วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป



ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (อังกฤษEuropean Economic Community, EEC; บ้างเรียกสั้นเพียง ประชาคมยุโรป (European Community)) เป็นองค์การระหว่างประเทศจัดตั้งขึ้นด้วยทรรศนะที่จะทำให้เกิดบูรณาการทางเศรษฐกิจ (รวมทั้งตลาดร่วม) ในบรรดาหกสมาชิกดั้งเดิมหกประเทศ ได้แก่เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปจัดตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาโรม พ.ศ. 2500 ร่วมกับประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (ECSC) และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป (EURATOM) ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเป็นสถาบันหนึ่งในประชาคมยุโรป (European Communities) ภายใต้สนธิสัญญารวมประชาคม (Merger Treaty, หรือสนธิสัญญาบรัสเซลส์) พ.ศ. 2508
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปถูกจัดรวมเข้ากับสหภาพยุโรปเมื่อจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2536 โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ถูกเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น ประชาคมยุโรป เพื่อสะท้อนถึงฐานนโยบายที่กว้างกว่าที่ครอบคลุมโดยสนธิสัญญา ประชาคมฯ ได้ประกอบเป็นเสาหลักแรกของสามเสาหลักสหภาพยุโรปกระทั่งยุบไปใน พ.ศ. 2552 โดยสนธิสัญญาลิสบอน ซึ่งผนวกอดีตเสาหลักสหภาพยุโรปและให้เหตุผลว่า สหภาพยุโรปจะ "เข้าแทนที่และรับช่วงต่อประชาคมยุโรป" ข้อนี้ว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศอิสระซึ่งมีอยู่ก่อน พ.ศ. 2536

 สมาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป
     1952 จัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community-ECSC) มีสมาชิก ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมันนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และลักเซมเบิร์ก จุดกำเนิดของสหภาพยุโรปเริ่มจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรปก่อขึ้นตามสนธิสัญญากรุงปารีส  เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสมาชิกให้เป็นการค้าเสรีมากที่สุด  รวมทั้งการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตเพื่อเป็นการลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างสมาชิกและเพื่อพิจารณาร่วมกันในการกำหนดมาตราการและอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าขาเข้าจากประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก  โดยที่ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป  ประชาคมพลังงานนิวเคลียร์แห่งยุโรปและองค์การตลาดร่วมยุโรปเป็นอิสระต่อกัน  ต่างพยายามสร้างความสำเร็จตามวัตถุประสงค์  มีการอนุญาตให้แรงงานเคลื่อนย้ายอย่างเสรี  ลดภาษีขาเข้าระหว่างกัน  กำหนดราคาสินค้าเกษตรเท่ากันในระหว่างกลุ่ม  และได้ตกลงให้มีเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของเงินทุน  ถึงแม้จะประสบผลสำเร็จในฐานะศุลกากร  แต่ปัญหาด้านการเมืองและเศรษฐกิจรวมทั้งปัญกาด้านการลงคะแนนเสียงในการประชุมทุกครั้งต้องเป็นเอกฉันท์  ส่งผลให้การดำเนินการของประชาคมยุโรปล่าช้านอกจากนี้ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องกฏหมายและนโยบายของประเทศสมาชิกไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น