต่มีสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่งดงามเท่านั้น มันยังมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วย และมีสภาพอากาศที่อบอุ่นอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสภาพทางอากาศจะไม่ร้อนจัดในช่วงฤดูร้อนและจะไม่หนาวจัดอีกเช่นกันในช่วงฤดูหนาว[4] และสือเนื่องจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลมีเขตแดนที่บรรจบกับทะเลถึงสองฟาก จึงทำให้กรุงคอนสแตนติโนเปิลกลายเป็นเมืองท่าที่เป็นเส้นทางค้าขายที่สำคัญยิ่ง เพราะสินค้าทุกอย่างที่เดินทางมากับเรือที่มาจากจีน อินเดีย และอาหรับล้วนแต่ต้องผ่านและจอดเทียบท่าเรือกรุงคอนสแตนติโนเปิลหรือท่าเรือก้อรนุน ซะฮะบีย์ทั้งสิ้นก่อนที่จะเดินทางมุ่งไปยังยุโรปต่อไป
กรุงคอนสแตนติโนเปิลไม่ได้เป็นเพียงศูนย์กลางการค้าขายเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่ใหญ่โตในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียนทั้งหมด ซึ่งได้ทำการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระดาษปาปิรัส สิ่งทอต่างๆ และผลิตภัณฑ์กระจก ยิ่งกว่านั้นกรุงคอนสแตนติโนเปิลยังมีนโยบายเฉพาะด้านเศรษฐกิจหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการผูกขาดด้านการผลิตและซื้อขายเหรียญกษาปณ์[5]
3.ความสำคัญด้านยุทธศาสตร์
เนื่องจากสภาพที่ตั้งของกรุงสแตนติโนเปิลอยู่ในทำเลที่เต็มไปด้วยการป้องกันด้านยุทธศาสตร์ที่ยากแก่การรุกรานและโจมตี จึงทำให้กรุงแห่งนี้เป็นที่หมายปองของบรรดาผู้ปกครองทั้งหลายเพื่อที่จะยึดเอากรุงแห่งนี้ไว้เป็นศูนย์บัญชาการทางทหารหรือเมืองหลวงของตนนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน. เกี่ยวกับความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลนี้จอมทัพนโปเลียนโบนาปาร์ตกล่าวว่า : “ หากแม้นว่าโลกนี้ทั้งโลกมีเพียงอาณาจักรเดียว แน่นอน���ย่างยิ่งว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดที่จะเป็นเมืองหลวง ”[6] นโปเลียนยังได้กล่าวในบันทึกส่วนตัวของท่านซึ่งได้เขียนในขณะที่ท่านถูกเนรเทศอยู่ที่เกาะสันติลานาว่า:“เขาได้ใช้ความพยายามหลายต่อหลายครั้งเพื่อทำความตกลงกับรัสเซียในเรื่องการแบ่งปันเมืองอาณานิคมของอาณาจักรออตโตมาน แต่ทุกครั้งที่กล่าวถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิลก็จะเกิดปัญหาการโต้แย้งขึ้นมาทันที จนกระทั่งไม่สามารถทำการตกลงกันได้ เพราะรัสเซียพยายามจะผลักดันให้แบ่งกรุงคอนสแตนติโนเปิลให้กับเขา ส่วนนโปเลียนเห็นว่า “กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่ดีเยี่ยม ซึ่งมันเปรียบเสมือนกุญแจโลก หากใครได้ครอบครองมันแล้วก็เท่ากับว่าเขาได้ครอบครองโลกนี้ทั้งโลกเลยทีเดียว”[7]
[1] อันนะวาวีย์, 1415 : 18 : 229, อัลบักรีย์ 1371 :1074
[2] ฟะห์มีย์ : 17
[3] ยากูต : 4 : 348 อับดุลสลาม ฟะห์มีย์ :16
[4] ยากูต : 4:348 ฟะห์มีย์ : 48 อัลรอซิดีย์ : 26
[5] หลุยส์ : 16-17
[6] อัลรอซิดีย์ : 27 คอตตอบ : 10 (มลายู)
[7] คอตตอบ : 11-12
Credit : wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น