วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สวาซิแลนด์

‘สวาซิแลนด์’ 
    ประเทศในภูมิภาคแอฟริกาใต้  ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
มีอาณาเขตติดกับแอฟริกาใต้ประเทศเพื่อนบ้านขนาดใหญ่ และ โมซัมบิก





ประเทศสวาซิแลนด์ เริ่มก่อตั้งประเทศเมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 18
โดยชนเผ่า Nguni ซึ่งเดิมอยู่แอฟริกากลาง
ได้อพยพเคลื่อนย้าย  ลงมาอาศัยอยู่ทางแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งเป็นราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ปัจจุบัน เรียกเผ่าตนเองว่า Swazi 
นอกจากนั้น ยังประกอบด้วยชนเผ่าซูลูและชนเผ่า Tsonga– Shangaan
อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Ngwane III
ซึ่งถือว่าเป็นกษัตริย์องค์แรกของราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ในปัจจุบัน



ตามขนบธรรมเนียมของสวาซิแลนด์นั้น
พระมหากษัตริย์ทรงมีพระชายาเป็นจำนวนมาก
โดยทรงเลือกจากสาวเผ่าต่าง ๆ ทุกเผ่าที่มีในประเทศ
เพื่อให้เกิดความผูกพันกับประชาชนเผ่าต่างๆ
อย่างเช่น King Sobhuza II ทรงมีพระราชโอรสและธิดารวมถึง 600 พระองค์

 
King Sobhuza II ในปี ค.ศ. 1981 ครั้งเจ้าหญิงมาการ์เร็ตเสด็จเยือนสวาซิแลนด์

ประเพณี ในการคัดเลือกพระมหากษัตริย์
จะคัดเลือกจากพระมารดาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งที่มีเพียงพระราชโอรสองค์เดียว
และยังไม่อภิเษกสมรสเป็นผู้ขึ้นครองราชสมบัติ
   
ในระหว่างที่ยังไม่มีการสถาปนากษัตริย์ขึ้นครองราชย์นั้น
จะให้ Queen Mother เป็นผู้สำเร็จราชการแทน
บุคคลที่เป็นผู้คัดเลือกพระมหากษัตริย์ คือ Inner Council
ซึ่งได้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่อาวุโสไม่จำกัดจำนวน

Queen Mother จึงเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศควบคู่ไปกับพระมหากษัตริย์
หรือในกรณีกษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศ
Queen Mother จะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
นอกจากนั้น จะเป็นผู้นำประเทศในด้านการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม
ประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศ
   
Queen Mother อาจจะเป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์  องค์ใหม่ก็ได้
จะเป็นผู้สำเร็จราชการเมื่อกษัตริย์เสด็จสวรรคต
และจะปกครองประเทศระยะหนึ่งจนกว่าจะมีการสถาปนากษัตริย์องค์ใหม่

เช่น กรณีของ Queen Mother องค์ปัจจุบันซึ่งมีพระนามว่า Ntombi
(ซึ่งเป็นพระราชมารดาของกษัตริย์องค์ปัจจุบัน) 
ได้ครองราชย์ภายหลังจาก King Sobhuza II สวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1982
จนกระทั่งมีการสถาปนา King Mswati III
ขึ้นครองราชย์เมื่อเดือนเมษายนในปี ค.ศ. 1986
ได้เสด็จมาเป็นพระราชอาคันตุกะเข้าร่วมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในครั้งนี้  ด้วย 

 
สมเด็จพระราชาธิบดีสวาติที่ 3  แห่งราชอาณาจักรสวาซิแลนด์
(His Majesty King Mswati III of the Kingdom of Swaziland) 

เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 จากจำนวนพระโอรสทั้งหมด 67 พระองค์
ในสมเด็จพระราชาธิบดีซบบูซา ที่ 2
และเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในสมเด็จพระราชชนนีเนตอมบี
เป็นพระประมุขตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์



พระองค์เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2511
ณ กรุงอัมบาบาเน ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ ปัจจุบันมีพระชนมพรรษา 38 พรรษา (ปี 2549)
ทรงมีพระชายา 12 พระองค์ (ยังมิได้สถาปนาผู้ใดเป็น  พระมเหสี)
มีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 7 พระองค์
ทรงศึกษาระดับมัธยมปลายที่ Sherbourne School, Dorset จากสหราชอาณาจักร
ทรงโปรดกีฬาทางน้ำ สควอช และการออกกำลังพระวรกายโดยทรงพระดำเนิน


เจ้าหญิงลาดูเบ
ที่ตามเสด็จด้วยในงานพระราชพิธี
เฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีครั้งนี้นั้น
เป็นพระราชชายาองค์ที่ 12 มีพระนามเดิมว่า "โนธานโด ดูเบ"
ซึ่งพระชนมายุพึ่งครบ 18 ชันษาในปีนี้




ภาพ Reed Dance ในเทศกาลประจำปี"อัมลังกา"

ในเทศกาลประจำปี"อัมลังกา" หรืองานเต้นระบำต้นกก
(Reed Dance)
 เมื่อสิงหาคม 2547
สาวน้อย "โนธานโด ดูเบ" ซึ่งมีตำแหน่งมิสทีนเอจสวาซิแลนด์
ประจำปี 2546 วัย 16 ปี เป็น 1 ในสาวบริสุทธิ์จากทั่วประเทศ
ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมงานเต้นระบำให้สมเด็จพระราชาธิบดีสวาติที่ 3
ได้ทอดพระเนตร ผลปรากฏว่า
เธอคือผู้ที่พระองค์ทรงเลือกมาเป็นชายาองค์ล่าสุด
ประกอบพิธีอภิเษกสมรสด้วยเมื่อ 11 มิถุนายน 2548
ปัจจุบันมีพระธิดา 1 พระองค์
และเจ้าหญิงลาดูเบจึงต้องยุติการศึกษา
ซึ่งกำลังเรียนอยุ่ที่ดรงเรียนมัธยมมาแตร์ โดโรโลซ่า
ไว้เพียงแค่นั้น

ไทยและสวาซิแลนด์สถาปนา ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน
เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534





 

 
...

"ซิคฮานยีโซ" (Sikhanyiso) 

เจ้าหญิงรัชทายาทแห่งราชอาณาจักรสวาซิแลนด์
ดินแดนซึ่งประชาชนส่วนใหญ่
ยังคงใช้ชีวิตแบบชนเผ่า
เปลือยร่างกายท่อนบน
ห่มท่อนล่างด้วยหนังสัตว์และใบไม้ ใบหญ้า
มีพิธีกรรมลึกลับน่าพิศวง

อุตสาหกรรมที่ทำรายได้เข้าประเทศ
เป็นหลักเพียงอย่างเดียวคือ น้ำอัดลม
เพราะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ
ในการผลิตน้ำซ่าสีดำ
ที่เรียกว่า โคคา-โคล่า

เจ้าหญิงซิคฮานยีโซ
เป็นพระธิดาพระองค์โตในกษัตริย์เอ็มสวาติ
กับพระชายาพระองค์ที่ 3 โคสิคาติ ลาบิกิซา
1 ในพระชายา 13 พระองค์ของพระประมุขแห่งสวาซิแลนด์
ซึ่งพระชายาทั้ง 13 พระองค์นี้
ยังไม่มีใครได้รับการสถาปนาเป็นมเหสี

ดังได้กล่าวไว้แต่กระทู้ข้างต้น
ตามประเพณีสวาซิแลนด์
กษัตริย์สามารถมีพระชายาได้มากมาย
โดยจะเลือกหญิงสาวพรหมจารีจากทุกเผ่าในประเทศ
จากงานชุมนุมหญิงสาวบริสุทธิ์ในเทศกาล "อัมฮลังกา" (Umhlanga)
หรือเทศกาลระบำต้นกกที่จัดขึ้นทุกปี
5 วันในช่วงท้ายฤดูร้อนที่เมืองลุดซิดซินี ใกล้กรุงอัมบาบาเนเมืองหลวง

เพราะฉะนั้น จำนวนพระชายาของกษัตริย์สวาซิแลนด์
จึงเปลี่ยนแปลงในทางเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ



สำหรับเทศกาลระบำต้นกกในปีที่ผ่านมา
ซึ่งจบวันสุดท้ายในวันที่ 5 กันยายน
รุ่งขึ้นก็เป็นวันครบรอบเฉลิมพระชนมพรรษา  40 พรรษา
ของสมเด็จพระราชาธิบดีสวาติที่ 3 กษัตนิย์องค์ปัจจุบัน
และยังเป็นวันครบรอบ 40 ปี การฉลองเอกราช
จากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ที่เรียกว่า The 40-40
จึงเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก



โดยมีเจ้าหญิงซิคฮานยีโซซึ่งต้องเปลือยอกร่วมงานนี้ด้วยหลายครั้ง
ได้เป็นผู้นำสาวๆ มาเต้นระบำถวายพระพรพระบิดา
อย่างเป็นการเป็นงานกว่าที่เคย

ในสวาซิแลนด์ผู้คนเปรียบกษัตริย์ของเขาอย่างสูงส่ง
และเกรงขามว่า เป็นสิงโต (The Lion)
ส่วนเจ้าหญิงซิคฮานยีโซ พระธิดาจอมแก่นพระองค์นี้
เปรียบเป็นนกทูราโค (Turaco) นกประจำชาติของสวาซิแลนด์



ด้วยสีสันสดใส ดูมาดมั่น รักอิสระ ไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์ใดๆ
ปกติจะโปรดแต่งตัวแบบแฟชั่นจ๋าในชุดมินิสเกิร์ตสไตล์สาวตะวันตก
เสพติด iPod และดนตรีแร็ป ฯลฯ
ทำให้เราต้องลบภาพเดิมๆ ของเจ้าหญิงในจินตนาการไปหมด
ความเปรี้ยวของพระองค์เป็นที่สะดุดตา
จนนิตยสารฟอร์บส์จัดให้พระองค์อยู่ในลำดับที่ 20 ของราชวงศ์ที่ฮอตที่สุดของโลก
ด้วยความที่ทรงเป็นเจ้าหญิงนักขบถ
จึงทรงต่อต้านระบบการปกครองโดยผู้ชายและทรงนุ่งยีนส์เป็นกิจวัตร
  
...
และดูเหมือนว่า ในบรรดาพระโอรสพระธิดา
ทั้งหมด 26 พระองค์
เจ้าหญิงซิคฮานยีโซดูจะทรง
ได้เปรียบทุกพระองค์
ในการที่จะได้ลุ้นสืบบัลลังก์ต่อจากพระบิดา
แม้จะไม่เคยมีผู้นำเป็นผู้หญิงมาก่อนก็ตาม
เพราะพระองค์ทรงเป็นหญิงรุ่นใหม่
ที่รู้จักติดอาวุธให้พระองค์เองด้วยการศึกษา
โดยเสด็จศึกษาต่อที่
มหาวิทยาลัยไบโอลา ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
สาขาการพูดและการละคร

“ไม่เคยอายที่ใครจะดูถูกเหยียดหยามเราอย่างไร
เราก็คือเรา
เรามีประเพณีวัฒนธรรมที่ดีสืบทอดจากบรรพชน
ซึ่งเราต้องหวงแหนและส่งต่อไป
ยังรุ่นลูกรุ่นหลาน”


  

ครั้งหนึ่งเจ้าหญิงเคยตรัส
ขณะที่ทรงศึกษาอยู่ต่างบ้านต่างเมือง
ทรงต่อสู้กับคำสบประมาท ดูถูกเหยียดหยามสารพัด
เรื่องที่พระองค์ทรงเป็นราชวงศ์ผิวสี
ที่มาจากชนเผ่าในทวีปแอฟริกา
เรื่องที่พระบิดามีพระชายานับสิบคน
และบางคนมีอายุน้อยกว่าพระองค์ด้วยซ้ำ
พระองค์ทรงปรึกษาเรื่องนี้กับพระสหายตลอด
และพระสหายรักก็ปิดเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ
ด้วยการนำเรื่องทั้งหมดไปเขียนไว้ในไดอะรี (ออนไลน์!)

นอกจากนี้ ทรงเป็นพรีเซนเตอร์ในการต่อต้านโรคเอดส์
ในสวาซิแลนด์ตามพระราชประสงค์ของพระบิดา
ที่มีรับสั่งห้ามหญิงอายุต่ำกว่า 23 ปีมีเพศสัมพันธ์
สาบานตนว่าจะรักษาพรหมจรรย์จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควร
เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่พสกนิกร
เหตุที่ทำเช่นนี้เพราะประชาชนกว่า 40% ของสวาซิแลนด์
ติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ไขโดยเร็ว

เพราะแม้กษัตริย์จะมั่งคั่งด้วยธนสารสมบัติเป็นอันดับ 15 ของโลก
(ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์) และยังเป็นราชวงศ์สุดท้ายของแอฟริกา
แต่สวาซิแลนด์ก็เป็นประเทศยากจนที่ติดอันดับโลก
ในแง่ที่ว่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเป็นเอดส์มากที่สุดในโลก!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น